pic01

นายสรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า กรมสัตวแพทย์บริการ (The Veterinary Services Department (DVS)) ประเทศมาเลเซีย ได้ประกาศอย่างเป็นทางการแจ้งยกเลิกการแบนนำเข้าโค-กระบือจากประเทศไทย ตั้งแต่ 15 มีนาคม 2565 มีผลทันที โดยประเทศไทยสามารถส่งออกโค-กระบือ (ทั้งโค-กระบือขุนและพ่อแม่พันธุ์) ไปประเทศมาเลเซียตามเงื่อนไขและขั้นตอนการนำเข้าได้ นับเป็นข่าวดีด้านปศุสัตว์และอุตสาหกรรมผู้เลี้ยงโค-กระบือ จากมาเลเซียเชื่อมั่นในระบบการควบคุมและป้องกันโรคของประเทศไทย

เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคลัมปีสกินในประเทศไทย เพื่อเป็นการป้องกันโรคและลดความเสี่ยงและผลกระทบที่อาจเกิดต่ออุตสาหกรรมโค-กระบือของประเทศมาเลเซีย มาเลเซียจึงประกาศระงับการนำเข้าโค-กระบือจากประเทศไทย ตั้งแต่วันที่ 8 มิถุนายน 2564 นั้น ซึ่งล่าสุดมีข่าวดีมาแจ้งได้รับรายงานใน วันที่ 15 มีนาคม 2565 ว่า

กรมสัตวแพทย์บริการ (DVS) ประเทศมาเลเซีย ได้ออกประกาศรายงานและมีหนังสือแจ้งกรมปศุสัตว์มาอย่างเป็นทางการแล้ว อนุญาตให้นำเข้าโค-กระบือ (ทั้งโค-กระบือขุนและพ่อแม่พันธุ์) จากประเทศไทยได้ โดยมีผลทันที เนื่องจากประเทศมาเลเซียมีความเชื่อมั่นในระบบการป้องกันและควบคุมโรคลัมปีสกินในโค-กระบือของประเทศไทยว่ามีมาตรการในการดำเนินการที่ครอบคลุมมีประสิทธิภาพ สามารถกำจัดควบคุมและป้องกันการเกิดโรคได้ มีมาตรการในการตรวจสอบกำกับและการควบคุมการเคลื่อนย้ายที่ชัดเจน โดย DVS และกรมปศุสัตว์ ประเทศไทย ได้ทบทวนจัดทำและบรรลุข้อตกลงร่วมกันเกี่ยวกับมาตรการในการควบคุมโรคลัมปีสกินและขั้นตอนในการนำเข้า ซึ่งจะมีการปรับข้อกำหนดมาตรการและขั้นตอนการนำเข้าบางส่วนให้มีความเหมาะสมมากยิ่งขึ้น โดยจุดประสงค์เพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบในการเกิดโรคจากการเคลื่อนย้ายโค-กระบือเข้าไปในประเทศมาเลเซีย ซึ่งกรมปศุสัตว์ต้องมีการขึ้นทะเบียนทั้งผู้นำเข้า พ่อค้าคนกลาง และเกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบือ และต้องมีการบังคับใช้กฎหมายพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ.2559 และกฎหมายต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง และที่สำคัญต้องกำกับดูแลให้ทั้งผู้นำเข้า พ่อค้าคนกลาง และเกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบือปฏิบัติตามมาตรการในการควบคุมและป้องกันโรคลัมปีสกิน เพื่อให้มั่นใจได้ว่าทุกขั้นตอนทั้งหมดที่เกี่ยวกับการนำเข้าโค-กระบือสามารถป้องกันและลดความเสี่ยงไม่ให้สัตว์ที่เป็นโรคเข้าไปสู่ประเทศมาเลเซียได้ ซึ่งไม่เพียงแต่เพื่อป้องกันและควบคุมโรคลัมปีสกินเท่านั้น ยังครอบคลุมถึงโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) และโรคแท้งติดต่อ (Brucellosis) ด้วย โดยจากข้อมูลกองสารวัตรและกักกันพบว่าตั้งแต่ปี 2561 - มิถุนายน 2564 มีปริมาณโค-กระบือที่นำเข้าไปมาเลเซียประมาณ 68,523 ตัว ซึ่งคาดว่าน่าจะมีการนำเข้าโค-กระบือจากประเทศไทยมากขึ้นในช่วงเทศกาลฮารีรายอ ฮัจจิ (Hari Raya Haji) หรือเทศกาลแห่งการบูชายัญ

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า นับว่าเป็นข่าวดีด้านปศุสัตว์อีกข่าวนึง ทำให้อุตสาหกรรมและผู้เลี้ยงโค-กระบือของประเทศไทยสามารถส่งออกโค-กระบือไปมาเลเซียได้ เพิ่มรายได้และช่องทางตลาดมากขึ้น จึงขอให้เกษตรกรและผู้เลี้ยงโค-กระบือทุกคนร่วมมือกันปฏิบัติตามมาตรการในการควบคุมและป้องกันโรค ทั้งนี้ หากประชาชนต้องการข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อเจ้าหน้าที่เพื่อขอรับข้อมูลเพิ่มเติมหรือ www.dld.go.th หรือแอปพลิเคชัน DLD 4.0 หรือ สายด่วนกรมปศุสัตว์ 063-225 -6888 ได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง


ข้อมูล : คณะทำงานโฆษกกรมปศุสัตว์ ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline