pic01

น.สพ.สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ได้รับรายงานจาก นายวิริยะ แก้วทอง ผู้อำนวยการสำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ หน่วยงาน สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ ถึงกรณีจากการที่กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข พบผู้ป่วยโรคบรูเซลลามีแนวโน้ม เพิ่มมากขึ้นตั้งแต่ปี 2557 โดยในปี 2561 ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม-17 กรกฎาคม 2561 พบรายงานการเกิดโรค ในคนจำนวน 12 ครั้ง และมีผู้ป่วยจำนวน 12 ราย

 

ในจังหวัดนครราชสีมา นครสวรรค์ สระบุรี อุทัยธานี สกลนคร และราชบุรี โดยไม่พบผู้เสียชีวิต ซึ่งส่วนใหญ่ผู้ป่วยเป็นเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์หรือ ทำงานในฟาร์มและโรงฆ่าสัตว์ ทั้งนี้ จากผลการสอบสวนโรคในปี 2560-2561 พบว่า ผู้ป่วยส่วน ใหญ่มีประวัติสัมผัสสัตว์ป่วย ดื่มนมดิบ นำรกแพะที่ออกลูกตายไปทำเป็นอาหาร มีประวัติทำคลอด สัตว์ รีดนม ฝังซากโดยไม่ป้องกันตนเอง และไม่ได้ใส่ชุดหรืออุปกรณ์ป้องกันเมื่อต้องสัมผัสสัตว์ ข้อเท็จจริง “โรคบรูเซลลาเกิดจากเชื้อ Brucella spp. ก่อโรคในสัตว์ ได้แก่ โค กระบือ แพะ แกะ สุกร และเป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน โดยสัตว์จะแสดงอาการแท้งระยะท้าย ข้ออักเสบ ชนิดเชื้อที่มักก่อให้เกิดปัญหาในคน คือ Brucella melitensis ซึ่งติดต่อได้จากแพะ แกะ โดยส่วนใหญ่แพะแกะจะแสดงอาการแท้งระยะท้ายเพียง 1-2 ครั้ง "

หลังจากนั้นอาจไม่พบแสดง อาการดังกล่าวของโรคอีก แต่สามารถทำให้ผู้ที่สัมผัสกับสัตว์ที่เป็นโรคหรือดื่มนมโดยที่ไม่ผ่าน กระบวนการฆ่าเชื้อด้วยความร้อน (pasteurization) ติดเชื้อดังกล่าวและแสดงอาการป่วยได้ ดังนั้น สัตว์ต้องได้รับการทดสอบโรคและตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการจึงจะทราบสภาวะของ โรคบรูเซลลา” น.สพ.สรวิศ กล่าวว่า กรณีที่จะนำสัตว์เข้ามาเลี้ยงภายในฟาร์ม สัตว์ที่จะนำเข้ามาต้องผ่านการทดสอบโรคและมี ผลเป็นลบ หรือนาสัตว์มาจากฟาร์มที่มีประวัติการทดสอบโรคเป็นลบ หรือเป็นฟาร์มที่ได้รับรอง ฟาร์มปลอดโรคจากกรมปศุสัตว์ ซึ่งจะเป็นการป้องกันโรคดังกล่าว การดำเนินการ ในภาวะปกติ เนื่องจากเป็นโรคที่ติดต่อระหว่างสัตว์และคน กรมปศุสัตว์มีโครงการรณรงค์ทดสอบโรค บรูเซลลาประจำปี ตั้งแต่ปี 2550

จนกระทั่งในปี 2561 กรมปศุสัตว์ได้มีโครงการเร่งรัดสร้างฟาร์มปลอด โรคบรูเซลลาในแพะ เพื่อเร่งกาจัดโรคบรูเซลลาให้หมดจากประเทศไทย ปัจจุบันฟาร์มปลอดโรค บรูเซลลาในแพะแกะที่ได้รับรองจากกรมปศุสัตว์จานวน 333 ฟาร์ม นอกจากนี้ยังได้ส่งเสริมโครงการจัดทำฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยง สัตว์ที่เหมาะสม (Good Farming Management : GFM) เพื่อลดปัจจัยเสี่ยงของเชื้อโรคและ ป้องกันไม่ให้โรคระบาดเข้าสู่ฟาร์มได้

สำหรับกรณีการเคลื่อนย้ายตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 โคนม แพะ แกะ ต้องมาจากฟาร์มที่ผ่านการรับรองปลอดโรคบรูเซลลาจากกรมปศุสัตว์ กรณีไม่ได้มาจากฟาร์ม ปลอดโรค ต้องผ่านการตรวจโรคบรูเซลลาตามที่กรมปศุสัตว์กำหนด ก่อนเคลื่อนย้ายได้ ในกรณีพบโรคในสัตว์หรือรายงานการเกิดโรคในคน "ยืนยันว่ากรมปศุสัตว์มีมาตรการควบคุมและกำจัดโรคบรูเซลลา เมื่อตรวจพบผลบวกทาง ห้องปฏิบัติการ สัตว์ที่ให้ผลเป็นบวกจะถูกทำลายโดยมีค่าชดเชย ส่วนสัตว์ร่วมฝูงจะถูกสั่งกักและทดสอบโรคทุกตัว ทุก 2 เดือน ติดต่อกัน 3 ครั้ง จากนั้นให้ทดสอบโรคอีก 6 เดือนถัดมา หากให้ผล ลบถือว่าโรคสงบ ทั้งนี้ สัตว์ร่วมฝูงห้ามเคลื่อนย้าย ยกเว้นกรณีเคลื่อนย้ายเข้าโรงฆ่าเท่านั้น"

ส่วนกรณีพบผู้ป่วยด้วยโรคบรูเซลลา กรมปศุสัตว์ในพื้นที่จะประสานงานกับหน่วยงาน สาธารณสุขเพื่อร่วมกันสอบสวนโรคและหาสาเหตุการเกิดโรค พร้อมทั้งดำเนินการเก็บตัวอย่างซีรั่ม สัตว์ที่สงสัยส่งตรวจทางห้องปฏิบัติการ รวมทั้งให้ความรู้ความเข้าใจกับเกษตรกร ผู้มีส่วนได้เสียและ แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้ทราบถึงสถานการณ์โรคและวิธีการป้องกัน ช่องทางการเผยแพร่เว็บไซต์สานักควบคุม ป้องกันและบาบัดโรคสัตว์

ที่มาของข้อมูล : สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline