03 09 65 01
วันที่ 3 กันยายน 2565 เวลา15.00 น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังกองพันทหารราบ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก ทรงติดตามความก้าวหน้าโครงการทหารพันธุ์ดี กองพันทหารราบ โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า เริ่มดำเนินการเมื่อปี 2563 ในพื้นที่ว่างเปล่า 53 ไร่ เพื่อเป็นแหล่งเรียนรู้แก่ข้าราชการ นักเรียนนายร้อย และทหารกองประจำการ เรื่องการทำเกษตรปลอดภัย การทดลองหาประสบการณ์ในการผลิตเมล็ดพันธุ์ผักพระราชทาน การปศุสัตว์ การประมง ให้สามารถนำองค์ความรู้ไปต่อยอด ขยายผล เป็นแหล่งเรียนรู้ และแหล่งอาหาร โดยนายสัตวแพทย์ สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ทูลเกล้าถวายรายงานผลการร่วมปฏิบัติงานโครงการเกษตรรวมใจ อันเนื่องมาจากพระราชดำริในปีงบประมาณ 2565 พร้อมด้วยนายบุญศักดิ์ เกลียวกมลทัต (ที่ปรึกษาการดำเนินโครงการทหารพันธุ์ดีและโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ) นายสุนทร รัตนจำรูญ ปศุสัตว์จังหวัดนครนายก,ผอ.กพก,และเจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ร่วมเฝ้ารับเสด็จ
    อธิบดีกรมปศุสัตว์ทูลเกล้าถวายรายงานผลการร่วมปฏิบัติงานโครงการเกษตรรวมใจ อันเนื่องมาจากพระราชดำริในปีงบประมาณ2565 แด่สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้าฯ โดยกรมปศสัตว์ได้สนับสนุนการดำเนินงานโครงการเกษตรรวมใจ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ ดังนี้
1. ไก่งวงพันธุ์อเมริกันบรอนช์ American Bronze ชื่อวิทยาศาสตร์ Meleagris gallopavo พันธุ์
 
อเมริกันบรอนช์ (American Bornze)ลักษณะประจำพันธุ์จัดเป็นไก่งวงพันธุ์หนัก ขนสีบรอนซ์ปนน้ำตาล ดำ ปลายขนสีขาว
 
เล็กน้อย แข้งและนิ้วเท้าสีเทาอ่อนปนชมพูอ่อน ตาสีน้ำตาล จะงอยปากสีเทาอ่อน มีนิสัยการฟักไข่และเลี้ยงลูก สามารถหาอาหารกินเองได้
 
ตามธรรมชาติ เช่นเศษอาหาร หญ้าสด ปริมาณการไข่ ให้ผลผลิตไข่ประมาณ 70ฟอง/ตัว/ปี น้ำหนักมาตรฐานเพศผู้15 กิโลกรัมเพศ
 
เมีย7กิโลกรัม พันธุ์อเมริกันบรอนซ์ ผลผลิตไข่70ฟอง/ปีน้ำหนักเมื่ออายุ 5 เดือนเพศผู้ประมาณ11 กิโลกรัมเพศเมียประมาณ 7 
 
กิโลกรัมน้ำหนักเมื่อโตเต็มที่เพศผู้ ประมาณ 15 กิโลกรัม เพศเมียประมาณ 9 กิโลกรัม   
    2. ไก่งวง พันธุ์เบลท์สวิลล์ สมอลไวท์ Beltsvill Small Whiteชื่อวิทยาศาสตร์Meleagris 
 
gallopavoพันธุ์เบลท์สวิลล์ สมอลไวท์ (Beltsvill Small White)ลักษณะประจำพันธุ์ พันธุ์เบลท์สวิลล์ 
 
สมอลไวท์ (Beltsvil Smal! White) มีขนาดลำตัวปานกลาง และขนาดเล็กขนสีขาว หนังสีขาว แข้งและนิ้วเท้าสี
 
ชมพูซีด ตาสีน้ำตาล จงอยปากสีเทา ปริมาณการไข่ ให้ผลผลิตไข่ประมาณ 80 ฟอง/ตัว/ปี  น้ำหนักมาตรฐาน ไก่งวง เพศผู้ น้ำหนักประมาณ 
 
7.7 กิโลกรัม ไก่งวง เพศเมีย น้ำหนักประมาณ 5 กิโลกรัม เพศผู้หนุ่ม น้ำหนักประมาณ 6.7 กิโลกรัม เพศเมียสาว น้ำหนัก ประมาณ 4 
 
กิโลกรัม ข้อสังเกต ตัวผู้ จะมีขนคล้ายผมสีดำ แข็ง ติดอยู่ตรงบริเวณหน้าอกและตัวเมีย ก็มีโอกาสพบขนสีดำ ลักษณะทางเศรษฐกิจพันธุ์
 
เบลท์สวิลล์ สมอลไวท์ ผลผลิตไข่ 80 ฟอง/ปี น้ำหนักเมื่ออายุ 5 เดือน เพศผู้ประมาณ 6.7 กิโลกรัม เพศเมียประมาณ 4 กิโลกรัมน้ำหนัก
 
เมื่อโตเต็มที่เพศผู้ ประมาณ 7.7 กิโลกรัม เพศเมีย ประมาณ 5 กิโลกรัม               
     3.เป็ดเทศกบินทร์บุรี Kabinburi Muscovyเป็ดเทศ
กบินทร์บุรี (Kabinburi Muscovy)ชื่อวิทยาศาสตร์ Cairina moschata เป็นเป็ดเทศที่กรมปศุสัตว์
 
ได้ปรับปรุงและพัฒนาพันธุ์มาจากเป็ดเทศพันธุ์บาร์บสรี (Barbary)ได้รับการสนับสนุนพันธุ์จากภาคเอกชนเมื่อปี 2534จำนวน 80 
 
ตัว ซึ่งนำเข้ามาจากประเทศฝรั่งเศส โดยสถานีบำรุงพันธุ์สัตว์บางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ได้ดำเนินการขยายพันธุ์ กัดเลือก และปรับปรุง
 
พันธุ์ เพศผู้ จะมีขนาดใหญ่กว่าเพศเมียดวงตากลมสีลายฟ้าดำ ปากสีชมพูอ่อน มีผิวขรุขระเด่นชัดเต็มใบหน้า แข้งและเท้าสีเหลือง หัวมี
 
จุดดำเพศเมีย มีลักษณะเหมือนเพศผู้ แต่ใบหน้าจะมีผิวขรุขระบ้างเล็กน้อยลักษณะทางเศรษฐกิจน้ำหนักแรกเกิด52-54 กรัม 2 อายุเมื่อ
 
ไข่ฟองแรก6-7 เดือน3น้ำหนักเมื่อไข่ฟองแรก 2.4-2.6 เดือนน้ำหนักไข่ฟองแรก58 -60 กรัมผลผลิตไข่ละ160
-180ฟองน้ำหนักเมื่อโตเต็มที่ (12 เดือน) เพศผู้หนัก 4.5 - 5.1 กิโลกรัมเพศเมียหนัก 2.8-3.2 กิโถกรัมสามารถเลี้ยงขุน โดยใช้เวลา10 
 
-12 สัปดาห์
     นอกจากนี้อธิบดีกรมปศุสัตว์น้อมเกล้าฯถวายไก่งวง จำนวน 24 ตัว  1.ไก่งวงพันธุ์ อเมริกันบรอนซ์ พ่อพันธุ์ จำนวน 2 ตัว แม่พันธ์ุ 
 
จำนวน10 ตัว 2. พันธุ์เบลท์สวิลล์ สมอลไวท์ พ่อพันธ์ุ จำนวน2ตัวแม่พันธ์ุ จำนวน 10 ตัว 3. เป็ดเทศกบินทร์บุรี พ่อพันธุ์ จำนวน 2 ตัว 
 
แม่พันธุ์ จำนวน10ตัวพร้อมด้วยเวชภัณฑ์จำนวน 2 ชุดเนื่องในโอกาสสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ
 
สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินโครงการทหารพันธุ์ดี โรงเรียนทหารการสัตว์กรมการสัตว์ทหารบก จังหวัดนครนายก
       อธิบดีกรมปศุสัตว์ทูลเกล้าเพิ่มเติมว่า กรมปศุสัตว์จะดำเนินงานด้านการปศุสัตว์ภายใต้โครงการพระราชดำริ เป็นการน้อมนำศาสตร์
 
พระราชาไปสู่การปฏิบัติและประยุกต์ให้สอดคล้องเหมาะสมกับชุมชนและพื้นที่ ช่วยให้เกษตรกรและประชาชนในพื้นที่ได้รับประโยชน์มาก
 
ขึ้นบนพื้นฐานทรัพยากรของท้องถิ่นนั้น ๆกรมปศุสัตว์จะมุ่งสร้างอาชีพ สร้างความมั่นคงทางอาหาร ทำให้ชุมชนยั่งยืน กรมปศุสัตว์จะ
 
พัฒนางานด้านปศุสัตว์ให้เกิดประโยชน์แก่เกษตรกรยิ่งขึ้นและภาคภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการสนองพระราชดำริ ต่อไป
ภาพ ธงชัย สาลี สลก,โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า/ข่าวคณะทำงานโฆษกกรมปศุสัตว์

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline