dld80year

รายละเอียด : กำหนดการย้อนรอย 8ทศวรรษ 80ปี กรมปศุสัตว์ | บริจาคไถ่ชีวิตโค-กระบือ | ถ่ายทอดสด  

ในปีพุทธศักราช 2447 ได้มีการเริ่มกิจการทางสาขาสัตวแพทย์ขึ้นใน "กรมช่างไหม" กระทรวง เกษตราธิการในสมัยนั้น โดยได้มีการเปิดสอนวิชาสัตวแพทย์ขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2451 กรมช่างไหมได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมเพาะปลูก" ซึ่งได้มีการจัดตั้งกิจการผสมสัตว์ และกิจการแผนกรักษาสัตว์ขึ้นในกรมในปี พ.ศ. 2474 ได้โอนกรมเพาะปลูกไปร่วมกิจการของกองตรวจพันธุ์รุกขชาติ โดยจัดตั้งขึ้นเป็น "กรมตรวจกสิกรรม" สังกัดกระทรวงพาณิชย์และคมนาคม จนกระทั่งเกิดการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองแผ่นดิน พ.ศ. 2475 ได้แยกกระทรวงพาณิชย์และคมนาคมออกเป็นกระทรวงคมนาคม และกระทรวงเกษตรพาณิชย์ซึ่งต่อมากระทรวงเกษตรพาณิชย์ได้เปลี่ยนเป็นกระทรวงเศรษฐการและในส่วนกรมตรวจกสิกรรมได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมเกษตร" ซึ่งต่อมาได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมเกษตรและการประมง" จนกระทั่งในวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2495 "กรมปศุสัตว์และสัตว์พาหนะ" ได้เปลี่ยนชื่อเป็น "กรมการปศุสัตว์" สังกัดกระทรวงเกษตร (เปลี่ยนชื่อจากกระทรวงเกษตราธิการ) และในปลายปี พ.ศ. 2495 ได้ย้ายที่ตั้งกรมจากข้างป้อมพระสุเมรุ ถนนพระอาทิตย์ มาอยู่ ณ สถานที่ปัจจุบัน ถนนพญาไท แขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ และในปีถัดมา คือ ในวันที่ 26 ธันวาคม 2496 กรมการปศุสัตว์ ได้เปลี่ยนชื่อเป็น"กรมปศุสัตว์" ดังเช่นในปัจจุบัน

กรมปศุสัตว์ (Department of Livestock Development) เป็นหน่วยงานราชการไทย ประเภทกรม สังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ทำหน้าที่ดูแลและควบคุมการเลี้ยงสัตว์ ทั้งด้านสุขภาพ การบำบัดโรค การบำรุงพันธุ์ การควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ สถานพยาบาลสัตว์ โรคระบาดสัตว์ การปศุสัตว์ไปจนถึงการแปรรูปผลิตภัณฑ์จากสัตว์

กรมปศุสัตว์ ขึ้นทะเบียน “ตึกอำนวยการ กรมปศุสัตว์ ถนนพญาไท” เป็นโบราณสถาน โดยกรมศิลปากร ประกาศเผยแพร่ในราชกิจจานุเบกษา เรื่อง ขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดินโบราณสถาน ความว่า อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 7 แห่ง พ.ร.บ.โบราณสถาน โบราณวัตถุศิลปวัตถุ และพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พ.ศ. 2504 กรมศิลปากร จึงประกาศขึ้นทะเบียนและกำหนดเขตที่ดิน โบราณสถานตึกอำนวยการ กรมปศุสัตว์ ถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพมหานคร ให้มีพื้นที่โบราณสถาน 3 ไร่ 57.75 ตารางวา ประกาศ ณ วันที่ 23 กรกฎาคม 2563 นายประทีป เพ็งตะโก อธิบดีกรมศิลปากร นับเป็นการสร้างความภาคภูมิใจและเป็นที่ปิติยินดีแก่กรมปศุสัตว์เป็นอย่างยิ่ง

“วิสัยทัศน์องค์กร”

“เป็นองค์การที่นำและขับเคลื่อนการปศุสัตว์ไทย สู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนในตลาดโลก”

“ค่านิยมองค์กร”

" I2 - SMART "

  • I = Innovation (สร้างนวัตกรรม)
  • I = Integration (ทำงานแบบบูรณาการ)
  • S = Standard (สร้างมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์)
  • M = Mastery (การทำงานอย่างมืออาชีพ)
  • A = Agility (ความคล่องตัวและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลง)
  • R = Responsibility (มีความรับผิดชอบต่อสังคมและประเทศชาติ)
  • T = Teamwork (มุ่งมั่นในการทำงานร่วมกัน)

ด้านทำเนียบผู้บริหารกรมปศุสัตว์ (อธิบดีกรมปศุสัตว์) จากอดีตจนถึงปัจจุบันมีจำนวนทั้งหมด 23 ท่าน โดยมีรายชื่อ ดังนี้

  1. ดร.อาร์.พี.โจนส์.ป.ม. ที่ปรึกษาสัตวแพทย์ กระทรวงเกษตราธิการ พ.ศ. 2469 – 2470
  2. พท.หลวงชัยอัศวรักษ์ (ไชย แสงชูโต) 4 มิ.ย. 2485 - 3 ก.ย. 2488
  3. หลวงสุวรรณวาจกกสิกิจ (ทองดี เรศานนท์) 28 ธ.ค. 2488 - 5 พ.ค. 2489
  4. พระช่วงเกษตรศิลปการ (ช่วง โลจายะ) 6 พ.ค. 2489 - 26 พ.ค. 2491
  5. ขุนวิจิตรพาหนการ (ใหญ่ วิจิตรพาหนการ) 1 ธ.ค. 2492 - 31 มี.ค. 2501
  6. นายสำเนียง ศรมณี 1 เม.ย. 2501 - 30 ก.ย. 2505
  7. นายจักร พิชัยรณรงค์สงคราม 1 ต.ค. 2505 - 30 ก.ย. 2514
  8. ร.ต.ศิริ ศุภางคเสน 1 ต.ค. 2514 - 30 ก.ย. 2520
  9. นายละเอียด ดวงดี 1 ต.ค. 2520 - 30 ก.ย. 2522
  10. น.สพ. ดร.ทิม พรรณศิริ 9 ต.ค. 2522 - 30 ก.ย. 2531
  11. นายวิฑูรย์ กำเนิดเพ็ชร์ 1 ต.ค. 2531 - 30 ก.ย. 2533
  12. นายทวีศักดิ์ เสสะเวช 1 ต.ค. 2533 - 2 ก.ค. 2539
  13. น.สพ.สุวิทย์ ผลลาภ 20 ก.ค. 2539 - 30 ก.ย. 2542
  14. น.สพ.ระพีพงศ์ วงศ์ดี 1 ต.ค. 2542 - 14 ต.ค. 2545
  15. น.สพ.ยุคล ลิ้มแหลมทอง 17 พ.ย. 2545 - 28 ธ.ค. 2549
  16. นายภิรมย์ ศรีจันทร์ 29 ธ.ค. 2549 - 30 ก.ย. 2550
  17. น.สพ.ศักดิ์ชัย ศรีบุญซื่อ 1 พ.ย. 2550 - 8 ธ.ค. 2551
  18. น.สพ.ยุคล ลิ้มแหลมทอง 9 ธ.ค. 2551 - 30 ก.ย. 2552
  19. นายปรีชา สมบูรณ์ประเสริฐ 1 ต.ค. 2552 ถึง 30 ก.ย.2554
  20. น.สพ.ทฤษดี ชาวสวนเจริญ 1 ต.ค.2554 ถึง 30 ก.ย.2557
  21. น.สพ.อยุทธ์ หรินทรานนท์ 26 ม.ค.2558 ถึง 30 ก.ย.2559
  22. น.สพ.อภัย สุทธิสังข์ 1 ต.ค.2559 ถึง 6 พฤษภาคม 2561
  23. น.สพ.สรวิศ ธานีโต 7 พ.ค.2561 จนถึง ปัจจุบัน

กรมปศุสัตว์ มีภารกิจเกี่ยวกับการกำหนดทิศทางและนโยบาย การควบคุม การกำกับ การส่งเสริม การวิจัย การถ่ายทอดเทคโนโลยี และการพัฒนาเทคโนโลยีเกี่ยวกับการปศุสัตว์ รวมทั้งบริหารจัดการทรัพยากรพันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพด้านการปศุสัตว์ เพื่อให้มีปริมาณสัตว์เพียงพอ และมีมาตรฐาน ถูกสุขอนามัย ปราศจากโรค สารตกค้างและสารปนเปื้อน มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภคและสิ่งแวดล้อม และสามารถแข่งขันได้ในระดับสากล โดยให้มีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

  1. ดำเนินการตามกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ กฎหมายว่าด้วยการบำรุงพันธุ์สัตว์ กฎหมายว่าด้วยการควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ กฎหมายว่าด้วยสถานพยาบาลสัตว์ กฎหมายว่าด้วยโรคพิษสุนัขบ้า กฎหมายว่าด้วยการควบคุมการฆ่าสัตว์และจำหน่ายเนื้อสัตว์ และกฎหมายอื่นที่เกี่ยวข้อง
  2. ศึกษา วิจัย และพัฒนาเทคโนโลยีด้านการปศุสัตว์
  3. ตรวจสอบและรับรองคุณภาพสินค้าปศุสัตว์ พันธุ์สัตว์ พันธุ์พืชอาหารสัตว์ อาหารสัตว์ ชีวภัณฑ์และชีววัตถุสำหรับสัตว์ ยาสัตว์และวัตถุอันตรายด้านการปศุสัตว์ระบบการผลิตปศุสัตว์และสินค้าปศุสัตว์ และกระบวนการอื่นที่เกี่ยวข้องในด้านการปศุสัตว์เพื่อให้ได้มาตรฐานและมีความปลอดภัย
  4. ผลิตและขยายพันธุ์สัตว์ น้ำเชื้อ เชื้อพันธุ์ พืชอาหารสัตว์ และเสบียงสัตว์ เพื่อการพัฒนาด้านการปศุสัตว์ และผลิตและจัดหาชีวภัณฑ์ เวชภัณฑ์ และชีววัตถุสำหรับสัตว์ เพื่อการควบคุมโรคระบาดสัตว์
  5. ควบคุม ป้องกัน กำจัด บำบัด วินิจฉัยและชันสูตรโรคสัตว์ กำกับดูแลสถานพยาบาลสัตว์ และพัฒนาระบบการจัดการด้านสุขภาพสัตว์
  6. ส่งเสริม พัฒนา และถ่ายทอดเทคโนโลยีด้านการปศุสัตว์ และบริหารจัดการ การประสานความร่วมมือด้านการปศุสัตว์ทั้งในประเทศและต่างประเทศ
  7. ดำเนินการอนุรักษ์พันธุกรรมและความหลากหลายทางชีวภาพด้านการปศุสัตว์ และป้องกันผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการปศุสัตว์
  8. ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกรมหรือตามที่รัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรีมอบหมาย

จากอดีตจนถึงปัจจุบันกรมปศุสัตว์อาศัยกลไกการเรียนรู้และทำความเข้าใจ คน สัตว์ และสภาพแวดล้อมอย่างลึกซึ้งเพื่อใช้เป็นปัจจัยในการออกแบบเพื่อส่งมอบคุณค่าอย่างเหนือความคาดหวัง ด้วยการขับเคลื่อนผ่านกระบวนการชี้นำ สร้างคน วางกลยุทธ์ จัดกระบวนการ เพื่อสร้างคุณค่าและตอบสนองผู้รับบริการ ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียและประชาชน เรียนรู้และพัฒนาองค์การให้เป็นระบบราชการ 4.0 โดยยึดประชาชนเป็นศูนย์กลาง เปิดกว้างและเชื่อมโยงกับทุกภาคส่วนด้วยการสร้างกระบวนการมีส่วนร่วม พัฒนาและสร้างสรรค์นวัตกรรมใหม่ๆ รวมถึงการปรับเปลี่ยนระบบการทำงานไปสู่การเป็นดิจิทัล เพื่อให้เป็นองค์การที่ Smart & High Performance Organization ที่สามารถนำพาและตอบสนองการปศุสัตว์ ด้วย Better Service ทั้งคน - ทั้งสัตว์ Better Life ทุกคน-ทุกตัว Better Solution ทุกเรื่อง โดยการพัฒนาดังกล่าว ส่งผลให้กรมปศุสัตว์ได้รับรางวัลที่เกี่ยวกับการพัฒนาระบบราชการจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ทุกปีอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ปี 2549 จนถึงปัจจุบัน รวมทั้งสิ้น 66 รางวัล ได้แก่ รางวัลเลิศรัฐ ระดับยอดเยี่ยม 2 รางวัล รางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ จำนวน 8 รางวัล รางวัลบริการภาครัฐ จำนวน 48 รางวัล และรางวัลบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม จำนวน 8 รางวัล โดยกรมปศุสัตว์ได้ดำเนินงานเคียงข้างเกษตรกร พัฒนางานด้านปศุสัตว์ พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพ และขับเคลื่อนการปศุสัตว์ไทยไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน

จากวิสัยทัศน์ของกรมปศุสัตว์ “เป็นองค์การที่นำและขับเคลื่อนการปศุสัตว์ไทย สู่ความมั่นคง มั่งคั่งและยั่งยืนในตลาดโลก”กรมปศุสัตว์ยังคงมุ่งมั่นสร้าง eco system ด้านการปศุสัตว์ให้เกิดเป็นระบบธรรมา ภิบาล (Agriculture Government) โดยดำรงไว้ซึ่งการพัฒนาสู่ความเป็นระบบราชการ 4.0 ที่สามารถสร้างคุณค่าเพิ่ม (Value Chain) ให้แก่ การปศุสัตว์ได้อย่างต่อเนื่อง ภายใต้ระบบการผลิตสินค้าปศุสัตว์ที่มีคุณภาพ ได้มาตรฐาน ปลอดภัย มีปริมาณเพียงพอ และมีความสามารถทางการแข่งขันได้อย่างยั่งยืน การดำเนินงานของกรมปศุสัตว์ในด้านการบริหารจัดการ กรมปศุสัตว์ปฏิบัติราชการจนประสบความสำเร็จ มีความเป็นเลิศแห่งหน่วยงานรัฐในด้านคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐทำให้กรมปศุสัตว์ได้รับรางวัลต่างๆมากมายจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ เช่น รางวัลเลิศรัฐ ประจำปีพุทธศักราช 2564 จำนวน 5 รางวัล และปีพุทธศักราช 2565 จำนวน 2 รางวัล ประกอบด้วย

  1. รางวัลเลิศรัฐ ระดับยอดเยี่ยม เป็นรางวัลแห่งเกียรติยศในภาพรวมที่มอบให้หน่วยงานที่ได้มุ่งมั่นปฏิบัติราชการจนประสบความสำเร็จมีความเป็นเลิศแห่งหน่วยงานรัฐทั้งปวง
  2. รางวัลสาขาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ประเภทรางวัลคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ 4.0 ระดับก้าวหน้า
  3. รางวัลสาขาบริการภาครัฐ ประเภทรางวัลยกระดับบริการที่ตอบสนองต่อสถานการณ์โควิด 19 ระดับดีเด่น
  4. รางวัลสาขาบริการภาครัฐ ประเภทรางวัลยกระดับการอำนวยความสะดวกในการให้บริการ ระดับดีเด่น
  5. รางวัลสาขาการบริหารราชการแบบมีส่วนร่วม ประเภทรางวัลสัมฤทธิ์ผลประชาชนมีส่วนร่วม ระดับดีเด่นและเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2565 ณ ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล นายสัตวแพทย์ สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ขึ้นรับรางวัลประกาศเกียรติคุณ ด้านปลอดความรับผิดทางละเมิด ระดับดีเลิศ และรางวัลองค์กรที่มีความเป็นเลิศในการบริหารจัดการด้านการเงินการคลังจากพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี

ภายใต้การบริหารงานโดยอธิบดีกรมปศุสัตว์คนปัจจุบัน นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต วางนโยบายการขับเคลื่อนงานนโยบายกรมปศุสัตว์ ปีงบประมาณ 2564-2565 ผลงานสำคัญๆ ดังนี้

1. ด้านการบริหารจัดการ
สนับสนุนให้เกิดงานวิจัยที่สามารถนำมาปฏิบัติได้จริง ไม่ว่าจะเป็นด้านการพัฒนาพันธุ์สัตว์ การเพิ่มผลผลิตด้านปศุสัตว์ การพัฒนาวัคซีน การสร้างสถานภาพปลอดโรค รวมทั้งยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยทางอาหาร

2. ด้านการผลิต สนับสนุน และส่งเสริม
กรมปศุสัตว์เตรียมเปิดเขตพื้นที่ควบคุมพิเศษ เพื่อส่งเสริมการผลิต นำเข้า ส่งออกโคมีชีวิตและเนื้อโคตามแนวทางปศุสัตว์ sandbox ในจังหวัดแนวชายแดน อีกทั้งเร่งผลักดันโครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตโคเนื้อด้วยเทคโนโลยีชีวภาพ ซึ่งมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างพ่อพันธุ์และแม่พันธุ์แท้ชั้นเยี่ยมจากการย้ายฝากตัวอ่อนให้กับเกษตรกรเพื่อเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับเกษตรกรอีกช่องทาง

3. ด้านมาตรฐานและความปลอดภัยทางอาหาร
กรมปศุสัตว์เร่งดำเนินโครงการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมฮาลาลปศุสัตว์ เพื่อผู้บริโภคภายในประเทศและนักท่องเที่ยว รวมทั้งขยายการส่งออกผลิตภัณฑ์ฮาลาลไปต่างประเทศ

4. ด้านสุขภาพสัตว์
กรมปศุสัตว์อยู่ระหว่างดำเนินการขอคืนสถานภาพปลอดโรคกาฬโรคในม้าจากองค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) และคาดว่าจะได้การรับรองภายในปี 2566 ทำให้ลดผลกระทบและความสูญเสียจากโรคดังกล่าว อุตสาหกรรมม้าของประเทศกลับเข้าสู่ภาวะปกติ และสามารถจัดการแข่งขันกีฬาขี่ม้าในระดับนานาชาติได้ ซึ่งสร้างมูลค่ามหาศาลให้กับประเทศไทยนอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ มีความคืบหน้าในการผลิตวัคซีนโรคลัมปี สกิน ในโค-กระบือสำหรับใช้ป้องกันและควบคุมโรค โดยหน่วยพัฒนาวัคซีนของกรมปศุสัตว์ ที่ให้ผลการการทดลองประสิทธิภาพเบื้องต้นมีความคุ้มโรคเทียบเท่าวัคซีนจากต่างประเทศ คาดว่าวัคซีนชุดแรกแล้วเสร็จช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2565 ในราคาต้นทุนโด๊สละ 9 บาท ซึ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการป้องกันโรคให้แก่เกษตรกร และเป็นการสร้างความมั่นคงทางวัคซีนของไทย

นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์มีทิศทางขับเคลื่อนกรมปศุสัตว์ในปี 2565 สู่กรมปศุสัตว์ปีที่ 80 โดยดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลที่นำพาประชาชน และเศรษฐกิจไปสู่ ความมั่นคง มั่งคั่ง และ ยั่งยืน ส่งเสริมสนับสนุนงานวิจัยที่สามารถนำมาปฏิบัติได้จริง ทั้งด้านพัฒนาพันธุ์สัตว์ อาหารสัตว์ วัคซีน การสร้างสถานภาพปลอดโรค รวมทั้งยกระดับมาตรฐานความปลอดภัยทางอาหาร และการเปิดเขตพื้นที่ควบคุมพิเศษเพื่อส่งเสริมการผลิต นำเข้าส่งออกตามแนวทางปศุสัตว์ Sand box และอีกภารกิจหนึ่งที่สำคัญของกรมปศุสัตว์ ได้แก่ โครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ ซึ่งเป็นการสนองงานตามพระราชดำริในด้านปศุสัตว์ เพื่อเป็นการให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรสร้างอาชีพ ตลอดจนขยายโอกาสให้กับเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร รวมทั้งแก้ไขปัญหาการปลูกฝิ่นในพื้นที่สูง และรักษาป่าต้นน้ำ อาทิ โครงการธนาคารโค-กระบือ เพื่อเกษตรกรตามพระราชดำริ โครงการกองทุนพัฒนาเด็กและเยาวชนในถิ่นทุรกันดาร และโครงการเกษตรทฤษฎีใหม่ด้านปศุสัตว์ เป็นต้น ซึ่งเป็นการพัฒนาอาชีพให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์อย่างยั่งยืนสืบสานตามพระราชปณิธานของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร ตลอดจนพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ที่ทรงดำเนินตามรอยเบื้องพระยุคลบาท ในการปฏิบัติพระราชกรณียกิจการพัฒนาด้านต่างๆผ่านโครงการขับเคลื่อนงานด้านปศุสัตว์จากการที่ได้ดำเนินงานที่มุ่งมั่น ปฏิบัติราชการจนประสบความสำเร็จ เป็นความภาคภูมิใจและเป็นแรงผลักดันในการดำเนินงานเคียงข้างเกษตรกร พัฒนางานปศุสัตว์ พัฒนาบุคลากรให้มีศักยภาพ และขับเคลื่อนการปศุสัตว์ไทย ไปสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืนต่อไป

ข้อมูล : คณะทำงานโฆษก กรมปศุสัตว์ รายละเอียด


รายละเอียดที่เกี่ยวข้อง

- กรมปศุสัตว์จัดแถลงข่าวเนื่องในโอกาสวันสถาปนากรมปศุสัตว์ครบรอบ 80 ปี วันที่ 5 พฤษภาคม 2565
https://dld.go.th/th/index.php/th/newsflash/director-news/24846-8-80

- กรมปศุสัตว์จัดงานวันสถาปนากรมฯครบรอบ 80 ปี  5 พฤษภาคม 2565  ภายใต้หัวข้อ “ย้อนรำลึก 8 ทศวรรษ 80 ปี วิถีชาวปศุสัตว์สู่การพัฒนาประเทศ สืบสานงานตามพระราชปณิธานตามรอยพ่อของแผ่นดิน ”
https://dld.go.th/th/index.php/th/newsflash/director-news/24879-80-5-2565-8-80

- สารพลเอก ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี เนื่องในวันสถาปนากรมปศุสัตว์ ครบรอบ 80 ปี
https://dld.go.th/th/index.php/th/newsflash/354-hotnews-cat/24884-hotnews-25650505-2

- สารนายเฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื่องในโอกาสวันสถาปนากรมปศุสัตว์ครบรอบ 80 ปี
https://dld.go.th/th/index.php/th/newsflash/354-hotnews-cat/24885-hotnews-25650505-3

- สารนายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื่องในโอกาสวันสถาปนากรมปศุสัตว์ครบรอบ 80 ปี
https://dld.go.th/th/index.php/th/newsflash/354-hotnews-cat/24886-hotnews-25650505-4

- สารนายทองเปลว กองจันทร์ ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เนื่องในโอกาสวันสถาปนากรมปศุสัตว์ครบรอบ 80 ปี
https://dld.go.th/th/index.php/th/newsflash/354-hotnews-cat/24887-hotnews-25650505-5


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline