3C3B69FF 9332 4526 ADB1 D8A3F94C355B

นายสัตวแพทย์โสภัชย์ ชวาลกุล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานเปิดโครงการสัมมนาเชิงปฏิบัติการ หลักสูตร “ส่งเสริมการพัฒนาบรรจุภัณฑ์และการแสดงเครื่องหมายตราสัญลักษณ์ไข่ “สุพรรณหงส์” ที่ฟองไข่” ประจำปี 2566 ซึ่งจัดขึ้นระหว่างวันที่ 28 - 30 มีนาคม 2566 เพื่อให้ผู้เข้ารับการอบรมมีความรู้ความเข้าใจหลักการการปฏิบัติตนในการผลิตสินค้า “ไข่สุพรรณหงส์" โดยมี นายอภินันท์​ คงนุรัตน์​ ผู้อำนวยการ​กลุ่มรับรองด้านปศุสัตว์  สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ กล่าวรายงาน ปศุสัตว์เขต​ 2​ ปศุสัตว์จังหวัดชลบุรี​ เกษตรกรและผู้ประกอบการ จาก 77 จังหวัด และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง​ เข้าร่วฯพิธีเปิดโครงการฯ ณ​ โรงแรมเฮลท์ แลนด์ รีสอร์ท แอนด์ สปา พัทยาใต้ จังหวัดชลบุรี

นายสัตวแพทย์โสภัชย์ ชวาลกุล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า รัฐบาลได้ให้ความสำคัญในเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) ซึ่งส่งผลให้ผู้บริโภคเกิดความตื่นตัวทางด้านความปลอดภัยของอาหาร
และมีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นเรื่อยๆ โดยความปลอดภัยทางอาหารนั้นจะสามารถเชื่อมั่นได้จากการปฏิบัติตนที่ดี
ของผู้ประกอบการ และการได้รับรองมาตรฐานตลอดห่วงโซ่ เพื่อให้สินค้าปศุสัตว์ได้มาตรฐาน ถูกสุขอนามัย ซึ่งปัจจุบันคนไทยนิยมบริโภคไข่ไก่ เนื่องจากราคาถูก มีโปรตีนสูง สามารถบริโภคได้ทุกเพศทุกวัย และมีผู้บริโภคหลายราย
หันมาบริโภคไข่ดิบเพิ่มมากขึ้น จึงจำเป็นต้องมีมาตรฐานในการผลิตเพื่อสร้างความปลอดภัยและสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคเชื่อถือได้ กรมปศุสัตว์จึงได้จัดทำกิจกรรมสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าเกษตร และอาหารแผนงานกิจกรรม
การสร้างเครื่องหมายการรับรองไข่ไก่ “สุพรรณหงส์” เพื่อตอบสนองพฤติกรรมที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค โดยกำกับ ดูแล ติดตาม และพัฒนางานด้านการผลิตสินค้าปศุสัตว์และโรงงานแปรรูปมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ฟาร์ม โรงงาน การขนส่ง ตลอดจนสถานที่จำหน่าย

กรมปศุสัตว์ มีหน้าที่หลักในการให้บริการด้านปศุสัตว์ ภายใต้การดำเนินงานนโยบายเรื่องความปลอดภัยด้านอาหาร (Food Safety) และได้ดำเนินกิจกรรมภายใต้โครงการสร้างความเชื่อมั่นในสินค้าเกษตรและอาหาร
ในปีงบประมาณ 2566 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการแข่งขันให้กับสินค้าไข่สดแบบครบวงจรตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ
ให้มีคุณภาพได้มาตรฐานสากลเป็นที่ยอมรับกับประเทศคู่ค้า โดย ต้นน้ำ ฟาร์มสัตว์ปีกต้องมีการกำกับดูแลตั้งแต่ไข่ฟัก
ซึ่งต้องมาจากโรงฟักไข่ ฟาร์มพ่อแม่พันธุ์ ฟาร์มไก่รุ่น และฟาร์มไก่ไข่ ต้องได้รับการรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีมีการจัดการตามหลักสวัสดิภาพสัตว์ มีการดูแลสุขภาพสัตว์และปฏิบัติตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558
โดยมีโปรแกรมการเก็บตัวอย่างและตรวจหาเชื้อโรคระบาดที่สำคัญ เช่น ไข้หวัดนก โรคนิวคาสเซิล และโรคติดเชื้อ ที่สำคัญได้แก่ โรคแซลโมเนลโลสิส และขึ้นทะเบียนเป็นฟาร์มปลอดโรคแซลโมเนลลา เพื่อให้มั่นใจว่าแหล่งที่มาของไข่สดปลอดโรค สำหรับสถานที่รวบรวมไข่และโรงงานผลิตสินค้าปศุสัตว์ที่เป็นสถานที่ผลิตกลางน้ำ ต้องผ่านการรับรองมาตรฐานโรงงานผลิตและแปรรูปสินค้าปศุสัตว์ตามระบบวิธีการปฏิบัติที่ดีในการผลิต (Good Hygienic Practices : GHP)
หรือมาตรฐานการปฏิบัติที่ดีสำหรับศูนย์รวบรวมไข่ (Good Manufacturing Practice : GMP) และระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Hazard Analysis and Critical Control Point : HACCP) มีการตรวจสารตกค้างและเชื้อก่อโรคที่สำคัญ ได้แก่ โรคแซลโมเนลโลสิส มีการควบคุมอุณหภูมิในการเก็บรักษาและการขนส่ง รวมถึงมีการบ่งชี้ไข่ด้วยเครื่องหมายการรับรองบนฟองไข่ เพื่อบ่งบอกคุณภาพระดับพรีเมี่ยมของประเทศไทย ด้วยตราสัญลักษณ์ “สุพรรณหงส์” พร้อมทั้งพัฒนาระบบตรวจสอบย้อนกลับ (Traceability) เพื่อให้ผู้บริโภคสามารถตรวจสอบย้อนกลับสินค้าไปยังฟาร์มปลอดโรคแซลโมแนลลาได้ มีการตรวจสอบคุณภาพไข่ทั้งความปลอดภัยและความสด ระบุวันผลิตและวันหมดอายุบนไข่ทุกฟอง ในส่วนของปลายน้ำ หรือสถานที่จำหน่ายนั้น ต้องได้รับรองสถานที่จำหน่ายสินค้าปศุสัตว์ภายใต้ตราสัญลักษณ์ “ปศุสัตว์ OK” เพื่อให้มั่นใจได้ว่าสินค้าไข่สดที่ดีได้วางจำหน่ายในสถานที่จำหน่าย
ที่ถูกสุขลักษณะ และสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ รวมถึงการพัฒนาห้องปฏิบัติการตรวจสอบคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ ให้ได้มาตรฐานสากลทั้งของภาครัฐและภาคเอกชน เพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค และสร้างจุดแข็งในการแข่งขัน
ในตลาดต่างประเทศ เป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับแบรนด์ของสินค้าไข่สดของไทย และยังสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศด้วย

การจัดสัมมนาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อให้ผู้เข้าร่วมมีความรู้ความเข้าใจระบบวิธีการปฏิบัติที่ดีในการผลิต (Good Hygienic Practices : GHP) ระบบการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Hazard Analysis and Critical Control Point : HACCP) และระบบตรวจสอบย้อนกลับสินค้า เพื่อให้ผู้ประกอบการมีความสามารถในการปรับปรุงระบบการผลิตสินค้าไข่สด ยกระดับมาตรฐานการผลิต รวมถึงมีความรู้ในการพัฒนาบรรจุภัณฑ์ที่ใส่บรรจุสินค้าไข่สด และสามารถแสดงเครื่องหมายตราสัญลักษณ์ที่ฟองไข่ ได้อย่างมีประสิทธิภาพและสอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์
ความปลอดภัยด้านอาหาร

“หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ท่านจะสามารถนำหลักการในการปฏิบัติตนที่ดีในการผลิตสินค้าปศุสัตว์ (ไข่)
ไปปรับใช้ในสถานประกอบการของตนเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งกับสถานประกอบการเองและผู้บริโภค”
รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวในที่สุด

ภาพ : ฉัตรชัย นวลปลอด กลุ่มเผยแพร่ฯ / สลก. 

เรียบเรียงข่าวโดย : นางสาวสลิลรัตน์ ชูโชติ นักวิชาการเผยแพร่ปฏิบัติการ 

ข้อมูล : ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์

 


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline