25630908 2

วันที่ 8 กันยายน 2563 เวลา 9.30 น.
     นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการควบคุม ป้องกัน และแก้ไขปัญหาเชื้อดื้อยาและการใช้ยาสมเหตุผลในสัตว์ ครั้งที่ 1/2563 พร้อมด้วยนายสัตวแพทย์รักไทย งามภักดิ์ ผู้อำนวยการกองควบคุมอาหารและยาสัตว์ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้แทนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย สำนักงานปศุสัตว์เขต 1-9 สำนักตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ กองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ กองแผนงาน สำนักพัฒนาพันธุ์สัตว์ สำนักพัฒนาอาหารสัตว์ กองสวัสดิภาพสัตว์และสัตวแพทย์บริการ กลุ่มพัฒนาวิชาการปศุสัตว์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง สรุปสาระสำคัญ ดังนี้

     1. คำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการควบคุม ป้องกันและแก้ไขปัญหาเชื้อดื้อยาและการใช้ยาสมเหตุผลในสัตว์ และคณะทำงานชุดเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาในสัตว์ทางห้องปฏิบัติการ
     2. สรุปสาระสำคัญการประชุมคณะกรรมการนโยบายการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติในการประชุม ครั้งที่ 1/2563 ที่เกี่ยวข้องกับภาคปศุสัตว์
     - ผลกระทบจากเชื้อดื้อยาต้านจุลชีพต่อภาคเศรษฐกิจและการส่งออกสินค้าเกษตร โดยในปี 2562 สินค้าปศุสัตว์มีมูลค่าการส่งออก 116,899 ล้านบาท ปริมาณรวม 984,788 ตัน หากพบว่าสินค้าที่ส่งออกมีการปนเปื้อนเชื้อดื้อยาหรือมียาต้านจุลชีพตกค้าง จะถูกประเทศคู่ค้าส่งกลับทำให้เกิดความสูญเสียทางเศรษฐกิจของประเทศไทย
     - รายงานการบริโภคยาต้านจุลชีพของประเทศไทย ปริมาณการบริโภคยาต้านจุลชีพสำหรับสัตว์ มีแนวโน้มลดลงร้อยละ 6.4 ในปี 2561 เทียบกับปี 2560 โดยแนวโน้มที่ลดลงอาจเกิดจากการใช้ยาในสัตว์ที่ลดลงหรือประชากรสัตว์ที่เพิ่มขึ้น
     - ยาต้านจุลชีพสำหรับมนุษย์ที่มีการนำไปใช้ในสัตว์เลี้ยงส่วนใหญ่เป็นยาต้านจุลชีพที่ขึ้นทะเบียนเป็นยาที่ใช้สำหรับมนุษย์ เนื่องจากมีราคาที่ถูกกว่าและบางชนิดยังไม่มีการขึ้นทะเบียนเพื่อใช้สำหรับสัตว์
     3. ความก้าวหน้าระยะครึ่งแผน (พ.ศ. 2560-2562) ของการขับเคลื่อนแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564 ในยุทธศาสตร์ที่ 4 การป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยาและควบคุมกำกับดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในภาคการเกษตรและสัตว์เลี้ยง มีแนวทางในอนาคต คือ การขยายการเลี้ยงสัตว์ที่ลดการใช้ยาและปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะให้มีจำนวนฟาร์มที่เพิ่มมากขึ้นและครอบคลุมทั่วประเทศ การพัฒนาและปรับปรุงระบบเฝ้าระวังการดื้อยาต้านจุลชีพในภาคเกษตร และเร่งศึกษาวิจัยหาทางเลือกเพื่อทดแทนและลดการใช้ยาต้านจุลชีพให้แก่เกษตรกร
     4. กิจกรรมที่สำคัญและผลการดำเนินงานของกรมปศุสัตว์ที่เกี่ยวกับการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพ ได้แก่ พัฒนาระบบเฝ้าระวังเชื้อดื้อยาตามวิธีสากล OIE และพัฒนาศักยภาพของห้องปฏิบัติการในการตรวจวิเคราะห์เชื้อดื้อยา พัฒนาการควบคุมการกระจายยาต้านจุลชีพ พัฒนามาตรการทางกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการผลิตสินค้าปศุสัตว์ปลอดภัยให้มีความเข้มแข็งมากขึ้น และพัฒนาแนวทางปฏิบัติในการลดการใช้ยาต้านจุลชีพ
     5. รายงานผลวิเคราะห์เชื้อดื้อยาและปริมาณการบริโภคยาในสัตว์ ปี 2562
     6. Framework and Roadmap for surveillance of antimicrobial resistance in Food Animal ภายใต้ยุทธศาสตร์ที่ 1 การเฝ้าระวังการดื้อยาต้านจุลชีพภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว การจัดทำกรอบการทำงานในการพัฒนาระบบเฝ้าระวังและการแจ้งเตือนการดื้อยาต้านจุลชีพรวมถึงสารตกค้างในคน ปศุสัตว์ ประมง และสิ่งแวดล้อม
     7. โครงการวิจัย “การสำรวจความชุกของเชื้อ ESBL-producing E.coli ที่แยกได้จากคน ห่วงโซ่อาหาร และสิ่งแวดล้อม”
      ทั้งนี้ เพื่อให้การดำเนินงานสอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564 ภายใต้แนวคิดสุขภาพหนึ่งเดียว (คน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม) สำหรับในภาคปศุสัตว์คือ การป้องกันและควบคุมเชื้อดื้อยา และควบคุมดูแลการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างเหมาะสมในภาคการเกษตรและสัตว์เลี้ยง มุ่งเป้าประสงค์ให้ปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพสำหรับสัตว์ลดลงอย่างน้อย 30% โดยกรมปศุสัตว์จะมีการจัดงาน World Antibiotic Awareness Week (WAAW) 2020 ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2563 เพื่อสร้างความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการสร้างความตระหนักต่อเรื่องเชื้อดื้อยาทั้งในคน สัตว์และสิ่งแวดล้อม ภายใต้คอนเซ็ปต์ “Handing antimicrobials with care: Roles of private sector under One Health approach” ซึ่งจะมีการหารือรายละเอียดการจัดงานต่อไป
     ณ ห้องประชุม 2 ตึกชัยอัศวรักษ์ กรมปศุสัตว์ อ่านรายละเอียด


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline