S 8318329951758

วันที่ 25 กรกฎาคม 2561 นายสัตวแพทย์จีระศักดิ์ พิพัฒนพงศ์โสภณ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานในการประชุมเพื่อแก้ไขปัญหาสุกร ตามมติที่ประชุมคณะทำงานด้านการพัฒนาการเกษตรสมัยใหม่ โดยมีผู้เข้าร่วมประชุมจากภาคเอกชนซึ่งมีบทบาทเกี่ยวข้องกับวงจรการเลี้ยงสุกร ตั้งแต่การผลิตจนถึงการตลาด อาทิ สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ สมาคมผู้ค้าปลีกไทย บริษัทผู้ผลิตสุกร สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย เป็นต้น ณ ห้องประชุม 1 ชั้น 1 กรมปศุสัตว์ โดยมีเป้าหมายเพื่อให้ภาคธุรกิจมีส่วนช่วยเหลือเกษตรกรตลอดวงจรการผลิต

 

ทั้งนี้ ได้ชี้แจงนโยบายการดำเนินงานของอธิบดีกรมปศุสัตว์ ในด้านการปฏิบัติตามระเบียบและกฎหมายต่างๆ เต็มรูปแบบ เพื่อให้การแข่งขันทางการตลาดเป็นไปด้วยความถูกต้องและยุติธรรม ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ โดยเฉพาะเรื่องของการใช้สารเร่งเนื้อแดงในการลดต้นทุนการผลิต รวมทั้งชี้แจงความคืบหน้าด้านการจัดทำระบบ compartmentalization ปลอดโรคปากและเท้าเปื่อยเพื่อการส่งออก การขึ้นทะเบียนเกษตรกรและการทำเครื่องหมายประจำตัวสัตว์ ตามมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 อีกทั้งได้มีหัวข้อพิจารณา จากการประชุมคณะทำงานฯ ครั้งที่ 22-3/2561 เพื่อหาความคิดเห็น และข้อสรุปจากภาคเอกชน ดังต่อไปนี้

  • การลดราคาอาหารสัตว์ กรมปศุสัตว์จะมีหนังสือขอความร่วมมือไปยังสมาคม เพื่อให้ทางสมาคมพิจารณา
  • การลดรอบการผลิตของสุกร ให้เหลือ 5 รุ่นต่อ 1 แม่ ซึ่งทางที่ประชุมให้ข้อสังเกตว่า เป็นเรื่องที่ปฏิบัติได้ยาก แต่ควรเพิ่มเงื่อนไขให้กับผู้ที่ต้องการขยายกำลังการผลิต หาตลาดต่างประเทศ หรือชะลอการเพิ่มกำลังการผลิตแทน
  • การขึ้นทะเบียนฟาร์มสุกรขุน และสุกรพันธุ์
  • การร่วมกำหนดปริมาณผลผลิต โดยใช้แนวทางตลาดนำการผลิต
  • การดำเนินการสถานที่จำหน่ายให้สะอาด ปลอดภัย โดยใช้หลักการปศุสัตว์โอเค
  • การจำหน่ายสุกรในกรอบราคาที่สะท้อนต้นทุนการผลิต
  • ความเป็นไปได้ในการจัดตั้งกองทุนพัฒนาสุกรไทย ซึ่งเสนอโดยสมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ

เนื่องด้วยอาหารสัตว์ เป็นต้นทุนหลักในการผลิตสุกรขุน กรมปศุสัตว์ได้มีแนวทางการดำเนินการช่วยเหลือเกษตรกรด้วยสูตรอาหารสุกรแก้จน ซึ่งเป็นทางเลือกหนึ่งในการลดต้นทุนการผลิต ซึ่งมีการนำเสนอโดยผู้แทนจากสำนักพัฒนาอาหารสัตว์อีกด้วย

ที่มาของข้อมูล : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline