001 resize
วันเสาร์ที่  28  พฤษภาคม  2565  เวลา 11.30 น. นายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เป็นประธานเปิดกิจกรรมวันอนุรักษ์ควายไทย ประจำปี 2565 เพื่อร่วมรณรงค์ให้ความรู้ และเป็นการระลึกถึง “วันอนุรักษ์ควายไทย”  พร้อมกล่าวให้โอวาทและชี้แจงโครงการสานฝันสร้างอาชีพและยกระดับรายได้เกษตรกร และโครงการส่งเสริมการเลี้ยงสัตว์  พืช ประมง และกิจการที่เกี่ยวเนื่องตามนโยบายรัฐบาล จังหวัดกาญจนบุรี  และมอบสัญญายืมกระบือโครงการธนาคารโค - กระบือ เพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริให้ตัวแทนเกษตรกรอำเภอเลาขวัญ จำนวน 30 ราย  โดยมีนายชำนาญ ชื่นตา  รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี  กล่าวรายงาน  นายวีระ หิรัญกุล ปลัดอาวุโสอำเภอเลาขวัญ  กล่าวต้อนรับ และนายวิวัฒน์ ไชยชะอุ่ม ผู้อำนวยกองส่งเสริมและพัฒนาการปศุสัตว์ เข้าร่วมงาน นายสามารถ ประสิทธิ์ผล  ปศุสัตว์จังหวัดกาญจนบุรี และเจ้าหน้าที่ในพื้นที่ให้การต้อนรับ  ณ  วัดเขากาญจนาเขต  ตำบลเลาขวัญ  อำเภอเลาขวัญ จังหวัดกาญจนบุรี
  นายประภัตร  โพธสุธน  รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  เปิดเผยว่า  “ควาย” เป็นสัตว์ที่นำมาใช้ประโยชน์ทางการกสิกรรมมาเป็นเวลานาน  ในอดีตควายใช้ในการไถนาให้ชาวนาที่มีแปลงปลูกข้าว    ในพื้นที่มีไม่มากนัก  ควายไทยจะเป็นควายที่อยู่ในตระกูลของควายปลัก ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในเอเชียตอนใต้ ที่เรียกว่า “ควายปลัก”  เพราะชอบนอนในปลักที่มีโคลน การนอนในปลักเป็นส่วนหนึ่งของการระบายความร้อนในสัตว์ดังกล่าว อย่างไรก็ตามสถานการณ์ของกระบือปลักในประเทศไทยน่าเป็นห่วง  เนื่องมาจากจำนวนของกระบือปลักได้ลดลงอย่างมาก  มีกระบือปลักลดลงจาก  6.4  ล้านตัวในปี พ.ศ. 2525  ลงเหลือเพียง 1.3 ล้านตัว ในปี พ.ศ.2551 สาเหตุหนึ่งที่จำนวนลดลงเนื่องมาจากการทำการเกษตรในปัจจุบันเปลี่ยนไป  เกษตรกรใช้รถไถนาที่เป็นเครื่องจักรเพิ่มมากขึ้น เพราะควายเหล็กทำงานเสร็จเร็วกว่าและสะดวกกว่า  ดังนั้นความสำคัญของกระบือจึงลดลง  โดยแต่ละครอบครัวอาจจะยังเลี้ยงกระบือ  จำนวน 1 – 2 ตัว  โดยมิได้คำนึงถึงการขยายพันธุ์ให้ได้กระบือที่ตัวใหญ่สวยงามดังเช่นในอดีต นอกจากนี้ลูกหลานของเกษตรกรก็มีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป  โดยอาจมิได้เป็นเกษตรกรหรือชาวนาที่ปลูกข้าว  แต่มุ่งทำงานในอาชีพอื่นและละเลยความสำคัญของการทำการเกษตรโดยใช้กระบือเป็นแรงงาน  เห็นอย่างนี้แล้วคงต้องมาช่วยกันดูแลควายไทยของเรา  ก่อนที่จะสูญพันธุ์ไป  ให้ได้อยู่ดีกินดี ควายมีความสุข ผู้เลี้ยงมีความสุข และให้ลูกหลานได้เรียนรู้เกี่ยวกับเจ้าทุย ด้วยการเห็นตัวเป็นๆ  มากกว่าแค่รูปถ่ายวันอนุรักษ์ควายไทย เพื่อร่วมกันอนุรักษ์และดูแลควายไทย และส่งเสริมการเลี้ยงควายให้อยู่คู่คนไทยไปอีกแสนนาน
  ด้าน นายชำนาญ  ชื่นตา  รองผู้ว่าราชการจังหวัดกาญจนบุรี กล่าวว่า  สืบเนื่องจากการประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่  7  มีนาคม  2560  ได้มีมติเห็นชอบ กำหนดให้วันที่ 14 พฤษภาคมของทุกปีเป็น "วันอนุรักษ์   ควายไทย"  ซึ่งตรงกับวันที่พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9  ได้มีพระราชดำรัสถึงหลักการดำเนินโครงการธนาคารโค-กระบือเพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ เป็นครั้งแรก และเป็นการสร้างความตระหนักรู้  และให้ความสำคัญในการส่งเสริมและอนุรักษ์การเลี้ยงควายไทย  กรมปศุสัตว์จึงได้ขอความร่วมมือให้ปศุสัตว์จังหวัดจัดกิจกรรมเชิงสัญลักษณ์  หรือจัดเจ้าหน้าที่รณรงค์ให้ความรู้ หรือจัดกิจกรรมเพื่อเป็นการระลึกถึง  “วันอนุรักษ์ควายไทย” ตามความเหมาะสม ตั้งแต่บัดนี้จนถึงวันที่  31  พฤษภาคม  2565
  จังหวัดกาญจนบุรีจึงได้ร่วมกันจัดงาน “วันอนุรักษ์ควายไทย”  ขึ้น เพื่อเป็นการสร้างความตระหนักรู้  และให้ความสำคัญในการส่งเสริมและอนุรักษ์การเลี้ยงควายไทย  เนื่องจากควายหรือภาษาทางการเรียกว่า “กระบือ”  ที่รู้จักกันนี้ น้อยคนแล้วที่จะได้เคยเห็นตัวจริง ควายไทยถือเป็นสัตว์ที่มีความสำคัญกับภาคเกษตรกรรมของไทยมาอย่างช้านาน  คนไทยเทียมควายไถนามาตั้งแต่รุ่นปู่ ย่า ตา ทวด  ด้วยความที่เป็นสัตว์ที่มีความอดทน ทนแดด ทนร้อน ทนสภาพอากาศแห้งแล้งได้ ทำให้กลายเป็นเครื่องมือไถนาชั้นดี ก่อนที่จะมีรถไถเกิดขึ้นมา การเดินทางในสมัยก่อนก็ยังใช้ควายเทียมเกวียน เพื่อทุ่นแรงในการเดินทางไกลอีกด้วย แต่ปัจจุบันควายไทยถูกลดความสำคัญลง จนกลายเป็นเพียงสัตว์เลี้ยงเท่านั้น  นอกจากนี้ทางจังหวัดกาญจนบุรียังให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมและพัฒนาเกษตรกรเครือข่ายผู้เลี้ยงควายของจังหวัดกาญจนบุรี  ให้มีศักยภาพและขีดความสามารถในการเลี้ยงควาย  สู่อาชีพที่มั่นคงและยั่งยืน  จึงได้สานต่อนโยบายกรมปศุสัตว์ที่ให้ความสำคัญกับ "วันอนุรักษ์ควายไทย" ในการสร้างการรับรู้คุณค่าควายไทยว่า   “มีประโยชน์แก่เกษตรกรและประชาชนคนไทย”
 
 
ภาพ กิตติพรรณ จินดามัง / ข่าว จิราภรณ์ เกตุบูรณะ / กลุ่มเผยแพร่ฯ / สลก.

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline