S 39403844

วันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 นายสัตวแพทย์จีระศักดิ์ พิพัฒนพงศ์โสภณ รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นวิทยากรบรรยายในเรื่อง “Proactive against African Swine Fever” ในงานสัมมนา ”รู้ทัน และมาตรการเฝ้าระวังอหิวาต์แอฟริกาในสุกร” ให้แก่ฟาร์มลูกค้าอาหารสัตว์ซีพีเอฟ ณ ห้องประชุมโรงแรมสุโกศล ซึ่งจัดโดยธุรกิจอาหารสัตว์บก บมจ.ซีพีเอฟ (ประเทศไทย)

 

โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อให้ข้อมูล สถานการณ์โรค และมาตรการเฝ้าระวังโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ให้แก่ผู้เข้าร่วมประชุม รองอธิบดีได้บรรยายถึงมาตรการต่างๆที่กรมปศุสัตว์ดำเนินการเพื่อเตรียมรับมือกับโรค ไม่ว่าจะเป็นเรื่องการจัดทำมาตรการ Clinical Practice Guideline (CPG) ร่วมกับหน่วยงานต่างๆ การทำหนังสือขอความร่วมมือทุกภาคส่วน การเข้มงวดการนำเข้าและชะลอการนำเข้าสินค้าสุกรจากสาธารณรัฐประชาชนจีน และการตรวจสัมภาระผู้เดินทางจากสาธารณรัฐประชาชนจีน ทั้งนี้กรมปศุสัตว์ได้มีการสำรวจโรคโดยการเก็บตัวอย่างจากจุดเสี่ยงเพื่อค้นหาโรคเชิงรุก เพื่อเป็นการเฝ้าระวังที่เต็มประสิทธิภาพ และซักซ้อมแผนการในกรณีที่พบและมีการระบาดของโรค

รองอธิบดีได้เน้นย้ำให้ผู้ประกอบการทำระบบความปลอดภัยทางชีวภาพอย่างเข้มแข็งและเข้มงวดกับการดำเนินงานของพนักงาน ให้ฟาร์มมีพื้นที่ buffer zone เพื่อการเฝ้าระวังโรครอบๆ รัศมี 5 กม. และขอให้ผู้ประกอบการให้ความร่วมมือกับเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในการสังเกตและแจ้งโรคหากเกิดอาการตามนิยาม

รองอธิบดีเน้นย้ำให้ผู้ประกอบการมีความตระหนัก แต่อย่าตื่นตระหนกในสถานการณ์ของโรค และป้องกันฟาร์มของตนเองให้รอบด้าน เพื่อป้องกันทรัพย์สินของตนให้ดีที่สุด

13.30 น. ให้สัมภาษณ์ในรายการความรู้คู่เกษตร ของสถานีโทรทัศน์เกษตรทีวี HD49 เรื่อง อหิวาต์แอฟริกาในสุกร ประเด็น รู้เท่าทัน โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ณ ห้องรับรอง ตึกอำนวยการ กรมปศุสัตว์

เนื่องด้วยโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรไม่เคยมีการระบาดในประเทศไทย หากสุกรติดเชื้อ จะตายเกือบ 100% และเชื้อมีความทนทาน ไม่มียารักษา และวัคซีนป้องกันโรค กรมปศุสัตว์มีมาตรการในการเฝ้าระวังและป้องกันโรคในด้านต่างๆ ทั้งการเข้มงวดตามบริเวณพรมแดน ขอความร่วมมือจากหน่วยงานทุกภาคส่วน อีกทั้งได้ฝากให้เกษตรกรและประชาชนงดสั่งซื้อผลิตภัณฑ์สุกรจากประเทศจีน เพื่อลดความเสี่ยงในการนำเชื้อเข้าสู่ประเทศไทย ถึงแม้ว่าจะเป็นโรคที่ไม่ส่งผลเสียต่อสุขภาพคน และเศษอาหารที่เหลือเลี้ยงสุกร อาจทำให้เกิดการระบาดของโรคได้ ทั้งนี้ หากมีข้อสงสัยหรือพบอาการที่สงสัยว่าจะเป็นโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร ให้แจ้งได้ที่แอพลิเคชั่น DLD 4.0 หรือ โทร 0632256888

ที่มาของข้อมูล : คณะทำงานโฆษกกรมปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline