วันที่28 มิถุนายน 2562 เวลา 15.00 น.นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต พร้อมคณะผู้บริหารกรมปศุสัตว์ชี้แจงประเด็น เรื่องสถานการณ์โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรปัจจุบันยังไม่พบโรคในประเทศไทย กรมปศุสัตว์มีภารกิจหลักในการดูแลเรื่องสุขภาพสัตว์และผลผลิตด้านปศุสัตว์ของประเทศไทย เพื่อให้ได้ผลผลิตด้านการปศุสัตว์ที่เพียงพอ มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภค รวมทั้งสร้างรายได้และโอกาสทางธุรกิจให้แก่เกษตรกร ผู้ประกอบการในการส่งออกไปยังต่างประเทศ จึงได้กำหนดมาตรการป้องกันโรค ASF ในสุกร เพื่อป้องกันการระบาดเข้าสู่ประเทศไทย
เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรควรดำเนินการเพื่อการป้องกันควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ดังนี้
- ใช้อาหารสัตว์จากแหล่งที่มีมาตรฐานเชื่อถือได้
- อาหารสำหรับพนักงานหรือคนเลี้ยงสุกรต้องใช้เนื้อจากแหล่งที่ไม่เสี่ยงมาทำอาหารในฟาร์ม
- ต้องมีรั้วรอบฟาร์มและโปรแกรมการกำจัดสัตว์พาหะ
- บุคคลที่จะเข้าฟาร์มต้องอาบน้ำเปลี่ยนชุดก่อนเข้าฟาร์ม
- จัดให้มีตู้ UV เพื่อฆ่าเชื้ออุปกรณ์ก่อนนำเข้าฟาร์ม
- ยานพาหนะทุกคันต้องผ่านการฆ่าเชื้อก่อนเข้าฟาร์ม
- จัดให้มีเล้าขายหมูอยู่นอกบริเวณที่มีการเลี้ยงสุกร
- มีเล้ากักหมูทดแทนอยู่นอกฟาร์มก่อนย้ายเข้าฝูง
- น้ำสำหรับใช้ในฟาร์มให้ใช้น้ำบาดาลและมีระบบบำบัดน้ำด้วยคลอรีนก่อนนำไปใช้
- มีบ่อทิ้งซากหรือระบบย่อยสลายซาก
- ลักษณะอาการแสดงของโรค ดังนี้ ตายเฉียบพลัน มีไข้สูง นอนสุมกัน ผิวหนังแดง มีจุดเลือดออกหรือรอยช้ำโดยเฉพาะใบหู ท้อง ขาหลัง มีอาการทางระบบอื่น เช่น ทางเดินหายใน ทางเดินอาหาร การแท้งในทุกช่วงอายุของการตั้งท้อง
- ถ้าเกษตรกรพบสุกรมีอาการของโรค แจ้ง
- สำนักงานปศุสัตว์อำเภอทุกอำเภอทั่วประเทศ
- สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทุกจังหวัดทั่วประเทศ
- สายด่วนกรมปศุสัตว์ 063-255-6888
- application DLD 4.0
หน่วยงานที่ร่วมประสานความร่วมมือในการควบคุมป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ประกอบ ด้วย
- ทหาร ตำรวจ หน่วยงานปกครอง ร่วมเฝ้าระวังและบังคับใช้กฎหมายการลักลอบเคลื่อนย้ายสัตว์
- กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ร่วมเฝ้าระวังในหมูป่า
- การท่าอากาศยานแห่งประเทศไทย ร่วมเฝ้าระวังที่ท่าอากาศยานต่างๆ
- กรมศุลกากร ตรวจคนเข้าเมือง ร่วมเฝ้าระวังการลักลอบนำผลิตภัณฑ์เข้ามาในประเทศไทย
- กระทรวงสาธารณสุข ร่วมเฝ้าระวังโดยใช้เครือข่าย อสม.
- การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมในการประชาสัมพันธ์ให้นักท่องเที่ยวทราบถึงมาตรการของประเทศไทย
- สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ร่วมประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่สมาชิก รวมทั้งสนับสนุนงบประมาณในการจัดสร้างโรงพ่นยาทำลายเชื้อโรคบริเวณชายแดน
- สถาบันการศึกษา ร่วมในการเป็นเครือข่ายการตรวจวินิจฉัยโรค
- ภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องในธุรกิจการผลิตสุกร ร่วมในการช่วยประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่เกษตรกร
- องค์กรวิชาชีพที่เกี่ยวข้อง ร่วมในการจัดสัมมนา
ทั้งนี้เพื่อสร้างความเชื่อมั่นด้านภาคการผลิตด้านปศุสัตว์ของไทยให้ได้ผลผลิตด้านปศุสัตว์ที่มีคุณภาพและปลอดภัยต่อผู้บริโภครวมทั้งสร้างรายได้และโอกาสทางธุรกิจให้แก่เกษตรกรและเป็นการป้องกันและควบคุมโรคอย่างมีประสิทธิภาพและเพื่อป้องกันการเกิดโรคระบาดอหิวาต์แอฟริกาในสุกรไม่ให้ระบาดเข้าสู่ประเทศไทยได้ ณ สถานีโทรทัศน์ ช่อง NBT
ที่มาของข้อมูล : คณะทำงานโฆษกกรมปศุสัตว์