S 19111952

วันที่ 6 สิงหาคม2565 เวลา 11.00 น.

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์เป็นประธานมอบรางวัลประกวดควายงามชิงแชมป์ประเทศไทย ในงานเกษตรแฟร์ ขับเคลื่อนไทยไปด้วยกันประจำปี 2565 ระหว่างวันที่ 6-8 สิงหาคม ณ จังหวัดร้อยเอ็ด พร้อมด้วยนายสุรพล ธัญญเจริญ ปศุสัตว์เขต 4 ,นายปัญญา มูลคำกา ปศุสัตว์จังหวัดร้อยเอ็ด,เลขานุการกรมและเจ้าหน้าที่เข้าร่วมงานในครั้งนี้

การจัดงานดังกล่าวมีวัตถุประสงค์ เพื่อเป็นการพัฒนาการตลาดควายไทยและอนุรักษ์ควายไทยพื้นเมือง มุ่งหวังส่งเสริมให้เกษตรกรในจังหวัดร้อยเอ็ดมีการปรับปรุงพันธุกรรมของควายไทย ให้มีคุณภาพดีขึ้น เป็นการเผยแพร่พันธุ์ควายไทยในพื้นที่ให้เป็นที่รู้จักโดยทั่วไป สร้างความภูมิใจในอาชีพของตนเองและสืบทอดอาชีพการเลี้ยงควายไทยจากรุ่นสู่รุ่น ให้เกษตรกรคนรุ่นใหม่หันมาเห็นความสำคัญกับการผลิตควายไทยคุณภาพทั้งการจัดการเลี้ยงดู การคัดเลือกปรับปรุงพันธุ์ และร่วมกันอนุรักษ์ควายไทยมากยิ่งขึ้น อีกทั้ง เพื่อเป็นการสร้างรายได้และมูลค่าเพิ่มของควายไทย กิจกรรมภายในงานประกอบด้วย การจัดนิทรรศการให้ความรู้เกี่ยวกับควายไทย นิทรรศการแนะนำผลงานจากอาจารย์และนักศึกษามหาวิทยาลัยต่างเป็นต้น

นอกจากนี้ภายในงานยังประกอบได้ พิธีสู่ขวัญควาย ,การโชว์ควายเผือกและควายแคระแสนรู้ และ การประกวดควายไทย ทั้งนี้ มีควายงามเข้าประกวด จำนวนมาก ประเภทของการประกวดประกอบด้วย ได้แก่1.รุ่นฟันน้ำนม2.รุ่นฟันแท้ 1-2 คู่ 3.รุ่นฟันแท้ 3คู่ขึ้นไป ทั้งเพศผู้และเพศเมีย และแกรนด์แชมเปี้ยน เพศผู้และเพศเมีย

ผลการประกวดกระบือเพศเมียรุ่นควายสาว อายุ 31 - 36 เดือน (ฟันแท้ 2 คู่)

  • รางวัลชนะเลิศ กระบือชื่อดาวเรือง จากแพรวาฟาร์ม
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 กระบือชื่อมะลิ จากแพรวาฟาร์ม
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 2 กระบือชื่อดอกคูณ จากสกลพานิชย์ฟาร์ม

ผลการประกวดกระบือเพศผู้ รุ่นควายหนุ่มอายุ 31 - 36 เดือน (ฟันแท้ 2 คู่)

  • รางวัลชนะเลิศ กระบือชื่อป๊อก 9 จากภาคินฟาร์ม
  • รางวัลรองชนะเลิศอันดับ 1 กระบือชื่อทองอุดร จากแลนาฟาร์ม
  • รางวัลชนะเลิศอันดับ 2 กระบือชื่อช้างนาคาจากลังกาฟาร์มควายงามเมืองนาคา

อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวเพิ่มเติมว่ากรมปศุสัตว์ให้ความสำคัญในการส่งเสริมและอนุรักษ์การเลี้ยงควายไทย เนื่องจากควายหรือภาษาทางการเรียกว่า “กระบือ” ที่รู้จักกันนี้ น้อยคนแล้วที่จะได้เคยเห็นตัวจริง ควายไทยถือเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญกับภาคเกษตรกรรมของไทยมาอย่างช้านาน คนไทยเทียมควายไถนามาตั้งแต่รุ่นปู่ ย่า ตา ทวด ด้วยความที่เป็นสัตว์ที่มีความอดทน ทนแดด ทนร้อน ทนสภาพอากาศแห้งแล้งได้ ทำให้กลายเป็นเครื่องมือไถนาชั้นดี ก่อนที่จะมีรถไถเกิดขึ้นมา การเดินทางในสมัยก่อนก็ยังใช้ควายเทียมเกวียน เพื่อทุ่นแรงในการเดินทางไกลอีกด้วย แต่ปัจจุบันควายไทยถูกลดความสำคัญลง จนกลายเป็นเพียงสัตว์เลี้ยงเท่านั้น นอกจากนี้กรมปศุสัตว์ยังให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรเครือข่ายผู้เลี้ยงควายขอให้มีศักยภาพและขีดความสามารถในการเลี้ยงควาย สู่อาชีพที่มั่นคงและยั่งยืน ต่อไป ณ อำเภอธวัชบุรี จังหวัดร้อยเอ็ด

ข้อมูล : คณะทำงานโฆษก กรมปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline