25630203 1

วันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2563 เวลา 9.30 น. นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานการประชุมแผนการรับมือเกี่ยวกับโรคที่มีค้างคาวเป็นพาหะในปศุสัตว์ พร้อมด้วยนายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ นายสัตวแพทย์ชัยวัฒน์ โยธคล รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ ผู้เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการกองสารวัตรและกักกัน เจ้าหน้าที่จากสำนัก ควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ สถาบันสุขภาพแห่งชาติ และด่านกักกันสัตว์สุวรรณภูมิ

สืบเนื่องจากมีการระบาดของเชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน เชื้อนี้อาจมีค้างคาวเป็นแหล่งรังโรค มีลักษณะทางพันธุกรรมที่คล้ายคลึงกับเชื้อไวรัสโคโรนาที่พบในค้างคาว 96 % ซึ่ง สถานการณ์ปัจจุบันพบผู้ป่วยโรคนี้เพิ่มมากขึ้น และพบการติดต่อจากคนสู่คนในประเทศไทย 1 ราย ประเทศไทยมีการเตรียมความพร้อมและดำเนินการในการป้องกัน ควบคุมและแก้ไขสถานการณ์โรคติดต่ออุบัติใหม่ให้มีประสิทธิภาพ จึงได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรีที่ 23/2563 เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ ลงวันที่ 28 มกราคม 2563 มีรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน และอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นกรรมการและเลขานุการร่วมในคณะกรรมการอำนวยการเตรียมความ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติ นั้น

กรมปศุสัตว์ได้มีการดำเนินการที่เกี่ยวข้องกับโรคที่เกี่ยวข้องกับโรคปอดอักเสบจาก เชื้อไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ดังนี้

  1. ดำเนินการเฝ้าระวังโรคที่เกิดจากค้างคาวโดยเริ่มตั้งแต่มีการระบาดของโรคไข้สมองอักเสบนิปาห์ในประเทศมาเลเซียในปี 2541 โดยทำการเก็บตัวอย่างสุกร อย่างต่อเนื่องทุกปี เน้นในพื้นที่เสี่ยง ไม่พบผลบวกนิปาห์ไวรัส และไม่พบเชื้อไวรัส MERS
  2. กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินโครงการวิจัยในค้างคาว คน และปศุสัตว์ ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และคณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โดยได้รับงบประมาณสนับสนุนจาก USAID/FAO โดยดำ เนินการ ตั้งแต่ปี 2558 –2562 ทำการสำรวจหาหลักฐานการติดเชื้อไวรัสที่มีค้างคาวเป็นพาหะ ในพื้นที่จังหวัดฉะเชิงเทรา ชลบุรี และราชบุรี โดยเก็บตัวอย่างซีรัม, Nasal swab, Rectal swab, และ Urine swab ในสุกร 2,067 ตัว โค 200 ตัว และสัตว์เลี้ยง (สุนัขและแมว) 238 ตัว ส่งตรวจ PCR ที่สถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ผลการตรวจวิเคราะห์พบไวรัสเดิมที่อยู่ในสัตว์นั้นอยู่แล้ว ไม่ได้พบไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 ในตัวอย่างดังกล่าว
  3. กรมปศุสัตว์ได้พัฒนาระบบสารสนเทศแอปพลิเคชันบนมือถือ อี สมาร์ทพลัส (E-SmartPlus) เพื่อเฝ้าระวังโรคและสามารถวิเคราะห์ความเสี่ยงของฟาร์มต่อโรคที่มีค้างคาวเป็นแหล่งพาหะที่สำคัญ
  4. การศึกษาทางระบาดวิทยาและพัฒนานวัตกรรม ในการวิเคราะห์พื้นที่เสี่ยงโรค ศึกษาความรู้และทัศนคติของเกษตรกร และศึกษารูปแบบการระบาดและความรุนแรงของโรค

ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ได้มีการเฝ้าระวังโรคที่มีค้างคาวเป็นพาหะในปศุสัตว์อย่างต่อเนื่อง ให้ความรู้เกี่ยวกับโรคที่มีค้างคาวเป็นพาหะ ให้คำแนะนำแก่เกษตรกรให้มีการปรับปรุงฟาร์ม พัฒนาศักยภาพห้องปฏิบัติการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าง และจัดทำแผนการเตรียมความพร้อมรับมือโรคที่มีค้างคาวเป็นพาหะในปศุสัตว์ เพิ่มเข้าไปกับแผนรับมือโรคไข้สมองอักเสบนิปาห์ที่มีอยู่เดิม เพื่อร่วมเฝ้าระวังและป้องกันโรคติดต่ออุบัติใหม่แห่งชาติต่อไป

ณ ห้องประชุม 1 ตึกอำนวยการ กรมปศุสัตว์  อ่านรายละเอียด

ที่มาของข้อมูล : สำนักงานเลขานุการกรม


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline