2564 06 04c 001

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการแก้ไขปัญหาโรคลัมปี สกิน (Lumpy Skin Disease) ครั้งที่ ๒/2564 ในวันศุกร์ที่ 4 มิถุนายน 2564 ณ ห้องประชุมพระพิรุณ กรมปศุสัตว์ โดยเน้นย้ำกำหนดหลักเกณฑ์ส่งมอบวัคซีน และกำหนดแนวทางการใช้วัคซีนตามหลักวิชาการสำหรับวัคซีนป้องกันโรคลัมปี สกิน ล็อตแรก จำนวน 60,000 โดส และ 300,000 โดส ที่จะมาในสัปดาห์หน้า พร้อมหนุนเอกชนให้นำเข้า

สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคลัมปี สกิน (Lumpy Skin Disease) ในประเทศไทย ซึ่งเป็นโรคติดเชื้อไวรัสที่พบในโค กระบือ และสัตว์เคี้ยวเอื้องชนิดอื่น ๆ เพื่อให้การเฝ้าระวัง ควบคุม และกำจัดโรคลัมปี สกิน (Lumpy Skin Disease) เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ ต้องมีการบูรณาการร่วมกันระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วน และทำให้ประเทศไทยปลอดจากโรคดังกล่าวนี้ให้เร็วที่สุด ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ และนายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ มีความห่วงใยและติดตามสถานการณ์และรับทราบอย่างต่อเนื่องปัจจุบันการระบาดของโรคลัมปี สกิน ยังพบในพื้นที่จังหวัดเดิม ยังไม่มีีการแพร่กระจายไปจังหวัดอื่นๆ โดยมีรายงานการเกิดโรคแล้ว 41 จังหวัด สัตว์ป่วยจำนวน 22,112 ตัว ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคเหนือ ภาคตะวันตก และภาคใต้ ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้มีการตรวจยืนยันสัตว์ป่วย และรักษาสัตว์ป่วยอย่างสม่ำเสมอ

คณะกรรมการฯ ได้กำหนดแนวทางพิจารณาแผนการฉีดวัคซีนควบคุมโรคและพื้นที่การฉีดวัคซีนสำหรับวัคซีนรอบที่1 (60,000 โด๊ส) ซึ่งกำหนดให้ฉีดวัคซีนในพื้นที่รัศมี 5-50 กิโลเมตรรอบจุดเกิดโรค โดยกรมปศุสัตว์คัดเลือกพื้นที่แบ่งเป็น 2 กลุ่ม รวม 9 จังหวัด กลุ่มที่ 1 คือ จังหวัดที่มีการเกิดโรคใหม่ ซึ่งมีพื้นที่ที่สัตว์ยังไม่มีการติดเชื้อในช่วงระหว่างวันที่ 22-28 พ.ค. 64 ประกอบด้วย 2 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดนครราชสีมา และ จังหวัดพะเยา ส่วนพื้นที่ใน กลุ่มที่ 2 คือ จังหวัดที่มีการระบาดของโรคเพิ่มขึ้นอย่างมากในระหว่างวันที่ 22-28 พ.ค. 64 ประกอบด้วย 7 จังหวัด ได้แก่ ศรีสะเกษ หนองคาย พิษณุโลก สกลนคร ขอนแก่น ร้อยเอ็ด และกาฬสินธุ์ โดยเลือกอำเภอที่เกิดโรคใหม่ในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นอำเภอที่ฉีดวัคซีน ซึ่งมีหลักเกณฑ์การเลือกพื้นที่ตำบลในอำเภอที่ได้คัดเลือกแล้ว ดังนี้ 1) ต้องเป็นตำบลที่ไม่มีการเกิดโรค 2) ไม่มีการเคลื่อนย้ายเข้าในพื้นที่ในช่วง 1 เดือนที่ผ่านมา โดยพิจารณาฉีดวัคซีนในสัตว์ที่มีสุขภาพแข็งแรง ไม่ป่วย รวมทั้งต้องทำเครื่องหมายที่ตัวสัตว์ โดยการตีตราเย็นเป็นสัญลักษณ์ “x” บนไหล่ซ้าย ทั้งนี้ ร่วมกับมาตรการควบคุมแมลงพาหะ งดการเคลื่อนย้ายโคกระบือออกจากพื้นที่ตำบลนั้น และตรวจสุขภาพ สังเกตอาการของสัตว์ทุกวัน เป็นระยะเวลา 30 วัน หลังจากฉีดวัคซีน สำหรับวัคซีนในรอบที่ 2 (300,000 โด๊ส) มีกำหนดจะจัดส่งถึงประเทศไทยในช่วงสัปดาห์หน้า ซึ่งจะมีหลักเกณฑ์การใช้ในลักษณะเดียวกันกับการฉีดวัคซีนในรอบแรก พร้อมอำนวยความสะดวกให้กลุ่มเกษตรกร สมาคมผู้เลี้ยงสัตว์หรือจากภาคเอกชน นำเข้าวัคซีนป้องกันโรคลัมปี สกิน มาใช้ภายใต้การกำกับดูแลของกรมปศุสัตว์

อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวเพิ่มเติมว่า “คณะกรรมการฯได้มีมติว่า โรคลัมปี สกินเกิดขึ้นในประเทศไทยเป็นครั้งแรก และมีการควบคุมโรคโดยการฉีดวัคซีนที่นำเข้าจากต่างประเทศ การกำหนดแผนการฉีดวัคซีนต้องเป็นไปตามระเบียบกรมกรมปศุสัตว์ ว่าด้วยการฉีดวัคซีนลัมปี สกิน ในสัตว์ชนิดโค กระบือ พ.ศ. ๒๕๖๔ เพื่อให้เป็นแบบแผนเดียวกัน มีความปลอดภัยต่อสัตว์และเป็นไปตามหลักวิชาการ การดำเนินการในระยะต่อไป จะมีการประเมินความครอบคลุมของการฉีดวัคซีนในพื้นที่ ประเมินประสิทธิภาพความคุ้มโรคหลังจากการฉีดวัคซีน โดยใช้หลักการทางระบาดวิทยาในสุ่มเก็บตัวอย่าง เพื่อเป็นข้อมูลประกอบการพิจารณาการผลิตวัคซีนในประเทศต่อไป”

ขอให้พี่น้องเกษตรกรหมั่นดูแลสุขภาพของโค-กระบือ ให้มีสุขภาพแข็งแรง หากพบสัตว์มีอาการผิดปกติ สงสัยว่าป่วยให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จังหวัด หรือปศุสัตว์อำเภอในท้องที่ หรือโทรศัพท์สายด่วน 06 3225 6888 หรือทางแอพพลิเคชั่น DLD4.0 เพื่อให้เจ้าหน้าที่สามารถเข้าดำเนินการให้ความช่วยเหลืออย่างทันท่วงที

**************************************

ข้อมูล/ข่าว : ทีมโฆษกกรมปศุสัตว์ (4 มิ.ย. 2564) ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline