pic02

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ตามที่มีรายงานทางสื่อสังคมออนไลน์เกี่ยวกับประเด็น เรื่อง กินคอไก่ ปีกไก่ และหัวไก่ จะมีสารพิษ เมื่อทานแล้วสะสม เสี่ยงอันตรายต่อร่างกาย นั้น กรมปศุสัตว์ได้ตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้ว สรุปว่าเป็นข่าวปลอมไม่เป็นความจริง การนำเสนอข้อมูลเท็จนี้ สามารถสร้างความตื่นตะหนกให้แก่ประชาชนผู้บริโภคเนื้อไก่ได้ และอาจส่งผลกระทบต่อภาพลักษณ์ของประเทศไทยที่เป็นผู้ส่งออกเนื้อสัตว์ปีกรายใหญ่ของโลกได้ เพื่อเป็นการคุ้มครองและสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้บริโภคทั้งในประเทศและต่างประเทศ จึงได้เร่งสร้างความรู้ความเข้าใจและชี้แจงข้อเท็จจริงต่อผู้บริโภค และให้ทุกหน่วยงานกำกับดูแลสินค้าปศุสัตว์ให้มีความปลอดภัยอาหาร รักษาคุณภาพมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ที่ได้รับการรับรองจากกรมปศุสัตว์อย่างเข้มงวดต่อเนื่อง

กรมปศุสัตว์ในฐานะหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านอาหารปลอดภัยในการผลิตสินค้าปศุสัตว์ ได้กำกับดูแลระบบการผลิตสินค้าปศุสัตว์ตลอดทั้งกระบวนการผลิตตลอดห่วงโซ่ ตั้งแต่ฟาร์มเลี้ยงสัตว์ที่ได้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดี GAP (Good Agricultural Practices) โรงฆ่าสัตว์ที่ถูกกฎหมาย มีกระบวนการผลิตที่ถูกสุขอนามัย สถานที่จำหน่ายที่ได้มาตรฐาน จนถึงมือประชาชนผู้บริโภค จึงมั่นใจได้ว่าสินค้าปศุสัตว์ที่ได้รับการรับรองจากกรมปศุสัตว์ มีการตรวจสอบและกำกับดูแลตลอดห่วงโซ่การผลิต ไม่มีสารอันตรายตกค้าง ไม่มีฮอร์โมน สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ มีแหล่งที่มาชัดเจน มีเจ้าหน้าที่ตรวจโรคสัตว์ก่อนเข้าโรงฆ่าสัตว์และหลังออกจากโรงฆ่าสัตว์ มีการสุ่มเก็บตัวอย่างเพื่อตรวจวิเคราะห์ทั้งด้านสารตกค้าง และเชื้อจุลินทรีย์ ซึ่งในประเด็นกินไก่ ส่วนคอไก่ ปีกไก่ และหัวไก่ ทำให้ได้รับสารพิษสะสมในร่างกายเกิดอันตรายนั้น ทางข้อมูลทางวิชาการต้องขอชี้แจงว่า ไก่เป็นสัตว์ปีก ที่ไม่มีต่อมน้ำเหลือง แต่จะมีต่อม Thymus ที่คอ และ bursa of fabricius ที่ปลายลำไส้ ซึ่งทำหน้าที่แทนต่อมน้ำเหลืองในช่วงแรก และจะฝ่อไปเมื่อไก่โตขึ้น โดยเมื่อไก่โตขึ้นระบบต่อมน้ำเหลืองในไก่จะเป็นลักษณะเนื้อเยื่อที่อยู่ในทางเดินอาหาร (gut associated lymphoid tissue) ดังนั้น จึงเป็นไปไม่ได้ที่จะมีการสะสมของเชื้อไวรัสและแบคทีเรียที่คอไก่ และหัวไก่ไม่สามารถสะสมสารพิษได้ เนื่องจากไก่ไม่มีต่อมพิษที่หัว และไก่ยังมีตับและไตที่ทำหน้าที่กำจัดสารพิษออกจากร่างกายเหมือนกับมนุษย์ด้วย โดยปกติคอไก่จะมีต่อมไทรอยด์และต่อมพาราไทรอยด์ ซึ่งตามโรงฆ่าสัตว์ที่ได้มาตรฐานจะมีการตัดเอาต่อมพวกนี้และหลอดลมออกก่อนมาจำหน่ายอยู่แล้ว สำหรับประเด็นฮอร์โมนนั้น ประเทศไทยมีพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ. 2522 และพระราชบัญญัติควบคุมคุณภาพอาหารสัตว์ พ.ศ.2558 ที่กำหนดห้ามให้ฮอร์โมนเอสโตรเจนสเตียรอยด์และฮอร์โมนเพศหญิงเพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของสัตว์ กรมปศุสัตว์มีการเก็บตัวอย่างเพื่อสำรวจสารตกค้างในเนื้อสัตว์เป็นประจำทุกปี ซึ่งจากผลการตรวจสอบตรวจพบว่าไม่มีการใช้ฮอร์โมนเพื่อเร่งการเจริญเติบโตในเนื้อไก่แน่นอน นอกจากนี้ได้มีการเก็บตัวอย่างทั้งเนื้อไก่และเครื่องในตรวจหาสารตกค้างต่างๆ รวมถึงฮอร์โมนทั้งที่ฟาร์มและโรงฆ่าสัตว์ ดำเนินการมามากกว่า 10 ปีแล้ว ซึ่งผลจากการตรวจวิเคราะห์ฮอร์โมนกลุ่ม Stilbenes (diethylstilbestrol, dienestrol, hexestrol) 5 ปีย้อนหลัง (2560-ปัจจุบัน) รวมจำนวนกว่า 2,505 ตัวอย่าง ทั้งหมดไม่พบสารตกค้างของฮอร์โมน นอกจากนี้ ยังไม่เคยพบรายงานการติดพยาธิจากการบริโภคเนื้อไก่ เนื่องจากพยาธิต้องการมีความจำเพาะต่อร่างกายของโฮสต์ แต่ร่างกายของมนุษย์ไม่มีความจำเพาะต่อพยาธิที่ติดในไก่ จึงทำให้ไม่เคยมีรายงานการติดพยาธิจากการบริโภคไก่มาก่อน

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้พี่น้องประชาชนมั่นใจเนื้อไก่ รวมทั้งคอไก่ ปีกไก่ และหัวไก่ที่จำหน่ายในไทยยังมีความปลอดภัยรับประทานได้ตามปกติ ไม่มีสารตกค้าง ไม่มีฮอร์โมน และแนะปรุงสุกก่อนนำมารับประทานทุกครั้ง เพื่อสุขอนามัยที่ดีและความปลอดภัยอาหาร และเพื่อเป็นทางเลือกในการซื้อสินค้าปศุสัตว์ ให้สังเกตตราสัญลักษณ์ “ปศุสัตว์ OK” ประชาชนผู้บริโภคมั่นใจได้ว่า สินค้าปศุสัตว์ที่กรมปศุสัตว์ให้การรับรองนั้น มีมาตรฐานการผลิตที่ถูกสุขอนามัย มีความปลอดภัยอาหารเหมาะสมแก่การบริโภค ปลอดจากสารตกค้าง และที่สำคัญมีแหล่งที่มาชัดเจน สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ตลอดกระบวนการผลิตแน่นอน

***********************************************

ข้อมูล/ข่าว : สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ https://certify.dld.go.th ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline