pic01

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ปัญหาเชื้อดื้อยาหรือการดื้อยาของเชื้อโรค (Antimicrobial Resistance: AMR) เป็นปัญหาวิกฤตระดับโลกที่นับวันจะรุนแรงมากขึ้น เพราะสร้างความสูญเสียและส่งผลต่อชีวิตของคนทุกคน โดยพบว่าทั่วโลกมีผู้เสียชีวิตจากเชื้อดื้อยาประมาณ 700,000 คน/ปี ซึ่งหากไม่มีการแก้ปัญหาอย่างจริงจัง คาดว่าในปี ค.ศ.2050 การเสียชีวิตจะสูงถึง 10 ล้านคน สาเหตุเนื่องจากการใช้ยาปฏิชีวนะหรือยาต้านแบคทีเรียมากจนเกินความจำเป็นทั้งในคนและสัตว์ ทำให้เชื้อแบคทีเรียพัฒนาตัวเองจนสามารถสู้กับยาปฏิชีวนะได้หรือที่เรียกว่าดื้อต่อยาและมีการถ่ายทอดยีนดื้อยาจากรุ่นสู่รุ่นของแบคทีเรีย ประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับปัญหานี้ จึงได้วางแนวทางและมาตรการในการจัดการปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพอย่างอย่างเป็นระบบร่วมกัน ภายใต้หลักการ “สุขภาพหนึ่งเดียว (One Health Approach)” ประกอบด้วย สุขภาพคน สุขภาพสัตว์ และสิ่งแวดล้อม โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบแผนยุทธศาสตร์การจัดการการดื้อยาต้านจุลชีพประเทศไทย พ.ศ. 2560-2564 ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้สร้างกลไกการขับเคลื่อนงานด้านเชื้อดื้อยาที่สอดคล้องตามแผนยุทธศาสตร์ฯ ร่วมกับทุก ภาคส่วน มีเป้าหมายสำคัญ คือลดการใช้ยาต้านจุลชีพในสัตว์ลง 30% ภายในปี 2564 และมีผลงานเชิงประจักษ์ที่ปี 2562 สามารถลดปริมาณการใช้ยาต้านจุลชีพได้มากกว่า 49%

กรมปศุสัตว์กำกับดูแลควบคุมการผลิตสินค้าปศุสัตว์ที่มีคุณภาพมาตรฐาน ตามหลักการผลิตอาหารปลอดภัย (Food safety) ระดับสากลและระดับโลก และภายใต้หลักการการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี (Good Agricultural Practice: GAP) ที่ครอบคลุมถึงการเลี้ยงสัตว์โดยคำนึงถึงหลักสวัสดิภาพสัตว์ (Animal welfare) โดยปัจจุบันสัตว์ที่อยู่ในระบบ GAP สำหรับฟาร์มสุกรมีถึง 86.33% ไก่เนื้อ 99.44% และไก่ไข่ 94.31% ควบคู่กับการผลักดันมาตรฐานบังคับร่วมกับสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) สำหรับฟาร์มไก่ไข่ และฟาร์มสุกร นอกจากนี้ยังกำกับดูแลการใช้ยาในฟาร์ม ภายใต้การดูแลของสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์ม เพื่อให้มีการใช้ยาอย่างเหมาะสมจำเป็นใช้เพื่อการรักษาโรค ซึ่งการใช้ยาในฟาร์มเลี้ยงสัตว์ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ข้อปฏิบัติการควบคุมการใช้ยาสัตว์: มาตรฐานสินค้าเกษตร มกษ. 9032-2552 ที่ให้ใช้ยาได้อย่างถูกต้อง ตรงตามฉลากยาที่ระบุไว้ตามที่ได้รับการขึ้นทะเบียนยาจาก อย. และมีระยะหยุดยาก่อนส่งโรงฆ่าสัตว์เพื่อให้ผลิตภัณฑ์มีความปลอดภัยต่อผู้บริโภค ห้ามใช้สารเร่งเนื้อแดง และห้ามใช้ยาต้านจุลชีพผสมในอาหารสัตว์ในวัตถุประสงค์เพื่อเร่งการเจริญเติบโต (Growth promoter) ควบคู่ไปกับการติดตามและเก็บตัวอย่างเพื่อเฝ้าระวังยาสัตว์ตกค้างและการดื้อยาต้านจุลชีพในสัตว์ที่ครอบคลุมตลอดห่วงโซ่การผลิตสินค้าปศุสัตว์ สำหรับการบังคับใช้กฎหมายได้ออกกฎหมายเพื่อกำกับดูแลอาหารสัตว์ที่ผสมยา (Medicated feed) ซึ่งยาที่นำมาใช้ผสมอาหารสัตว์ต้องเป็นยาที่ขึ้นทะเบียนสำหรับผสมอาหารสัตว์จาก อย.ภายใต้ พ.ร.บ. ยา เท่านั้น และต้องมีสัตวแพทย์ผู้ควบคุมระบบการผลิตอาหารสัตว์ที่ผสมยา ที่ได้รับการฝึกอบรมจากกรมปศุสัตว์ และต้องผลิตภายใต้การสั่งใช้ยาจากสัตวแพทย์ผู้ควบคุมฟาร์มที่ดูแลสุขภาพสัตว์ในฟาร์มนั้นๆ (Prescription) และต้องรายงานปริมาณการใช้ยาผสมอาหารสัตว์ต่อกรมปศุสัตว์ ซึ่งในปี 2562 มีการใช้ยาปฏิชีวนะผสมในอาหารสัตว์เพียง 1.8% ของอาหารสัตว์ทั้งหมด และได้ออกกฎหมายให้กลุ่มยาที่มีความสำคัญและสงวนไว้สำหรับรักษาชีวิตมนุษย์ ได้แก่ ยากลุ่ม Cephalosporins ห้ามนำมาใช้ผสมอาหารสัตว์โดยเด็ดขาด ยากลุ่ม Polymyxins (เช่น Colistin), Penicillins, Fluoroquinolones, และยา Fosfomycin ห้ามนำมาใช้ผสมอาหารสัตว์ในวัตถุประสงค์เพื่อป้องกันโรค (Prevention) และมีการส่งเสริมให้ใช้ผลิตภัณฑ์ทางเลือก ได้แก่ การใช้สมุนไพร การใช้สารเสริมชีวนะ เพื่อทดแทนการใช้ยาต้านจุลชีพ รวมทั้งการสนับสนุนให้มีการทำเกษตรอินทรีย์ การลดใช้ยาปฏิชีวนะในการเลี้ยงสัตว์ และการเลี้ยงสัตว์ปลอดการใช้ยาปฏิชีวนะตลอดการเลี้ยง (Raised Without Antibiotics: RWA) เป็นต้น ครอบคลุมในสัตว์ปศุสัตว์ สุกร ไก่ไข่ ไก่เนื้อ สัตว์ปีกเลี้ยงปล่อยอิสระ และหมูหลุม โดยมีผลิตภัณฑ์วางจำหน่ายเพื่อเป็นทางเลือกให้กับผู้บริโภค ซึ่งดำเนินการได้จากความมุ่งมั่นตั้งใจและความร่วมมือของภาคส่วนที่เกี่ยวข้องในเลี้ยงสัตว์ ได้แก่ เกษตรกร ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้อง สัตวแพทยสภา ภาคการศึกษา และภาคสมาคมที่เกี่ยวข้อง เช่น สัตวแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ สมาคมผู้ผลิตอาหารสัตว์ไทย และสมาคมธุรกิจเวชภัณฑ์สัตว์ รวมทั้งสมาคมวิชาชีพด้านการสัตวแพทย์ ได้แก่ สมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสุกรไทย และสมาคมสัตวแพทย์ควบคุมฟาร์มสัตว์ปีก

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า สิ่งที่ทุกคนต้องตระหนัก คือ ปัญหาเชื้อดื้อยาเป็นเรื่องสำคัญที่ทุกภาคส่วนต้องร่วมกันจัดการ โดยภาค ปศุสัตว์หลักการที่สำคัญ คือ การใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผล (Prudent use) ร่วมกับการจัดการด้านสวัสดิภาพสัตว์อย่างเหมาะสม เพื่อเป็นกลไกชะลอปัญหาเชื้อดื้อยา ในคน สัตว์ และสิ่งแวดล้อม ซึ่งทุกๆ ปี ประเทศไทยภายใต้คณะกรรมการนโยบายการดื้อยาต้านจุลชีพแห่งชาติ ได้มีการจัดกิจกรรมรณรงค์ “สัปดาห์ความตระหนักรู้ เรื่องยาต้านจุลชีพโลกของประเทศไทย” (Thailand’s World Antimicrobial Awareness Week: WAAW 2021) ซึ่งปีนี้จัดขึ้นในช่วงวันที่ 18-26 พฤศจิกายน 2564 โดยมีความมุ่งหวังให้ทุกภาคส่วนมีความรู้ ความเข้าใจ ตระหนักถึงความสำคัญของปัญหาการดื้อยาต้านจุลชีพและหลักการใช้ยาต้านจุลชีพอย่างสมเหตุผลร่วมกัน

ข้อมูล : กองควบคุมอาหารและยาสัตว์กรมปศุสัตว์ ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline