S 14188635 0
เริ่มแล้ว การออกใบอนุญาตและรับรองมาตรฐานปางช้าง กรมปศุสัตว์ระบุ เป็นการยกระดับการเลี้ยง และการจัดสวัสดิภาพช้าง ทั้งยังเป็นการป้องกันการทารุณกรรมช้างตามหลักสากล
 
อธิบดีกรมปศุสัตว์เผย กรมปศุสัตว์เปิดให้ผู้ประกอบการปางช้างยื่นคำขอใบอนุญาตผู้ผลิตสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ และขอรับรองมาตรฐานการปฏิบัติที่ดีสำหรับปางช้าง มกษ 6413-2564 เพื่อยกระดับการเลี้ยงและการจัดสวัสดิภาพช้าง ตลอดจนเป็นการป้องกันการทารุณกรรมช้างตามหลักสากล ซึ่งปัจจุบันมีผู้ประกอบการปางช้างได้รับใบอนุญาตผู้ผลิตฯแล้ว 164 ปาง โดยปางช้างที่เข้าข่ายมาตรฐานบังคับ ได้แก่ “สถานที่ที่ประกอบกิจการเลี้ยงหรือรวบรวมช้างเพื่อการท่องเที่ยว การแสดง หรือประกอบกิจการอื่นที่แสวงหาประโยชน์จากช้าง ทั้งนี้ ไม่ว่าจะเก็บค่าดูหรือค่าบริการในทางตรงหรือทางอ้อมหรือไม่ก็ตาม”
นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวว่า กรมปศุสัตว์เปิดให้ผู้ประกอบการปางช้างดำเนินการขอใบอนุญาตผู้ผลิตฯ และขอรับรองมาตรฐานปางช้าง ตามที่กรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานรับรองมาตรฐานด้านปศุสัตว์และได้รับมอบหมายจากสำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) ให้เป็นผู้ออกใบอนุญาตผู้ผลิตสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับ เรื่อง การปฏิบัติที่ดีสำหรับปางช้าง มกษ 6413-2564 ซึ่งมีผลบังคับใช้วันที่ 19 สิงหาคม 2567 สำหรับใบอนุญาตผู้ผลิตฯ และขอรับรองมาตรฐานปางช้างเป็นมาตรฐานบังคับ แก่ผู้ประกอบการปางช้างทั่วประเทศ กรมปศุสัตว์ร่วมกับ มกอช. ได้เตรียมความพร้อมและช่วยเหลือผู้ประกอบการปางช้างในการเข้าสู่มาตรฐานบังคับ ทั้งเรื่องการอบรมให้ความรู้ด้านมาตรฐาน ข้อกำหนดต่างๆ และการออกหน่วยเคลื่อนที่รับคำขอใบอนุญาตผู้ผลิตสินค้าเกษตรตามมาตรฐานบังคับแก่ผู้ประกอบการปางช้างทั่วประเทศ 
 
อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวเพิ่มเติมว่า การกำหนดมาตรฐานปางช้างบังคับ เป็นการยกระดับการเลี้ยงและการจัดสวัสดิภาพช้าง ทั้งยังเป็นการป้องกันการทารุณกรรมช้างตามหลักสากล สืบเนื่องจากช้างมีบทบาทด้านการท่องเที่ยวของประเทศไทย และได้สร้างรายได้ที่สำคัญของประเทศ ทั้งในส่วนเศรษฐกิจ ภาพลักษณ์ และอัตลักษณ์ของการท่องเที่ยวของประเทศ จึงต้องกำหนดมาตรการความปลอดภัยของนักท่องเที่ยว บุคลากรในปางช้างและช้าง การจัดการเลี้ยงที่ถูกต้อง การดูแลสวัสดิภาพและสุขภาพช้างให้เหมาะสม การป้องการทารุณกรรมช้าง ตลอดจนลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะทำให้เกิดความยั่งยืนในส่วนของการท่องเที่ยวที่เป็นระบบ ทั้งนี้ การกำหนดปางช้างบังคับเป็นไปตามพระราชบัญญัติมาตรฐานสินค้าเกษตร พ.ศ. 2551 และที่แก้ไขเพิ่มเติม หากผู้ประกอบการปางช้างไม่ได้รับใบอนุญาตผู้ผลิตฯ ต้องระวางโทษปรับไม่เกินสามแสนบาท และไม่ได้รับการรับรองมาตรฐานปางช้างต้องระวางโทษปรับไม่เกินห้าแสนบาท ซึ่งมาตรฐานบังคับดังกล่าวไม่ครอบคลุมถึงการเลี้ยงช้างในครัวเรือนและการเลี้ยงช้างไว้ใช้แรงงาน เช่น การชักลาก อย่างไรก็ตาม เจ้าของช้างทุกรายจะต้องปฏิบัติตามพระราชบัญญัติป้องการทารุณกรรมและจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557 ด้วย
 
กรมปศุสัตว์ จึงขอประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประกอบการปางช้างทุกประเภทยื่นขอใบอนุญาตผู้ผลิตฯ และขอรับรองมาตรฐานปางช้างผ่านทางระบบอิเล็กทรอนิกส์ TAS-License ได้ที่ http://tas.acfs.go.th/nsw/ และยื่นคำขอรับรองมาตรฐานปางช้าง ได้ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่ที่ปางช้างตั้งอยู่ ทั้งนี้ สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ โทร 02-653-4444 ต่อ 3155
 
---------------------------------------
ข้อมูล/ข่าว: สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์ กรมปศุสัตว์ (20 กย.67)
เรียบเรียง: คณะทำงานโฆษกกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline