วันพฤหัสบดีที่ 27 สิงหาคม 2563 เวลา 09.00 น. นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ มอบหมายให้นายสัตวแพทย์เศรษฐเกียรติ กระจ่างวงษ์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานเปิดการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ“การติดตามและขับเคลื่อนงานตามนโยบายเชิงบูรณาการในระดับพื้นที่และระดับภาคกรมปศุสัตว์ ปีงบประมาณ พ.ศ.2563” พร้อมมอบนโยบายแนวทางการขับเคลื่อนและการบูรณาการเชิงพื้นที่ โดยมีนายณธกร ทองจีน ปศุสัตว์จังหวัดระนอง เป็นผู้กล่าวต้อนรับ และนายไพโรจน์ จิ้วบุญสร้าง หัวหน้ากลุ่มนโยบายและยุทธศาสตร์ กองแผนงาน เป็นผู้กล่าวรายงาน
การสัมมนาดังกล่าว จัดขึ้นเพื่อติดตามความก้าวหน้าการดำเนินงานโครงการสำคัญตามนโยบายของรัฐบาล/กระทรวงฯ/กรมฯ , รับทราบปัญหาและอุปสรรค ในการปฏิบัติงานเชิงบูรณาการ และแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์และเสริมสร้างความร่วมมือ เพื่อบูรณาการการทำงานให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยผู้เข้ารวมประชุมสัมมนา ประกอบด้วย ผอ.ส่วนยุทธศาสตร์และสารสนเทศฯ และเจ้าหน้าที่ ประจำเขต ๑ – ๙ หน.กลุ่มยุทธศาสตร์และสารสนเทศฯ จำนวน 95 คน
ทั้งนี้ ได้มอบนโยบาย แนวคิด ให้แก่ผู้เข้าอบรม ในเรื่องการขับเคลื่อนงานตามนโยบายเชิงบูรณาการ โดยนำศาสตร์พระราชา หลักการทรงงานตามแนวพระราชดำริ “เข้าใจ เข้าถึง พัฒนา” มาเป็นแนวทาง ที่ทรงยึดหลักผลประโยชน์ของปวงชน และการพัฒนาคนเป็นสำคัญ นับเป็นกระบวนการทำงานแบบบูรณาการ และกระบวนการคิดบนรากฐานของ “การเข้าใจมนุษย์” ในการสร้างสรรค์นวัตกรรมจากความเข้าใจ และการทำงานในรูปแบบของการบูรณาการแบบมุ่งเน้นผลงาน (Result) ตามยุทธศาสตร์เป็นหลัก
สิ่งที่สำคัญที่สุด คือ ความเข้าใจของคนทำงาน คน ต้องมีความเข้าใจว่า การทำงานตามโครงสร้าง (Function) ตามยุทธศาสตร์ (Agenda) ที่ต้องทำงานอย่างเชื่อมโยงกัน จะต้องสามารถมองภาพแบบองค์รวม (Holistic) ได้ และมีเป้าหมายหลักร่วมกัน โดยจะต้องรู้ Stakeholder ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ที่เกี่ยวข้องมีอะไรบ้าง Function ของแต่ละ Stakeholder มีอะไรบ้าง แต่ละ Function ได้ Contribution อะไร และสิ่งที่จะบูรณาการร่วมกันให้ Agenda สำเร็จ นั้นคืออะไร
แนวทางการขับเคลื่อนและบูรณาการเชิงพื้นที่ ของทั้งหมด 9 เขต นั้น ควรจะต้องมีดังนี้
1.แนวคิดการจัดทำยุทธศาสตร์รายชนิดสัตว์
2.ข้อมูล การเก็บรวบรวมข้อมูล และการบริหารจัดการข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด
3.การสร้างกลไกการขับเคลื่อน การจัดตั้งคณะกรรมยุทธศาสตร์รายชนิดสัตว์ (บอร์ดรายชนิดสัตว์)
4.การสร้างความเข้มแข็งภาคเกษตรกร และสถาบันเกษตรกรอย่างเป็นรูปธรรม
5.การเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการสินค้าปศุสัตว์ ตลอดห่วงโซ่อุปทาน
6.การเพิ่มความสามารถในการแข่งขันภาคปศุสัตว์ ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรม
7.การบริหารจัดการทรัพยากรการเกษตรและสิ่งแวดล้อมอย่างสมดุล
8.การบูรณาการการขับเคลื่อนงานอย่างมีประสิทธิภาพ
โดยมีเป้าหมาย เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตที่ดีให้แก่เกษตรกร ,ขับเคลื่อนงานด้านปศุสัตว์ไปในทิศทางเดียวกัน ตอบสนองต่อบริบทที่เปลี่ยนแปลงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ,ศักยภาพด้านการผลิตได้มาตรฐาน เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเป็นศูนย์กลางด้านการปศุสัตว์อาเซียนในทุกๆด้าน
ณ ห้องประชุมเรืองราษฎร์รังสรรค์ โรงแรมทินิดี โฮเต็ล แอท ระนอง อ่านรายละเอียด