011

อธิบดีกรมปศุสัตว์ขับเคลื่อน DLD-C ในพื้นที่จังหวัดชลบุรี

วันพุธที่ 22 กุมภาพันธ์ 2566 เวลา 13.00 น. นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการขับเคลื่อนนโยบายของกรมปศุสัตว์ (DLD Co-ordinator) จังหวัดชลบุรี โดยมีนายชวนะ ทองเย็น รักษาการปศุสัตว์จังหวัดชลบุรี ดำเนินการประชุม และหน่วยงานกรมปศุสัตว์ในพื้นที่ชลบุรี เข้าร่วมประชุมฯ ณ ศูนย์วิจัยและพัฒนาการทางสัตวแพทย์ภาคตะวันออก จังหวัดชลบุรี
การประชุมครั้งนี้ ได้ร่วมกันหารือหลายประเด็น ดังนี้
1. สนง.ปศจ.ชลบุรี รายงานกิจกรรมการผ่าตัดทำหมันและฉีดวัคซีนป้องกันโรคพิษสุนัขบ้า (kick off) ปีงบประมาณพ.ศ. 2566 ซึ่งผลการดำเนินการเกินเป้าหมายที่กำหนดไว้
2. สนง.ปศจ.ชลบุรี รายงานโครงการตามแผนปฎิบัติราชการ ประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 อาทิ โครงการเพิ่มมูลค่าสินค้าเกษตรอย่างสร้างสรรค์ ด้วยนวัตกรรมและเทคโนโลยีเกษตร กิจกรรมส่งเสริมให้มีการพัฒนาและปรับปรุงให้ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติที่ดีสำหรับฟาร์ม (GAP) และเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม
3. สนง.ปศจ.ชลบุรี และ สคบ. รายงานโครงการเร่งรัดกำจัดโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่จังหวัดชลบุรี ปีงบประมาณ พ.ศ. 2566 (Chonburi Model) ภายใต้โครงการสัตว์ปลอดโรค คนปลอดภัย จากโรคพิษสุนัขบ้า ได้แก่ โครงการเร่งรัดฯ เป็นโครงการขยายผลต่อเนื่องจากการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้าในพื้นที่ โดยนำนโยบาย DLD-C มาใช้ เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงการทำงานร่วมกันระหว่างหน่วยงานระดับส่วนกลาง ระดับเขต ระดับพื้นที่ ซึ่งการควบคุมโรคพิษสุนัขบ้ามีกฎหมายระดับ พ.ร.บ. ที่เกี่ยวข้อง 3 ฉบับ คือ พ.ร.บ. โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 พ.ร.บ.โรคพิษสุนัขบ้า พ.ศ. 2535 และ พรบ. ป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ.2557 และการจัดกิจกรรมรณรงค์ทำหมันสุนัขและฉีดวัคซีนโรคพิษสุนัขบ้า (Kick off) คาดว่าจะจัดงานในวันที่ 31 มีค 66 ณ โรงเรียนอนุบาลบ้านบึง จังหวัดชลบุรี เนื่องจากเป็นช่วงที่โรงเรียนปิดเทอม และมีความพร้อมด้านสถานที่ ของสนง.ปศจ.ชลบุรี
4. ศอส.สระแก้ว และ สนง.ปศจ.ชลบุรี รายงานผลการดำเนินการ โครงการขยายพื้นที่ปลูกพืชอาหารสัตว์ 50,000 ไร่ ปัจจุบันมีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการ 1,861 ราย พื้นที่ปลูก 8,961 ไร่ (ข้อมูลณวันที่ 31 มค. 66) ขั้นตอนถัดไป จะส่งรายชื่อให้แต่ละจังหวัด เพื่อประสานการจัดส่งเมล็ดพันธุ์หรือการไปรับเมล็ดพันธุ์ ซึ่งคาดว่าจะส่งมอบได้ในช่วงต้นเดือน มีค 66 เป็นต้นไป
5. ศวพ.ชลบุรี และ สนง.ปศจ.ชลบุรี รายงานโครงการเฝ้าระวังสารเร่งเนื้อแดงตกค้างเนื้อโค ปี 2566 โดยในพื้นที่จังหวัดชลบุรีส่งตัวอย่าง 16 ตัวอย่าง ให้ลบทุกตัวอย่าง
6. ศผท.ชลบุรี รายงานผลการปฏิบัติงาน การผสมเทียมในสุกร การสำรวจประชากรโคนมในพื้นที่ชลบุรี ฟาร์มเครือข่ายผสมเทียมโคเนื้อเพิ่มรายได้ โดยให้เจ้าหน้าที่ผสมเทียมไปสร้างเครือข่ายกับเกษตรกรเพื่อเฝ้าระวังโรคระบาดสัตว์

ทั้งนี้ อธิบดีกรมปศุสัตว์ได้กล่าวถึงนโยบายว่า ส่วนใหญ่งานของกรมปศุสัตว์จะอยู่ในพื้นที่ กรมปศุสัตว์จึงมีนโยบาย DLD-C (DLD Co-ordinator) โดยมีปศุสัตว์จังหวัดเป็นประธาน เป็นการบูรณาการภายในจังหวัด ประสานงานภายในจังหวัดให้ราบรื่น เป็นไปได้ด้วยดี เมื่อมีปัญหาสามารถเรียกระดมพลได้ สื่อสารข้อมูลข่าวสารให้ไปถึงระดับพื้นที่ โดยการบริหารจัดการให้ยึดแนวครอบครัวปศุสัตว์ (DLD Family) ช่วยเหลือกัน ดูแลกัน เสมือนญาติพี่น้องกับเกษตรกร ทำเพื่อส่วนรวม ยึดค่านิยม คือ “ครอบครัวปศุสัตว์ ทำด้วยใจ ทำให้ไว ทำได้จริง” ส่วนด้านการประชาสัมพันธ์ เมื่อมีการปฏิบัติงานก็ต้องประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนได้รับรู้ ซึ่งมีหลายรูปแบบ ทั้ง LINE IG Tik Tok Facebook และในขณะนี้ กรมปศุสัตว์อยู่ในระหว่างการพัฒนาเทคโนโลยี Digital Technology เช่น e-tracking Televet เพื่ออำนวยความสะดวก การทำงานมีประสิทธิภาพมากขึ้น นอกจากนี้ อธิบดีกรมปศุสัตว์ยังได้เน้นย้ำเรื่องการบูรณาการทำงานร่วมกันภายในพื้นที่ เพื่อขับเคลื่อนงานให้เกิดประโยขน์สูงสุด


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline