S 2646130

นายสรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันสถานการณ์การเกิดของโรคลัมปี สกินในประเทศไทยมีแนวโน้มดีขึ้นอย่างมาก พบสัตว์ป่วยรายเดือนปี 2565 เทียบปี 2564 มีจำนวนลดลงถึงร้อยละ 99.38 (ในปี 2565 พบค่าเฉลี่ยรายเดือนของจำนวนสัตว์ป่วยทั้งประเทศจำนวน 389 ตัวเท่านั้น เทียบในปี 2564 พบค่าเฉลี่ยรายเดือนของจำนวนสัตว์ป่วยทั้งประเทศ จำนวน 62,654 ตัว) รายงานตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2565 ถึงปัจจุบัน พบสัตว์ป่วยใหม่เพียง 3,115 ตัว (ข้อมูลวันที่ 30 สิงหาคม 2565) ซึ่งสัตว์ป่วยส่วนใหญ่นั้น เป็นลูกสัตว์ซึ่งยังไม่ได้รับวัคซีน ถือเป็นผลสำเร็จอย่างยิ่งจากการดำเนินมาตรการควบคุมป้องกันโรคลัมปี สกินอย่างเข้มงวดต่อเนื่อง และต้องขอขอบคุณทุกภาคส่วนโดยเฉพาะเกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบือที่ให้ความสำคัญความร่วมมือมาโดยตลอด

กรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการตามมาตรการควบคุมและป้องกันโรคลัมปี สกินที่สำคัญ 5 มาตรการ ประกอบด้วย 1. เฝ้าระวังการเกิดโรคอย่างใกล้ชิด เน้นการรู้โรคให้เร็ว เพื่อให้การควบคุมโรคให้สงบอย่างรวดเร็วและการประชาสัมพันธ์เตือนภัยให้เกษตรกรเฝ้าระวังและมีการป้องกันโรคอย่างถูกต้องและต่อเนื่อง 2. เข้มงวดการควบคุมการเคลื่อนย้ายโค กระบือ โดยกรมปศุสัตว์ได้มีการกำหนดมาตรการต่างๆตามสถานการณ์การระบาดของโรค เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุดในการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรค โดยมีผลกระทบต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ให้น้อยที่สุด 3. ควบคุมแมลงพาหะนำโรค โดยการประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรมีการป้องกัน และควบคุมแมลงพาหะนำโรคอย่างถูกวิธี ด้วยการใช้สารกำจัดแมลงทั้งบนตัวสัตว์และบริเวณพื้นที่เลี้ยงสัตว์ เพื่อลดจำนวนแมลงพาหะในการนำโรคเข้าสู่ฟาร์ม รวมถึงการป้องกันโดยวิธีอื่นๆ เช่น การกางมุ้ง ใช้ไฟไล่แมลง กับดักแมลง เป็นต้น ซึ่งมีการดำเนินงาน และได้รับการสนับสนุนและความร่วมมือจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นร่วมด้วย 4. รักษาสัตว์ป่วยตามอาการและระยะการป่วยของโค กระบือ เนื่องจากไม่มียาในการรักษาที่จำเพาะ แต่โค กระบือสามารถหายป่วยจากโรคดังกล่าวได้ หากมีการจัดการดูแลรักษาสัตว์อย่างเหมาะสม โดยมีหน่วยสัตวแพทย์เคลื่อนที่ของกรมปศุสัตว์เข้าดำเนินการช่วยรักษาและให้คำแนะนำในการรักษาอย่างถูกต้องเพื่อลดความสูญเสีย โดยกรมปศุสัตว์มีการสนับสนุนเวชภัณฑ์ในการรักษาและฟื้นฟูสุขภาพโค กระบือให้กลับมามีสุขภาพสมบูรณ์ แข็งแรง และ 5. ดำเนินการฉีดวัคซีนให้กับโค กระบือของเกษตรกร เพื่อให้สัตว์มีภูมิคุ้มกันโรค ลดการแพร่ระบาดของโรคและความสูญเสีย เนื่องจากโรคนี้มีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพในการป้องกันโรคที่ดี โดยในปี 2564 ที่ผ่านมากรมปศุสัตว์มีการนำเข้าวัคซีนจากต่างประเทศรวม 5,360,000 โด๊ส และได้รับการบริจาคจากภาคเอกชนราว 700,000 โด๊ส โดยได้มีการดำเนินการฉีดวัคซีนให้โค กระบือของเกษตรกรทั้งหมดแล้ว นอกจากนี้กรมปศุสัตว์ได้เร่งพัฒนาวัคซีนเพื่อใช้สำหรับป้องกันโรคทดแทนการนำเข้า ซึ่งได้มีการนำไปใช้ในพื้นที่ตั้งแต่เดือนมิถุนายน 2565 แล้ว โดยปัจจุบันมีศักยภาพกำลังการผลิตเดือนละ 50,000 โด๊ส และจะมีกำลังการผลิตเพิ่มขึ้นต่อไปเพื่อความมั่นคงของวัคซีนสำหรับการป้องกันโรคลัมปี สกินของประเทศ

อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวเพิ่มเติมว่า ในปีงบประมาณ 2565 นี้ กรมปศุสัตว์ได้รับการอนุมัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2565 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็น เพื่อควบคุมโรคลัมปี สกินในโค กระบือ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2565 เพื่อจัดซื้อวัคซีนจำนวน 6,300,000 โด๊สเพิ่มเติม เพื่อใช้สำหรับการฉีดกระตุ้นวัคซีนให้กับสัตว์ของเกษตรกรที่เคยได้รับการฉีดวัคซีนมาแล้วและฉีดให้กับสัตว์ที่ยังไม่เคยได้รับการฉีดวัคซีนมาก่อน โดยเฉพาะในลูกสัตว์ที่เกิดใหม่ เพื่อให้สัตว์มีภูมิคุ้มกันระดับฝูงต่อโรคลัมปี สกิน ลดการแพร่ระบาดของโรคและการป่วยตายของสัตว์ รวมทั้งทำให้ประเทศไทยปลอดจากโรคดังกล่าว เนื่องจากการควบคุม ป้องกันและกำจัดโรคภายในประเทศจำเป็นต้องฉีดวัคซีนให้โค กระบือต่อเนื่องอย่างน้อย 3 ปี ตามแนวทางการควบคุม ป้องกันและกำจัดโรคขององค์การสุขภาพสัตว์โลก (WOAH) ทั้งนี้ หากประชาชนต้องการข่าวสารหรือข้อมูลเพิ่มเติมสามารถค้นหาได้ที่ www.dld.go.th หรือที่แอปพลิเคชัน DLD 4.0 หรือสายด่วนกรมปศุสัตว์ 063-225-6888 ได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง

ข้อมูล : คณะทำงานโฆษก กรมปศุสัตว์ ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline