25610719 1

รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เตือนผู้บริโภคอย่าตื่นตระหนกกรณีการสุ่มตรวจเนื้อไก่ ระบุเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ออกตรวจสอบมาตรฐานทั้งที่จุดจำหน่ายและย้อนกลับถึงฟาร์มเลี้ยงอย่างต่อเนื่อง เพื่อความปลอดภัยในอาหาร แนะเลือกซื้อเนื้อสัตว์จากฟาร์มมาตรฐาน

นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ และโฆษกกรมปศุสัตว์ ในฐานะ “มิสเตอร์ไก่เนื้อ” เปิดเผยว่า อุตสาหกรรมไก่เนื้อของไทยมีการพัฒนาทั้งด้านอาหารสัตว์ การเลี้ยง-การจัดการฟาร์ม และการป้องกันโรคมาอย่างต่อเนื่อง ขณะเดียวกัน กรมปศุสัตว์ยังมีระบบการรับรองและกำกับดูแล ให้สถานประกอบการผลิตสินค้าที่ได้มาตรฐานความปลอดภัยอาหารทั้งห่วงโซ่การผลิต โดยมอบหมายให้เจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์ดำเนินการตรวจสอบและติดตาม ทั้งที่โรงงานอาหารสัตว์ที่มีการควบคุมการใช้อาหารสัตว์ผสมยาโดยสัตวแพทย์ การเลี้ยงที่ฟาร์มมาตรฐาน การเชือดชำแหละที่โรงฆ่าที่ถูกสุขอนามัยและถูกกฎหมาย จนถึงการจัดจำหน่าย ทั้งที่ตลาดสด ห้างสรรพสินค้า ซุปเปอร์มาเก็ต และร้านจำหน่ายเนื้อสัตว์ ที่สำคัญยังมีการเฝ้าระวังยาปฏิชีวนะและสารตกค้างอย่างเข้มงวดทั้งวงจร

“จากการตรวจสอบผลิตภัณฑ์ปศุสัตว์ที่มีการสุ่มเก็บตัวอย่างครอบคลุมทุกจังหวัดทั่วประเทศ รวมกว่า 30,683 ตัวอย่างต่อปี และส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการของกรมปศุสัตว์ ที่ได้รับรองตามมาตรฐานสากล ISO17025 เป็นที่ยอมรับในระดับโลก พบว่า สินค้าปศุสัตว์ของประเทศไทยอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานความปลอดภัยสอดคล้องตามมาตรฐานสากลที่นานาชาติยอมรับ ซึ่งเป็นผลมาจากการเฝ้าระวังมาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน” รองอธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวและย้ำว่า

ขอให้ผู้บริโภคอย่าตื่นตระหนกกับข้อมูลข่าวสารต่างๆ เนื่องจากกระบวนการผลิตไก่เนื้อในอุตสาหกรรมอยู่ภายใต้การกำกับดูแลอย่างเข้มงวดของกรมปศุสัตว์ ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความมั่นใจในการบริโภคเนื้อสัตว์อย่างปลอดภัยกรมปศุสัตว์ได้สั่งการให้เจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ตรวจซ้ำอีกครั้ง และขอแนะนำให้ผู้บริโภคเลือกซื้อสินค้าปศุสัตว์จากผู้ผลิตที่มีมาตรฐาน สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ซึ่งเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์จะมีการเก็บตัวอย่างสินค้าและตรวจสอบเป็นประจำ ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการเฝ้าระวังสารตกค้างต่างๆในสินค้าปศุสัตว์ ดังเช่น สัญลักษณ์ Q หรือสัญลักษณ์ปศุสัตว์ OK ที่กรมปศุสัตว์มอบให้กับร้านจำหน่ายเนื้อสัตว์ที่มีมาตรฐาน เป็นต้น

นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ ได้ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง จัดทำแผนปฏิบัติการ “การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพของประเทศไทย พ.ศ.2560–2564” เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยา และกำกับดูแลการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมในภาคอุตสาหกรรมปศุสัตว์และสัตว์เลี้ยง อีกทั้งยังจัดทำโครงการร่วมกับองค์การอาหารและการเกษตรแห่งประชาชาติ (FAO) ในการวิเคราะห์และจัดการความเสี่ยงของเชื้อดื้อยาในกระบวนการผลิตสินค้าปศุสัตว์ ขณะเดียวกันได้ร่วมมือกับสมาคมผู้เลี้ยงสัตว์ ภาคเอกชน และเกษตรกร ในการส่งเสริม สนับสนุนแนะนำให้จัดทำระบบการเลี้ยงที่สามารถป้องกันโรคได้ เพื่อให้เกษตรกรเกิดความมั่นใจและลดการใช้ยาปฏิชีวนะ

ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ขอเชิญชวนประชาชนร่วมกันเป็น “สายตรวจปศุสัตว์” หากพบการกระทำผิดเกี่ยวกับภาคปศุสัตว์ สามารถแจ้งเบาะแสผ่าน แอพพลิเคชั่น "DLD 4.0" เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าดำเนินการตรวจสอบได้อย่างทันท่วงที./
............................................................................................................................................................................................
ข้อมูลโดย : กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ สำนักงานเลขานุการ  กรมปศุสัตว์  กระทรวงเกษตรและสหกรณ์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline