pic01

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยถึงกรณีที่มีการระบาดของโรค PRRS ซึ่งเป็นโรคหรือกลุ่มอาการในระบบสืบพันธุ์และระบบทางเดินหายใจเฉพาะในสุกรว่า ที่ผ่านมาได้สั่งการให้หน่วยงานของ กรมปศุสัตว์ โดยปศุสัตว์จังหวัด ปศุสัตว์อำเภอ และชุดเฉพาะกิจกรมปศุสัตว์ ในทุกพื้นที่ของไทย ติดตามสถานการณ์โรคในสัตว์อย่างใกล้ชิด พร้อมดำเนินมาตรการเฝ้าระวัง ป้องกันและควบคุมโรคอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งมีการสุ่มตรวจตามพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูง โดยเฉพาะตามแนวชายแดนทั่วประเทศ ขณะเดียวกันเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกร ต่างตื่นตัวในการดูแลสุขภาพสัตว์และการป้องกันโรคสัตว์มาโดยตลอด เมื่อพบความผิดปกติที่เกิดขึ้นในฟาร์มเลี้ยง จึงเร่งประสานเจ้าหน้าที่ในพื้นที่เข้าตรวจสอบอย่างเร่งด่วน ทำให้การป้องกันโรคเกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว จนสามารถควบคุมสถานการณ์ของโรคได้เป็นอย่างดี

“ขอยืนยันว่าโรค PRRS เป็นโรคที่เกิดขึ้นเฉพาะในหมู ไม่สามารถแพร่สู่คนได้ และกรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการควบคุมและป้องกันโรคในพื้นที่ที่ตรวจพบ ที่สำคัญผู้บริโภคสามารถรับประทานเนื้อหมูได้อย่างปลอดภัย เน้นการเลือกซื้อจากผู้ผลิตที่มีมาตรฐาน สังเกตสัญลักษณ์ "ปศุสัตว์ OK" ที่กรมปศุสัตว์มอบให้กับจุดจำหน่ายสินค้าปศุสัตว์กว่า 7,000 แห่ง ซึ่งสามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงแหล่งที่มา ตั้งแต่ต้นทางที่ฟาร์มเลี้ยงจนถึงมือผู้บริโภค สำคัญที่สุดคือการปรุงสุกทุกครั้ง ไม่ทานดิบ หรือสุกๆดิบๆ เพื่อสุขอนามัยที่ดี ลดความเสี่ยงทั้งเรื่องอาหารเป็นพิษ ท้องร่วง หรือไข้หูดับ" อธิบดี กรมปศุสัตว์ กล่าว

ทั้งนี้ ตามพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2558 กำหนดไว้ว่า หากกรณีที่เกิดโรคระบาดในสัตว์ จะต้องให้เกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์เร่งแจ้งต่อเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์แต่ละจังหวัด เพื่อให้เข้าไปตรวจสอบรายละเอียดเกี่ยวกับโรคระบาด โดยกรมปศุสัตว์จะส่งเจ้าหน้าที่เข้าตรวจสอบและส่งตัวอย่างซากสัตว์มาทำการชันสูตรโรคสัตว์ทางห้องปฏิบัติการ ในห้องปฏิบัติการ 8 แห่งทั่วประเทศ ว่าโรคที่เกิดขึ้นมาจากสาเหตุใด โดยใช้เวลาไม่เกิน 5 วัน ในการสรุปผลตรวจ สำหรับผู้ที่พบปัญหาด้านโรคสัตว์และสินค้าปศุสัตว์ สามารถติดต่อกับกรมปศุสัตว์ตลอด 24 ชั่วโมง ผ่านแอพลิเคชัน "DLD 4.0" เพื่อให้เจ้าหน้าที่ดำเนินการอย่างทันท่วงที./

ข่าว/ข้อมูล : คณะทำงานโฆษกกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (12 พฤศจิกายน 2563) ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline