25611116 1

กรมปศุสัตว์ร่วมกับองค์การโรคระบาดสัตว์ระหว่างประเทศ (OIE) และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จัดงาน “ภาคปศุสัตว์ร่วมใจ ใส่ใจการใช้ยาปฏิชีวนะ” “Livestock stakeholders handle antibiotics with care” โดยมี นายสัตวแพทย์ สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานเปิดงาน พร้อมมอบใบประกาศนียบัตร “การเลี้ยงสัตว์ปลอดการ ใช้ยาปฏิชีวนะ” และมีการกล่าวถ้อยแถลงของไตรภาคี (OIE/FAO/WHO) ในวันที่ 16 พฤศจิกายน 2561 เวลา 09.00 น. ณ โรงแรมพูลแมน บางกอก คิงเพาเวอร์ กรุงเทพฯ

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า การใช้ยาต้านจุลชีพ หรือที่เรียกกันโดยทั่วไปว่า “ยาปฏิชีวนะ” เป็นยาที่มีความจำเป็นในการรักษาโรค ทั้งในมนุษย์และสัตว์ หากมีการใช้อย่างไม่ถูกต้อง มากเกินความจำเป็น ก็จะก่อให้เกิดปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพ (Antimicrobial resistance) ได้ ซึ่งการดื้อยาต้านจุลชีพ กำลังเป็นประเด็นที่สำคัญด้านการสาธารณสุข และเป็นปัญหามีความเกี่ยวเนื่องกันทั้งคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ประเทศไทย ได้ให้ความสำคัญในการจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพและได้มีแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560 - 2564 โดยภาคปศุสัตว์มีเป้าหมายที่สำคัญ คือลดการใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์ลง 30% ภายในปี พ.ศ. 2564 และที่ผ่านมากรมปศุสัตว์ได้มีการดำเนินการกำกับดูแลให้มีการใช้ยาอย่างถูกต้องมาโดยตลอด โดยล่าสุดได้มีการออกกฎหมายว่าด้วยอาหารสัตว์ที่ผสมยา (Medicated Feed) ซึ่งการใช้ยาปฏิชีวนะจะต้องมีการสั่งใช้ยาโดยสัตวแพทย์ นอกจากนี้ ยังมีการส่งเสริมให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ลดการใช้ยาปฏิชีวนะ จนถึงมีการลงนามในโครงการพิเศษ “การเลี้ยงสัตว์ปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะ” (Raised Without Antibiotics; RWA) เมื่อวันที่ 30 เมษายน 2561 ที่ผ่านมา

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในช่วงระหว่างวันที่ 12 - 18 พฤศจิกายน 2561 ทั่วโลกจะมีการจัดงาน “สัปดาห์การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างตระหนักรู้ (World Antibiotics Awareness Week; WAAW)” เพื่อเป็นการรณรงค์ให้ทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาปฏิชีวนะให้มีการใช้ยาอย่างตระหนักรู้ ใช้อย่างถูกต้องเหมาะสม ดังนั้น กรมปศุสัตว์จึงได้ร่วมกับองค์การระหว่างประเทศที่เป็นไตรภาคี (Tripartite) ได้แก่ FAO OIE WHO และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง จัดงาน “ภาคปศุสัตว์ร่วมใจ ใส่ใจการใช้ยาปฏิชีวนะ”“Livestock stakeholders handle antibiotics with care” ซึ่งมีการมอบประกาศนียบัตรให้กับเกษตรกรที่ผ่านการรับรองโครงการเลี้ยงสัตว์ปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะ และให้องค์กรระหว่างประเทศร่วมบรรยายและภาคส่วนที่เกี่ยวข้องร่วมเสวนาถึงทิศทางการจัดการดื้อยา และการใช้ยาปฏิชีวนะ เพื่อสร้างความตระหนักรู้ในการใช้ ยาปฏิชีวนะ โดยให้มีการใช้เฉพาะที่จำเป็นต้องใช้ ทำให้สามารถลดปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพลงได้ ซึ่งจะส่งผลให้ผลิตภัณฑ์จากสัตว์ มีความปลอดภัย เป็นที่ยอมรับทั้งผู้บริโภคภายในประเทศและต่างประเทศด้วย

************************************************

ข้อมูล/ข่าว : สพ.ญ. จุฬาพร ศรีหนา กองควบคุมอาหารและยาสัตว์
รายละเอียด  : ข่าวปศุสัตว์ (ภาษาไทย) | ข่าวปศุสัตว์ (ภาษาอังกฤษ))

ลิงค์ Video https://youtu.be/HphsE1viYKI


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline