pic2

กรมปศุสัตว์ ลงพื้นที่ตรวจติดตามการดูแลสุนัข-แมวพื้นที่เกิดโรคพิษสุนัขบ้า ในศูนย์เฉพาะกิจกักกันสัตว์700 ตัวคุมโรคพิษสุนัขบ้า 6 เดือน กําชับให้เจ้าหน้าที่เพิ่มความเข้มงวดจัดการสุขภาพสัตว์เหมาะสม

เมื่อวันที่ 16 พ.ค.2561 นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ รองอธิบดีและโฆษกกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า กรมปศุสัตว์มอบหมายให้ ด่านกักกันสัตว์นครพนม จัดตั้งเป็นศูนย์เฉพาะกิจกักกันสัตว์เสี่ยงโรคพิษสุนัขบ้า ตั้งแต่วันที่ 23 ม.ค.โดยรับสุนัขและแมว ที่มีความเสี่ยงในการได้รับเชื้อโรคพิษสุนัขบ้า จากจังหวัดใกล้เคียง ได้แก่ ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ มหาสารคาม มุกดาหาร ซึ่งสุนัขและแมว ส่วนใหญ่ไม่มีผู้แสดงตนเป็นเจ้าของ และประชาชนในชุมชนที่เกิดโรคพิษสุนัขบ้ารวบรวมนําส่งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์เพื่อนํามากักกัน สังเกตอาการ และเฝ้าระวังโรค ตามมาตรการควบคุมป้องกันโรคในสัตว์ รวมถึงเป็นการลดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคพิษสุนัขบ้า สู่คนและสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่นในพื้นที่เกิดโรค

โดยในระหว่างการกักกันนั้น เจ้าหน้าที่ของศูนย์เฉพาะกิจฯ ได้มีการแยกเพศ ขนาด และอายุ เพื่อง่ายต่อการดูแล การให้อาหาร และการจัดการทั่วไป การคัดแยกสัตว์ป่วยเพื่อทําการรักษา และที่สําคัญสัตวแพทย์ ประจําศูนย์เฉพาะกิจฯ ได้ฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้าทุกตัว ตัวละ 4 ครั้ง ห่างกันครั้งละ 4 วัน ทั้งนี้ การกักกัน สังเกตุอาการ และเฝ้าระวังโรค จะใช้เวลาอย่างน้อย 6 เดือน จึงจะถือว่าปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า หลังจากนั้น กรมปศุสัตว์จะติดต่อเจ้าของ สัตว์ให้มารับกลับ หรือกรณีที่สัตว์ไม่มีเจ้าของจะพิจารณาดําเนินการหาบ้านใหม่ หรือส่งต่อให้สถานที่พักพิงสัตว์ที่มีความพร้อมรับดูแลต่อไป

นายสัตวแพทย์สมชวน กล่าวว่า จากการรายงานของศูนย์เฉพาะกิจกักกันสัตว์เสี่ยงโรคพิษสุนัขบ้าแห่งนี้ พบว่า เริ่มต้นรับสุนัขและแมวมาตั้งแต่ต้นปีโดยมีการทยอยนําเข้าจากพื้นที่เกิดโรคพิษสุนัขบ้าในจังหวัดใกล้เคียง ในระหว่างการกักกันนั้น ได้มีสุนัขและแมวเสียชีวิตจํานวนหนึ่งด้วยโรคพิษสุนัขบ้า โรคลําไส้อักเสบ โรคไข้หัดสุนัข โรคพยาธิในเม็ดเลือด โรคปอดบวม เนื่องจากส่วนใหญ่เป็นสุนัขขนาดเล็กที่อายุ น้อยกว่า 4 เดือน มีที่มาจากหลากหลายพื้นที่ ไม่มีประวัติการได้รับวัคซีนป้องกันโรค ไม่มีการถ่ายพยาธิ มีความเครียดจากการ เคลื่อนย้าย ทําให้ภูมิคุ้มกันต่ำสุขภาพไม่แข็งแรง มีการป่วยตายได้ง่ายและรวดเร็ว ปัจจุบัน ศูนย์เฉพาะกิจฯ แห่งนี้ ยังคงมีสุนัข  และแมวที่อยู่ในระหว่างการสังเกตอาการ และการเฝ้าระวังโรค รวมประมาณ 700 ตัว

ซึ่งคาดว่าในเดือนมิ.ย.ที่จะถึงนี้ จะมีสุนัขที่ครบกําหนดการกักกัน 6 เดือน และมีความปลอดภัยจากโรคพิษสุนัขบ้า จํานวน 120 ตัว ส่วนที่เหลือจะทยอยครบกําหนดการกักกันภายในเดือนต.ค. 2561 อย่างไรก็ตาม ได้กําชับให้เจ้าหน้าที่ของศูนย์เฉพาะกิจฯ เพิ่มเติมอาหารที่เหมาะสม กับสัตว์ป่วย การทําความสะอาดคอกและรางอาหาร ระมัดระวังการจับบังคับสัตว์ให้เหมาะสม การสังเกตุอาการสัตว์ป่วยในระยะ เริ่มต้น การเพิ่มจํานวนสัตวแพทย์และเครื่องมือตรวจวินิจฉัยโรค สําหรับดูแลรักษาฟื้นฟูสุขภาพสัตว์ รวมทั้งฝึกอบรมคนงานให้มี ความรู้ความเข้าใจในการจัดการทั่วไปมากยิ่งขึ้น ทั้งนี้จะได้เปิดโอกาสให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วมในการดูแลสุนัขและแมวใน รูปแบบโครงการประชารัฐร่วมใจ ป้องกันภัยโรคพิษสุนัขบ้า เพื่อให้การดูแลสุนัขและแมวในศูนย์เฉพาะกิจฯ แห่งนี้มีประสิทธิภาพ มากยิ่งขึ้นต่อไป          

ที่มาของข้อมูล : เว็บไซต์เดลินิวส์ วันที่ 16 พฤษภาคม 2561  https://www.dailynews.co.th/politics/643894


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline