pic01

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ตามที่ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีนโยบายมุ่งมั่น “เกษตรไทย มาตรฐานโลก” โดยให้ทุกหน่วยงานในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ยกระดับคุณภาพมาตรฐาน ดันผลิตสินค้าเกษตรและอาหารปลอดภัยตลอดห่วงโซ่ เป็นที่ยอมรับและสร้างความเชื่อมั่นในตลาดโลก เพิ่มมูลค่าการส่งออก และยกระดับเกษตรกรให้มีคุณภาพชีวิตและรายได้เพิ่มนั้น กรมปศุสัตว์รับสนองนโยบาย โดยสั่งการให้เจ้าหน้าที่กำกับดูแล ตรวจสอบและควบคุมการผลิต ตั้งแต่ระดับฟาร์ม โรงฆ่าสัตว์ โรงแปรรูป และสถานที่จำหน่าย เพื่อสร้างความมั่นใจแก่ผู้บริโภคในด้านสุขอนามัยและความปลอดภัยอาหาร ช่วยควบคุมการแพร่กระจายของเนื้อสัตว์กรณีโรคสัตว์ระบาด มีระบบตรวจสอบย้อนกลับในทุกขั้นตอนการผลิต สามารถใช้ข้อมูลจากการตรวจสอบย้อนกลับในการเรียกคืนสินค้าหรือแจ้งเตือนภัยตามระบบแจ้งเตือนภัยและอำนวยความสะดวกในการส่งออกสินค้าไปยังประเทศ คู่ค้าที่มีข้อกำหนดในเรื่องการตรวจสอบย้อนกลับสินค้านำเข้าอีกด้วย กระทรวงเกษตรและสหกรณ์จึงได้ร่างกฎกระทรวง การจัดเก็บข้อมูลของสัตว์ที่เข้าสู่โรงฆ่าสัตว์และเนื้อสัตว์ที่ออกจากโรงฆ่าสัตว์ พ.ศ.2564 โดยล่าสุดได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษาและมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 26 ตุลาคม 2564

กฎกระทรวง การจัดเก็บข้อมูลของสัตว์ที่เข้าสู่โรงฆ่าสัตว์และเนื้อสัตว์ที่ออกจากโรงฆ่าสัตว์ พ.ศ.2564 กำหนดหลักเกณฑ์การจัดเก็บข้อมูลของสัตว์ที่เข้าสู่โรงฆ่าสัตว์และเนื้อสัตว์ที่ออกจากโรงฆ่าสัตว์ เพื่อประโยชน์ในการตรวจสอบย้อนกลับข้อมูลของเนื้อสัตว์ตลอดกระบวนการผลิตและการเรียกคืนเนื้อสัตว์ และเพื่อให้ผู้บริโภคได้บริโภคเนื้อสัตว์ที่ถูกสุขอนามัย มีสาระสำคัญ ให้พนักงานเจ้าหน้าที่ พนักงานท้องถิ่น พนักงานตรวจโรคสัตว์ และผู้ประกอบการโรงฆ่าสัตว์ มีการจัดเก็บข้อมูล ประกอบด้วย 1. ใบแจ้งและตอบรับการแจ้งฆ่าสัตว์ 2. รายงานการตรวจโรคสัตว์ก่อนและหลังการฆ่าสัตว์ และ 3. รายงานรับรองให้จำหน่ายเนื้อสัตว์ ให้เก็บข้อมูลทั้งหมดไว้อย่างน้อย 1 ปี โดยถ้าไม่เก็บมีกำหนดโทษพักใช้หรือเพิกถอนเฉพาะโรงฆ่าสัตว์นั้น

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า นอกจากนี้เพื่อให้ครอบคลุมชนิดของสัตว์ที่ต้องอยู่ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการฆ่าสัตว์ และเพื่อความปลอดภัยอาหารของผู้บริโภคยิ่งขึ้น เนื่องด้วยปัจจุบัน มีผู้บริโภคไก่งวงและนกกระทาเป็นจำนวนมาก เพื่อให้มีมาตรการตรวจสอบ ควบคุมหรือป้องกันมิให้โรคระบาดที่เกิดกับสัตว์ติดต่อมาสู่คน รวมถึงตรวจสอบสารตกค้างในเนื้อสัตว์ดังกล่าว ผู้บริโภคได้บริโภคเนื้อสัตว์ที่ถูกสุขอนามัย สมควรกําหนดให้ ไก่งวงและนกกระทา เป็น “สัตว์” ตามพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจําหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559 จึงได้ร่างกฎกระทรวง กำหนดชนิดของสัตว์ที่ต้องอยู่ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการฆ่าสัตว์ พ.ศ.2564 กำหนดให้ ไก่งวงและนกกระทา เป็นสัตว์ที่ต้องอยู่ในการกำกับดูแลการประกอบกิจการฆ่าสัตว์ ซึ่งแปลว่า การฆ่าไก่งวงและนกกระทาต้องทำในโรงฆ่าสัตว์ที่ได้รับอนุญาต โดยได้ประกาศลงราชกิจจานุเบกษา เมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2564 และมีผลบังคับใช้ 180 วันนับแต่วันที่ประกาศฯ ดังนั้น ผู้ประกอบการโรงฆ่าสัตว์ที่ประกอบกิจการฆ่าสัตว์ สำหรับนกกระทาและไก่งวงจึงมีระยะเวลา 180 วันนับแต่วันที่ประกาศฯ ที่จะขออนุญาตให้ได้โรงฆ่าสัตว์ที่ได้รับอนุญาตก่อนเป็นโรงฆ่าสัตว์เถื่อน ซึ่งหากไม่ทำตามมีความผิดตามพระราชบัญญัติควบคุมการฆ่าสัตว์เพื่อการจําหน่ายเนื้อสัตว์ พ.ศ. 2559

ทั้งนี้ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและความสะดวกในการตรวจสอบย้อนกลับตลอดห่วงโซ่การผลิต ทำให้สามารถทราบถึงแหล่งที่มาของสินค้า และผู้ที่เกี่ยวข้องสามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ในกรณีที่เกิดปัญหาหรือวิกฤตด้านอาหารได้ สามารถตรวจสอบและวิเคราะห์ความเสี่ยงตลอดห่วงโซ่การผลิตได้อย่างเป็นรูปธรรม และเป็นประโยชน์ทั้งต่อภาครัฐ ผู้ประกอบการและผู้บริโภค รวมถึงช่วยควบคุมให้สินค้ามีความปลอดภัยอาหารและถูกสุขอนามัย สร้างความเชื่อมั่นต่อผู้บริโภคและประเทศคู่ค้า เพิ่มมูลค่าการส่งออก สร้างรายได้ให้เกษตรกรและประเทศได้ต่อไป

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ โทร. 02-6534444 ต่อ 3120, 3142 หรือ http://certify.dld.go.th/certify/index.php/th/ | ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline