25630818 1

นายสรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า เนื่องจากพบมีการระบาดของโรคเฮโมรายิกเซปทิซีเมียในพื้นที่หลายจังหวัด ได้แก่ มหาสารคาม ขอนแก่น อุดรธานี แพร่ เชียงราย เลย และอุบลราชธานี ทำให้เกษตรกรได้รับความเสียหายเนื่องจากมีสัตว์ป่วยตายจำนวนมาก โดยเฉพาะกระบือ ประกอบกับสภาพอากาศที่มีความเหมาะสมต่อการแพร่ระบาดของโรค ดังนั้นกรมปศุสัตว์จึงกำหนดให้มีการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคเฮโมรายิกเซปทิซีเมียรอบที่1/2564 เร็วขึ้น โดยเน้นการฉีดวัคซีนในพื้นที่การเลี้ยงสัตว์ที่มีความเสี่ยงก่อน ได้แก่ พื้นที่ที่มีการเลี้ยงกระบือหนาแน่น พื้นที่เลี้ยงสัตว์ใกล้ตลาดนัดค้าสัตว์ เป็นต้น จึงขอให้เกษตรกรให้ความร่วมมือในการฉีดวัคซีนป้องกันโรค เฮโมรายิกเซปทิซีเมีย เพื่อให้สัตว์มีภูมิคุ้มกันที่สามารถป้องกันการเกิดโรคได้ ลดความสูญเสียแก่เกษตร

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคเฮโมรายิกเซปทิซีเมียหรือโรคคอบวม เป็นโรคที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียที่ก่อความรุนแรงในกระบือ ส่วนสัตว์ชนิดอื่นสามารถพบการเกิดโรคได้ ได้แก่ โค แกะ หมู ม้า อูฐ กวาง และช้าง เป็นต้น แต่ความรุนแรงของโรคจะลดลง เชื้อชนิดนี้สามารถอยู่ในระบบทางเดินหายใจสัตว์ปกติได้โดยที่ไม่แสดงอาการป่วยแต่เมื่ออยู่ในภาวะเครียด เช่น อากาศเปลี่ยนแปลง ขาดอาหาร การจัดการการเลี้ยงไม่ดี การใช้แรงงานมากเกินไปหรือการเคลื่อนย้ายสัตว์จนร่างกายอ่อนแอ เป็นต้น ในสภาวะเช่นนี้สัตว์ที่เป็นตัวพาหะจะปล่อยเชื้อออกมาปนเปื้อนกับอาหารและน้ำ เมื่อสัตว์ตัวอื่นกินอาหารหรือน้ำที่มีเชื้อปนเปื้อนเข้าไป ก็จะป่วยเป็นโรคนี้และขับเชื้อออกมากับสิ่งขับถ่ายต่าง ๆ เช่น น้ำมูก น้ำลาย อุจจาระ ทำให้โรคเกิดการแพร่ระบาดต่อไป สัตว์ที่ป่วยเป็นโรคที่แสดงอาการแบบเฉียบพลันจะมีอาการซึม ไข้สูง น้ำลายไหล และตายภายในเวลาอันรวดเร็วไม่เกิน 24 ชั่วโมง แต่ถ้าเป็นแบบเรื้อรังจะสังเกตเห็นอาการทางระบบหายใจคือ อ้าปากหายใจ หายใจหอบลึก ยืดคอไปข้างหน้า หายใจมีเสียงดัง ลิ้นบวมจุกปาก หน้า คอ หรือบริเวณหน้าอกจะบวมแข็งร้อน ต่อมาจะมีอาการเสียดท้อง ท้องอืด อุจจาระมีมูกเลือดปน สัตว์จะตายภายใน 2-3 วัน อย่างไรก็ตามโรคนี้ไม่เป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน และโรคนี้สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนให้กับสัตว์ที่มีอายุตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไปปีละ 1 ครั้ง โดยกรมปศุสัตว์สนับสนุนวัคซีนสำหรับป้องกันโรคให้กับกระบือทุกตัว รวมทั้งโคที่อยู่ในพื้นที่เสี่ยง ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันการเกิดโรคกรมปศุสัตว์จึงขอความร่วมมือเกษตรกรให้สัตว์ได้รับการฉีดวัคซีน โดยสามารถติดต่อเพื่อขอรับบริการฉีดวัคซีนป้องกันโรคได้ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดหรือสำนักงานปศุสัตว์อำเภอในพื้นที่

ท้ายนี้กรมปศุสัตว์ ขอความร่วมมือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ โดยเฉพาะผู้เลี้ยงกระบือ ให้ดูแลสัตว์ของตนเองให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และป้องกันสัตว์ของตนเองไม่ให้สัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะนำเชื้อโรคเข้าฟาร์ม ได้แก่ คน ยานพาหนะต่างๆ สัตว์ที่นำเข้ามาเลี้ยงใหม่ เป็นต้น ประกอบกับหมั่นสังเกตอาการของสัตว์อย่างสม่ำเสมอ หากพบสัตว์แสดงอาการป่วยข้างต้น ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ อาสาปศุสัตว์ อาสาสมัครสาธารณสุข กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน องค์การบริหารงานส่วนตำบล (อบต.) ในพื้นที่ หรือโทรแจ้งสายด่วนของกรมปศุสัตว์ที่เบอร์ 063-225-6888 เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรได้ทันท่วงที ทั้งนี้หากเกษตรกรให้ความร่วมมือในการให้สัตว์ได้รับการฉีดวัคซีน และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในการป้องกันการเกิดโรค สัตว์ของท่านก็จะปลอดจากโรคดังกล่าวได้ อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวในที่สุด

----------------------------------------------

ข้อมูล/ข่าว : สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline