วันที่ 26 ธันวาคม 2565 เวลา 9.30 น. นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานการประชุมขับเคลื่อนงานนโยบายกรมปศุสัตว์ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 ครั้งที่ 2 ณ ห้องประชุมพระพิรุณ ตึกอำนวยการ ชั้น 1 กรมปศุสัตว์ โดยเน้นย้ำการขับเคลื่อนตามแนวทาง “ครอบครัวปศุสัตว์” เป็นการปรับเปลี่ยนแนวทางการปฏิบัติให้เหมือนญาติพี่น้อง มีการ ผ่อนปรนกันได้ จึงขอให้นําแนวทางนี้ไปหารือกับเจ้าหน้าที่ และขอความร่วมมือกับฟาร์ม ให้ความช่วยเหลือ เหมือนครอบครัวเดียวกัน หากต้องการให้หน่วยงานราชการช่วยเหลือสิ่งใด ขอให้แจ้งมา การทําด้วยใจ ให้ดู จิตวิญญาณของข้าราชการ ในการช่วยเหลือผู้อื่น โดยใช้หลักการไม่ชอบสิ่งไหน อย่าทําสิ่งนั้น
การขับเคลื่อนนโยบายกรมปศุสัตว์ DLD Co-ordinator : DLD-C ไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ DLD Coordinator จะมีปศุสัตว์จังหวัดเป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการ ขับเคลื่อนนโยบายของกรมปศุสัตว์ระดับพื้นที่ ซึ่งอาจมีการแต่งตั้งรองประธาน เพื่อปฏิบัติหน้าที่แทนกรณีประธาน ไม่อยู่หรือมีภารกิจอื่น มีหัวหน้าหน่วยงานบริหารราชการส่วนกลางที่มีสํานักงานตั้งอยู่ในจังหวัด เป็นการบูรณาการร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและหน่วยงานส่วนภูมิภาคทั้งงานปกติและงานเผชิญเหตุ โดยในช่วงวิกฤติ การสนธิ กําลังด้านยานพาหนะ งบประมาณ และบุคลากร ถือเป็นเรื่องสําคัญ เพื่อให้เข้าไปแก้ปัญหาได้ทันท่วงที
สำหรับการควบคุมป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย มอบหมายให้สํานักควบคุม ป้องกัน และบําบัดโรคสัตว์ เร่งกําหนดมาตรการป้องกันและควบคุมโรค ปากและเท้าเปื่อย โดยเร็วที่สุด กำชับด่านกักกันสัตว์ ปศุสัตว์อําเภอ และปศุสัตว์จังหวัด เข้มงวดเรื่องเคลื่อนย้ายสัตว์ในพื้นที่ โดยเฉพาะตามแนวชายแดน การฉีดวัคซีนในโคนม ขอให้เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ฉีดด้วยตนเอง หรือมอบหมายอาสาปศุสัตว์ที่มี ศักยภาพและไว้วางใจได้ดําเนินการ ส่วนรายชนิดสัตว์อื่น ให้ถือปฏิบัติเช่นเดิมก่อน และให้ร่วมกับกองสารวัตรและกักกัน นํารถพ่นน้ํายาฆ่าเชื้อไปทําลายเชื้อโรคในพื้นที่เสี่ยงเกิดโรคซ้ําซาก
การขับเคลื่อนนโยบายกรมปศุสัตว์ DLD Co-ordinator : DLD-C ไปสู่การปฏิบัติอย่างมีประสิทธิภาพ DLD Coordinator จะมีปศุสัตว์จังหวัดเป็นประธานกรรมการในคณะกรรมการ ขับเคลื่อนนโยบายของกรมปศุสัตว์ระดับพื้นที่ ซึ่งอาจมีการแต่งตั้งรองประธาน เพื่อปฏิบัติหน้าที่แทนกรณีประธาน ไม่อยู่หรือมีภารกิจอื่น มีหัวหน้าหน่วยงานบริหารราชการส่วนกลางที่มีสํานักงานตั้งอยู่ในจังหวัด เป็นการบูรณาการร่วมกัน ระหว่างหน่วยงานส่วนกลางและหน่วยงานส่วนภูมิภาคทั้งงานปกติและงานเผชิญเหตุ โดยในช่วงวิกฤติ การสนธิ กําลังด้านยานพาหนะ งบประมาณ และบุคลากร ถือเป็นเรื่องสําคัญ เพื่อให้เข้าไปแก้ปัญหาได้ทันท่วงที
สำหรับการควบคุมป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย มอบหมายให้สํานักควบคุม ป้องกัน และบําบัดโรคสัตว์ เร่งกําหนดมาตรการป้องกันและควบคุมโรค ปากและเท้าเปื่อย โดยเร็วที่สุด กำชับด่านกักกันสัตว์ ปศุสัตว์อําเภอ และปศุสัตว์จังหวัด เข้มงวดเรื่องเคลื่อนย้ายสัตว์ในพื้นที่ โดยเฉพาะตามแนวชายแดน การฉีดวัคซีนในโคนม ขอให้เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ฉีดด้วยตนเอง หรือมอบหมายอาสาปศุสัตว์ที่มี ศักยภาพและไว้วางใจได้ดําเนินการ ส่วนรายชนิดสัตว์อื่น ให้ถือปฏิบัติเช่นเดิมก่อน และให้ร่วมกับกองสารวัตรและกักกัน นํารถพ่นน้ํายาฆ่าเชื้อไปทําลายเชื้อโรคในพื้นที่เสี่ยงเกิดโรคซ้ําซาก
ภาพ ฉัตรชัย นวลปลอด / ข่าว ธงชัย สาลี / กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์ / กรมปศุสัตว์