pic01

ตามที่สื่อสังคมออนไลน์ มีกระแสเชือดสุกรขายเองผิดกฎหมาย ต้องนำเนื้อสุกรของบริษัทมาขายด้วยจึงจะไม่ผิดกฎหมาย กรมปศุสัตว์ขอยืนยันประชาชนสามารถเชือดหมูของตนเองเพื่อจำหน่ายได้ แต่ต้องทำที่โรงฆ่าสัตว์ ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย โดยปัจจุบันกฎหมายที่กำกับดูแลการเชือดสัตว์เพื่อการจำหน่ายของประเทศไทยคือ พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 ซึ่งกำหนดให้การฆ่าสัตว์ต้องกระทำในโรงฆ่าสัตว์เท่านั้น ดังนั้น การเชือดสุกรเพื่อจำหน่ายที่บ้านตนเองไม่ว่าสุกรนั้นจะเป็นสุกรที่เลี้ยงเองหรือว่าสุกรที่มาจากบริษัทจึงเป็นการกระทำที่ผิดกฎหมาย

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า พระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อ การจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 เป็นกฎหมายที่บัญญัติขึ้นเพื่อกำกับดูแลเรื่องโรงฆ่าสัตว์เพื่อความปลอดภัยของผู้บริโภค เนื่องจากโรงฆ่าสัตว์เป็นสถานที่ผลิตเนื้อสัตว์ก่อนจำหน่ายถึงผู้บริโภคจึงมีความจำเป็นที่ต้องกำกับดูแลให้สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาของสัตว์มีชีวิต มีความสะอาดในกระบวนการผลิตและมีสวัสดิภาพสัตว์ และที่สำคัญต้องมีการตรวจสุขภาพสัตว์ก่อนฆ่าและเนื้อสัตว์หลังฆ่า โดยพนักงานตรวจโรคสัตว์ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพ การสัตวแพทย์ หรือผู้ที่ได้รับการอบรมจากสัตวแพทยสภาหรือกรมปศุสัตว์ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดโรคระบาดจากสัตว์สู่คน (Zoonosis) นอกจากนี้โรงฆ่าสัตว์ยังมีกฎหมายกำกับดูแลเพื่อป้องกันไม่ให้สร้างเหตุเดือดร้อนรำคาญให้แก่ประชาชนข้างเคียง เช่น พระราชบัญญัติการสาธารณสุข พระราชบัญญัติผังเมือง เป็นต้น ทั้งนี้ เนื้อสัตว์ที่มาจากโรงฆ่าที่ไม่ได้รับอนุญาตนั้น จะไม่ทราบแหล่งที่มาของสัตว์ ไม่มีการตรวจสอบใดๆ ไม่ได้ผ่านการตรวจโรคมาก่อน และผ่านกระบวนการฆ่าสัตว์ที่ไม่ถูกสุขลักษณะ ทำให้มีความเสี่ยงที่เนื้อสัตว์ถูกชำแหละแล้วไปวางจำหน่ายให้กับผู้บริโภคปนเปื้อนเชื้อโรคสูง อาจเป็นอันตรายต่อผู้บริโภค และเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคระบาดที่สำคัญ หรืออันตรายจากสารตกค้าง เช่น สารเร่งเนื้อแดง ฮอร์โมน และยาปฏิชีวนะ เป็นต้น โดยการฆ่าสัตว์นอกโรงฆ่าสัตว์มีความผิดตามมาตรา 15 แห่ง พรบ.ควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 คือประกอบกิจการฆ่าสัตว์โดยไม่ได้รับอนุญาต ซึ่งมีโทษจำคุกไม่เกิน 3 ปี หรือปรับไม่เกิน 2 แสนบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และยังมีโทษตามมาตรา 31 แห่ง พรบ.ควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจำหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 คือฆ่าสัตว์โดยไม่แจ้งการฆ่าต่อพนักงานท้องถิ่น ซึ่งมีโทษปรับตามรายตัว สุกร ตัวละไม่เกิน 2 หมื่นบาท

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้ประชาชนเลือกซื้อเนื้อสัตว์ที่มาจากโรงฆ่าสัตว์ที่ได้รับอนุญาตเพื่อเป็นการส่งเสริมโรงฆ่าสัตว์ที่ได้รับอนุญาตตามกฎหมาย โดยสามารถสังเกตตราสัญลักษณ์ปศุสัตว์ OK ซึ่งเป็นตราสัญลักษณ์ที่กรมปศุสัตว์ให้การรับรองร้านจำหน่ายเนื้อสัตว์ว่านำเนื้อสัตว์มาจากโรงฆ่าสัตว์ที่ได้อนุญาตตามกฎหมาย

ข้อมูลโดย : สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ (2 ตุลาคม 2564) ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline