25611029 1

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า จากข้อมูลตั้งแต่วันที่ 3 สิงหาคม ถึง 23 ตุลาคม 2561 มีรายงานเกิดโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในสาธารณรัฐประชาชนจีนสะสมจำนวน 46 ครั้ง ใน 30 เมือง 11 มณฑล และ 1 เขตปกครองพิเศษ และเมื่อวันที่ 21 ตุลาคม 2561 มีรายงานการเกิดโรคที่มณฑลยูนนาน ทำให้ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และประเทศไทยมีความเสี่ยงของโรคเพิ่มขึ้น กรมปศุสัตว์จึงได้เข้มงวดป้องกันโรคเข้าประเทศรวมทั้งเตรียมความพร้อมรับมืออย่างเต็มที่

โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่ติดต่อร้ายแรงในสัตว์ตระกูลสุกรซึ่งมีหมูป่าเป็นแหล่งรังโรคและมีเห็บอ่อนเป็นพาหะนำโรค โดยโรคนี้เป็นโรคสัตว์แปลกถิ่นสำหรับประเทศไทยและภูมิภาคตะวันออกเฉียงใต้ ถึงแม้ว่าโรคนี้จะไม่ใช่โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน แต่ก็ถือว่าเป็นโรคที่สามารถส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจและอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรสูง เนื่องจากหากมีการระบาดของโรคนี้ในประเทศแล้วจะกำจัดโรคได้ยาก เพราะในปัจจุบันนี้ยังไม่มีวัคซีนในการป้องกันโรค และไม่สามารถรักษาได้ ในขณะที่เชื้อไวรัสที่ก่อโรคมีความทนทานต่อสิ่งแวดล้อมสูงและสามารถปนเปื้อนอยู่ในผลิตภัณฑ์อาหาร เช่น ไส้กรอก แฮม เนื้อสุกรและซาลามีได้ สุกรที่หายป่วยแล้วจะเป็นสามารถแพร่โรคได้ตลอดชีวิตและยิ่งกว่านั้นโรคนี้เป็นโรคที่มีความความรุนแรงมาก โดยทำให้สุกรที่ติดเชื้อมีอัตราป่วยและตายเกือบ 100 เปอร์เซ็นต์

อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเป็นโรคตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ (เพิ่มเติม) พ.ศ. 2558 กรมปศุสัตว์ได้ยกระดับการป้องกันโรคเข้าประเทศด้วยเข้มควบคุมเคลื่อนย้ายสุกรและซากสุกรโดยติดตามสถานการณ์โรคในต่างประเทศ ชะลอการนำเข้าสุกรและผลิตภัณฑ์สุกรจากประเทศที่มีการระบาด รวมถึงการตรวจเข้มการลักลอบเคลื่อนย้ายสุกรและซากสุกรในทุกช่องทาง ที่ผ่านมามีการตรวจพบการลักลอบนำเข้าผลิตภัณฑ์สุกรโดยนักท่องเที่ยวในหลายครั้ง เช่น ไส้กรอก เนื้อสุกร ขาหมูรมควัน ส่วนวัตถุดิบอาหารสัตว์ได้มีแผนเพิ่มเติมด้วยการสุ่มตรวจหาสารพันธุกรรมของเชื้อไวรัส สำหรับช่องชายแดนได้เพิ่มจุดทำลายเชื้อโรคเพื่อลดการปนเปื้อนเชื้อไวรัส ซึ่งขณะนี้ยืนยันว่ายังไม่มีการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในประเทศไทย

อย่างไรก็ตามกรมปศุสัตว์ได้เตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกรณีเกิดโรคดังกล่าวโดยมีการประชุมหารือกับนักวิชาการ ผู้แทนเกษตรกร ผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนเพื่อจัดทำแผนเผชิญเหตุและแนวปฏิบัติของฟาร์มเพื่อรับมือโรคนี้ ขณะนี้ห้องปฏิบัติการของกรมปศุสัตว์และเครือข่ายห้องปฏิบัติการสามารถตรวจวินิจฉัยโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรได้ ซึ่งสิ่งสำคัญในการป้องกันการเสียหายจากมหันตภัยของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรของเกษตรกรคือ การป้องกันโรค เพราะหากมีโรคเข้าฟาร์มแล้ว เกษตรกรจะสูญเสียการผลิตสุกรทั้งหมด ทั้งนี้ พื้นฐานการป้องกันโรคเป็นไปตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 ซึ่งเกษตรกรรายย่อยควรยกระดับเป็นฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (GFM) ส่วนฟาร์มที่มีขนาดใหญ่ให้ผลักดันเป็นฟาร์มที่มีการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) โดยให้เกษตรกรขึ้นทะเบียนเกษตรกรที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอที่ฟาร์มตั้งอยู่โดยไม่มีค่าใช้จ่ายใดๆ เพื่อความทั่วถึงในการดูแลจากภาครัฐ เกษตรกรต้องดูแลสุขภาพสุกรให้มีสุขภาพดี หากนำสุกรเข้าเลี้ยงใหม่ให้ตรวจสอบแหล่งที่มาที่มั่นใจว่าไม่มีโรคระบาด และแยกเลี้ยงสุกรก่อนนำเข้ามาเลี้ยงรวมกับสุกรที่เลี้ยงอยู่เดิมอย่างน้อย 14 วัน เพื่อสังเกตสุขภาพ ร่วมกับการจัดการป้องกันโรค ได้แก่ มีสถานที่สำหรับขายสุกรภายนอกฟาร์ม ไม่ให้บุคคลหรือยานพาหนะที่อาจสัมผัสกับสุกรป่วย ได้แก่ การขนสุกรเข้าโรงฆ่า เข้าภายในฟาร์มโดยเด็ดขาด สำหรับบุคคลและยานพาหนะอื่นๆภายนอกฟาร์มไม่ควรให้เข้าฟาร์มเช่นกัน ซึ่งถ้ามีความจำเป็นต้องเข้าฟาร์มให้มีการล้างทำความสะอาดและทำลายเชื้อโรคก่อน โดยจัดให้ใช้รองเท้าที่ใช้ในฟาร์มเท่านั้น เจ้าของหรือคนเลี้ยงไม่ไปฟาร์มสุกรหรือโรงฆ่า ถ้าจำเป็นให้รีบอาบน้ำทำความสะอาดและไม่เข้าฟาร์มหรือสถานที่เลี้ยงสุกรเป็นเวลาอย่างน้อย 5 วัน และไม่นำอาหารที่ผลิตจากสุกรหรือเนื้อสุกรเข้ามาในฟาร์ม สำหรับรายย่อยที่ใช้เศษอาหารเลี้ยงสุกร ไม่ควรใช้เศษอาหารที่เป็นผลิตภัณฑ์จากสุกรและต้มให้เดือดนานอย่างน้อย 30 นาที

ท้ายที่สุดนี้ อธิบดีกรมปศุสัตว์ขอความร่วมมือเกษตรกรให้สังเกตอาการสุกรอย่างใกล้ชิด หากพบสุกรแสดงอาการป่วย เช่น มีไข้สูง เบื่ออาหาร ท้องเสีย ผิวหนังเป็นปื้นแดง และมีจำนวนสุกรตายผิดปกติให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที หรือ call center 063-225-6888 หรือที่แอปพลิเคชัน DLD 4.0 “แจ้งการเกิดโรคระบาด” เพื่อจะได้เร่งดำเนินการช่วยเหลือต่อไป

------------------------------------------

ที่มาของข้อมูุล : ข่าวปศุสัตว์
ข้อมูล : สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline