pic01

15 ก.ค. 2564 อธิบดีกรมปศุสัตว์ประสานกรมอุทยานฯ และผู้ว่าราชจังหวัด ร่วมยกระดับควบคุมการระบาดของโรคลัมปี สกิน โดยเฉพาะพื้นที่ใกล้ผืนป่า ป้องกันไม่ให้ระบาดสู่สัตว์ป่า เร่งจัดสรรวัคซีน 5 ล้านโดสแล้ว มั่นใจโรคสงบใน 3 เดือนหลังฉีดวัคซีนครอบคลุม

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่ากรมปศุสัตว์ได้ตรวจวินิจฉัยทางห้องปฏิบัติการซากกระทิงที่มีผิวหนังมีตุ่มนูน และโดนขวิดตายจากอุทยานแห่งชาติกุยบุรี จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งผลพบว่ากระทิงมีการติดเชื้อลัมปี สกิน

กรมปศุสัตว์ได้ตรวจสอบสถานการณ์โรคในพื้นที่ 5 กิโลเมตรจากชายขอบรัศมีอุทยานแห่งชาติกุยบุรี ซึ่งพบว่ามีโค จำนวน 2,234 ตัว จากเกษตรกรจำนวน 209 มีแสดงอาการป่วย 4 ตัว และได้ประสานกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืชร่วมกันกำหนดมาตรการป้องกันและควบคุมโรคในพื้นที่เร่งด่วนซึ่งมี 6 มาตรการดังนี้

  1. ระงับการเคลื่อนย้ายโค - กระบือ เข้าและออกในพื้นที่รัศมี 50 กิโลเมตร รอบจุดเกิดโรค ซึ่งจังหวัดประจวบคีรีขันธ์มีการประกาศเป็นเขตโรคระบาดชนิดลัมปี สกิน และมีการห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์ในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ทุกพื้นที่แล้ว
  2. เจ้าหน้าที่ปศุสัตว์และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการควบคุมและกำจัดแมลงพาหะของโรคในพื้นที่เสี่ยงโดยการใช้ยาพ่นฆ่าแมลงในพื้นที่ที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์พาหะและฉีดพ่นบนตัวโค กระบือ เป็นต้น
  3. เร่งรัดการทำวัคซีนป้องกันโรคลัมปี สกิน ในโค กระบือ พื้นที่ 5 กิโลเมตรจากชายขอบอุทยานประมาณ 2,234 ตัว
  4. ประชาสัมพันธ์เกษตรกรในพื้นที่ หากพบโคแสดงอาการให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์เพื่อช่วยรักษาพยาบาลสัตว์ป่วยและลดการแพร่เชื้อโรค
  5. เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรีต้องป้องกันไม่ให้สัตว์ป่า เช่น กระทิง วัวแดง และควายป่า ออกมาหากินในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงโค กระบือ รวมทั้งไม่ให้มีการนำโค กระบือเข้าไปเลี้ยงในพื้นที่ที่กระทิงอยู่อาศัยโดยมีระยะแนวกันชนประมาณ 1 กิโลเมตร
  6. เจ้าหน้าที่อุทยานแห่งชาติกุยบุรีพ่นยาฆ่าแมลงภายในยานพาหนะที่เข้า-ออกในพื้นที่ไม่ให้เป็นพาหะนำโรค

และขอให้ยกระดับการเฝ้าระวัง ป้องกันในอุทยานแห่งชาติและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทั่วประเทศอีกด้วย พร้อมประสานผู้ว่าราชการจังหวัดเพื่อขอความร่วมมือยกระดับการควบคุมการระบาดของโรคลัมปี สกิน โดยเฉพาะพื้นที่ใกล้เขตป่า โดยให้ประสานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและทรัพยากรธรรมชาติจังหวัดร่วมเฝ้าระวังด้วย

ทั้งนี้สั่งการให้ปศุสัตว์จังหวัดเร่งฉีดวัคซีนให้กับโค-กระบือของเกษตรกรที่เลี้ยงในพื้นที่ใกล้เขตป่า อุทยานแห่งชาติและและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า พร้อมร่วมมือกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นเข้าฉีดพ่นสารกำจัดแมลงพาหะบริเวณคอกโค-กระบือเพื่อป้องกันไม่ให้บินไปกัดสัตว์ป่าได้แก่ กระทิง วัวแดง และควายป่า รวมทั้งแนะนำให้เกษตรกรหมั่นรักษาความสะอาดบริเวณคอกโค-กระบือ ไม่ให้เป็นแหล่งเพาะพันธุ์ของแมลงพาหะ ติดหลอดไฟไล่แมลงหรือร่วมกับการกางมุ้งที่คอกสัตว์ ซึ่งจะส่งผลดีต่อการป้องกันโรคในสัตว์ที่เลี้ยงไว้ด้วย

อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวต่อว่าได้วางแผนจัดสรรวัคซีน 5 ล้านโดส ที่ ครม. อนุมัติงบกลางให้จัดซื้อเพื่อควบคุมโรค โดยแผนกระจายวัคซีนเป็นไปตามหลักวิชาการอย่างทั่วถึงเป็นธรรม โดยครอบคลุมประชากรโค-กระบือไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 ของประชากรสัตว์กลุ่มเสี่ยงทั้งประเทศ ซึ่งประเทศไทยมีโค-กระบือ รวม 10,249,349 ตัว แบ่งเป็นโคเนื้อ 7,969,519 ตัว โคนม 811,688 ตัว กระบือ 1,568,042 ตัว ซึ่งการฉีด วัคซีนลัมปี สกิน ของกรมปศุสัตว์นั้น ไม่มีการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายใดๆ จากเกษตรกรทั้งสิ้น ส่วนสถานการณ์การแพร่ระบาดปัจจุบันสถานการณ์พบสัตว์ป่วยใหม่มีแนวโน้มลดลงอย่างมาก มั่นใจว่า เมื่อดำเนินการฉีดวัคซีนตามเป้าหมาย โรคจะสงบได้ภายใน 3 เดือน ส่วนกรณีของการเยียวยาโค-กระบือที่ป่วยตายด้วยโรคลัมปี สกิน กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้ส่งกระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว เพื่อช่วยเกษตรกรให้มากที่สุด

**************************************

ข้อมูล/ข่าว : ทีมโฆษกกรมปศุสัตว์ (15 ก.ค. 2564) ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline