5 02 62 001

วันที่ 4 มีนาคม 2562 เวลา 15.30 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจในพื้นที่จังหวัดสุรินทร์ กลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 พระราชทาน บ้านกระเบื้อง ตำบลนาหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี มีผู้ว่าราชการจังหวัดสุรินทร์ นายอำเภอ นายกองค์การบริหารส่วนตำบล และเจ้าหน้าที่มูลนิธิชัยพัฒนา เฝ้ารับเสด็จฯ พร้อมด้วยนายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์และคณะ ร่วมเฝ้ารับเสด็จฯ และกราบบังคมทูลรายงานข้อมูลในส่วนของกรมปศุสัตว์

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จทอดพระเนตรวัว ซึ่งนางสาวสุพัตรา ชัยวิฆเนศ น้อมเกล้าฯ ถวายจำนวน 32 ตัว เพื่อพระราชทานแก่สมาชิกกลุ่มผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 พระราชทาน บ้านกระเบื้อง ที่ไม่ใช้สารเคมีในการผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าว ทรงมีพระราชปฏิสันถารกับสมาชิกผู้ผลิตเมล็ดพันธุ์ข้าวหอมมะลิ 105 พระราชทาน บ้านกระเบื้อง และทรงเยี่ยมราษฎร การดำเนินงานของกรมปศุสัตว์ด้านตรวจสุขภาพโคเนื้อพระราชทานจำนวน 32 ตัว (เพศผู้ 15 ตัว เพศเมีย 17 ตัว และมีลูกเกิดใหม่ 1 ตัว) อายุระหว่าง 6 เดือนถึง 7 ปี ได้ทำการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อย (FMD) และโรคเฮโมรายิก เซพติคซีเมีย (HS) ทำการถ่ายพยาธิ และให้ยาบำรุง มีการตรวจสุขภาพ ได้แก่ ทดสอบโรควัณโรค โรคบรูเซลลา ตรวจเลือด ตรวจพยาธิในเลือด และตรวจพยาธิเม็ดเลือด ซึ่งโคทุกตัวมีสุขภาพที่ดี เกษตรกรสามารถนำไปเลี้ยงและขยายพันธุ์ต่อไปได้ นอกจากนี้ ได้กราบบังคลทูลฯ ขอพระราชทาน พระราชานุญาต น้อมเกล้าน้อมกระหม่อม ถวายหมูดำเชียงใหม่ จำนวน 4 ตัว (เพศผู้ 2 ตัว และเพศเมีย 2 ตัว) และเป็ดเทศกบินทร์บุรี จำนวน 12 ตัว (เพศผู้ 2 ตัว และเพศเมีย 10 ตัว) เพื่อทรงใช้ประโยชน์ตามที่ทรงมีพระราชวินิจฉัยต่อไป และกราบบังคลทูลฯ รายงานเพิ่มเติม เรื่อง 1. เป็ดเทศกบินทร์บุรี ซึ่งพัฒนามาจากพันธุ์บาร์บารี ได้รับการสนับสนุนจากภาคเอกชนเมื่อปี พ.ศ. 2534 จำนวน 80 ตัว นำเข้าจากประเทศฝรั่งเศส นำไปใช้ประโยชน์เป็นพ่อแม่พันธุ์ในการผลิตเป็ดเนื้อ เนื่องจากเลี้ยงง่าย โตเร็ว ขยายพันธุ์ได้ดี ต้านทานโรค และปรับตัวเข้ากับภูมิอากาศและสิ่งแวดล้อมไทยได้ดี ปัจจุบันอยู่ที่ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์ปีกปราจีนบุรี อุบลราชธานี สุพรรณบุรี กระบี่ นครพนม ศรีสะเกษ และสงขลา ผลิตลูกได้ 234,400 ตัว 2. หมูดำเชียงใหม่ เป็นการวิจัยและพัฒนาสายพันธุ์ ผสมผสานพันธุกรรมระหว่างสุกร 4 สายพันธุ์ เพื่อพัฒนาให้เป็นสุกรพันธุ์ที่ดีให้เนื้อนุ่ม มีไขมันแทรก เป็นที่ต้องการของตลาดผู้บริโภคที่ต้องการเนื้อคุณภาพสูง สุกรที่นำมาพัฒนาพันธุ์ประกอบด้วย พันธุ์เปียแตรงและพันธุ์พื้นเมืองไทย (สายพ่อพันธุ์) พันธุ์เหมยซานและพันธุ์ดูร็อค (สายแม่พันธุ์) มีการขยายการผลิตและการนำไปใช้ประโยชน์ไปยังหน่วยงานต่างๆ 4 แห่ง ได้แก่ ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์เชียงใหม่ ศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์แม่ฮ่องสอน ศูนย์วิจัยและพัฒนากระบือ และศูนย์วิจัยและบำรุงพันธุ์สัตว์สุราษฎร์ธานี เพื่อพัฒนา ส่งเสริม และกระจายพันธุ์สู่เกษตรกรนำไปใช้ประโยชน์ต่อไป ณ ตำบลนาหนองไผ่ อำเภอชุมพลบุรี จังหวัดสุรินทร์

ที่มาของข้อมูล : สำนักงานเลขานุการกรม


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline