pic01

อธิบดีกรมปศุสัตว์“ยืนยันหมูไทยปลอดภัย” แจงส่งออกหมูไปเวียดนามตามข้อกำหนด ผลตรวจโรค ASF ก่อนการส่งออกไม่พบเชื้อ สั่งเข้มยกระดับมาตรการตรวจสอบที่ด่านท่าออกเข้มงวดขึ้น

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่าจากกรณีที่กระทรวงเกษตรและพัฒนาชนบทเวียดนาม ได้ส่งจดหมายถึงสถานเอกอัครราชฑูตไทยในกรุงฮานอย แจ้งว่าเวียดนามจะห้ามนำเข้าสุกรขุนมีชีวิตจากประเทศไทย มีผลวันที่ 30 มิถุนายน 2564 เป็นต้นไป สาเหตุสืบเนื่องจากตรวจพบเชื้อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรนั้น ในประเด็นดังกล่าว กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการตรวจสอบข้อมูลย้อนกลับพบว่าสุกรสล๊อตดังกล่าวพบผลการสุ่มตรวจโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรทางห้องปฏิบัติการตามข้อกำหนดก่อนการส่งออกไปยังเวียดนามนั้น ปรากฏว่าไม่พบเชื้ออหิวาต์แอฟริกาหรือASF

“แต่อย่างไรก็ตามเพื่อเป็นการสร้างความเชื่อมั่น และความมั่นใจให้กับประเทศคู่ค้า ในการกำกับดูแลมาตรฐานความปลอดภัยด้านสุขภาพสุกรของประเทศไทย กรมปศุสัตว์ได้สั่งชะลอการส่งออกสุกรมีชีวิตของฟาร์มและบริษัทฯที่ประเทศเวียดนามแจ้งว่าตรวจพบผลบวกดังกล่าวแล้วและจะเร่งตั้งคณะกรรมการสอบสวน เพื่อตรวจสอบรายละเอียดข้อเท็จจริงทั้งหมด แล้วสรุปรายงานให้ทางประเทศเวียดนามทราบ”

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้กรมปศุสัตว์ยังได้ยกระดับมาตรการตรวจสอบสุกรมีชีวิตก่อนการส่งออกให้เข้มงวดมากยิ่งขึ้น โดยมีหนังสือแจ้งผู้ประกอบการส่งออกสุกรทุกรายได้ทราบว่า สุกรมีชีวิตทุกชนิดที่จะส่งออกไปยังเวียดนามต้องได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการที่ด่านกักกันสัตว์ท่าออกอีกครั้ง ก่อนอนุญาตให้ส่งออก โดยสุ่มเก็บตัวอย่างสุกรบนรถขนสุกรทุกคันบริเวณจุดขนถ่ายสุกร ณ ท่าส่งออก หรือจุดที่ด่านกักกันสัตว์กำหนดจำนวน 10 ตัวอย่าง/คัน

“ ซึ่งมาตรการที่ยกระดับขึ้นมานี้ ให้มีผลบังคับใช้ในทันที เพิ่มเติมจากข้อกำหนดเดิมของประเทศเวียดนามที่กำหนดไว้ว่า สุกรขุนมีชีวิตต้องมาจากฟาร์มที่ได้รับการรับรองการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (GAP) สุกรขุนได้รับการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) และโรคกลุ่มอาการทางระบบสืบพันธุ์และทางเดินหายใจ (PRRS) รวมทั้งต้องได้รับการตรวจจากห้องปฏิบัติการของกรมปศุสัตว์ว่าสุกรขุนปลอดจากโรคอหิวาต์แอฟริกา ในสุกร (ASF) โรคแท้งติดต่อ (Brucellosis) โรคฉี่หนู (Leptospirosis) และปลอดจากสารเร่งเนื้อแดง (Beta-Agonist) โดยหลังจากนี้เป็นต้นไป หากพบว่ายังมีปัญหากับเวียดนาม ไม่ว่าจะกรณีใดๆ ก็ตาม กรมปศุสัตว์ จะพิจารณาระงับการส่งออกสุกรมีชีวิตไปยังเวียดนามโดยทันทีต่อไป”

น.สพ. สรวิศ กล่าวต่อไปอีกว่า กรมปศุสัตว์มีมาตรการเฝ้าระวังและป้องกันควบคุมโรคอหิวาต์แอฟริกาสุกรอย่างเข้มงวด ที่ผ่านมารัฐบาลได้ยกระดับให้เป็นวาระแห่งชาติเพื่อบูรณาการความร่วมมือจากทุกภาคส่วน เพื่อป้องกันการลักลอบนำสุกรมีชีวิตและผลิตภัณฑ์เข้าประเทศ เฝ้าระวังและค้นหาโรคเชิงรับและเชิงรุก เช่น การเฝ้าระวังทางอาการในฟาร์ม การเฝ้าระวังในโรงฆ่าสัตว์ การเฝ้าระวังในซากและผลิตภัณฑ์ที่จำหน่ายในตลาด การประเมินความเสี่ยงระดับอำเภอทั่วประเทศ เพื่อกำหนดมาตรการการควบคุมการเคลื่อนย้าย ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละระดับความเสี่ยง ตลอดจนดำเนินการลดความเสี่ยงต่อโรคในทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ด้วยการทำลายสุกรในฟาร์มที่มีความเสี่ยงสูงมาก เป็นต้น

“ ในปัจจุบันอุตสาหกรรมการผลิตเนื้อสุกรของประเทศไทย โดยการกำกับดูแลของกรมปศุสัตว์นั้น มีการพัฒนามาตรฐานการผลิตเนื้อสุกรตลอดห่วงโซ่การผลิตมาอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่ฟาร์มเลี้ยงสุกรที่ได้รับการรับรองมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกร (Good Agricultural Practices : GAP) โรงฆ่าสัตว์ที่ได้รับการรับรองการปฏิบัติที่ดีสำหรับโรงฆ่าสัตว์ (Good Manufacturing Practice : GMP) จนถึงโรงงานแปรรูปที่ต้องปฏิบัติตามหลักสุขลักษณะที่ดีในการผลิตอาหาร (Good Hygienic Practice : GHP) และการวิเคราะห์อันตรายและจุดวิกฤตที่ต้องควบคุม (Hazard Analysis and Critical Control Point : HACCP)”

“สำหรับผู้บริโภคที่ต้องการความมั่นใจในความสะอาดปลอดภัย ได้มาตรฐานขอแนะนำให้เลือกซื้อเนื้อหมูและผลิตภัณฑ์จากสถานที่จำหน่ายที่มีตราสัญลักษณ์ “ปศุสัตว์ OK” ซึ่งผ่านการตรวจรับรองความปลอดภัยจากกรมปศุสัตว์ สามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงที่มาของแหล่งผลิตได้ และจะช่วยสนับสนุนให้ผู้ผลิตพัฒนาการผลิตเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ให้มีคุณภาพมาตรฐานต่อไปอีกด้วย” อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวในที่สุด

**************************************

ข้อมูล/ข่าว : ทีมโฆษกกรมปศุสัตว์ (30 พ.ค 2564) ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline