สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินเยือนศูนย์นพัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยชอน-ห้วยชั้ว
(หลัก ๒๒) สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
10.00น. สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนิน เสด็จพระราชดำเนินถึงศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยชอน-ห้วยชั้ว (หลัก ๒๒) (เป็นโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริแห่งแรกในสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว ตั้งอยู่ที่บ้านนายาง เมืองนาชายทอง นครหลวง โดยน.สพ.สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ มอบหมายให้ นายพงษ์พันธ์ ธรรมมา รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมรับเสด็จ
เวียงจันทน์ กิโลเมตรที่๒๒ เมื่อวันที่ เมษายน ๒๕๗ พระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตรเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดโครงการศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยชอนะห้วยชั้ว (หลัก๒๒) อย่างเป็นทางการ โดยมีพระราชดำริให้จัดตั้งโครงการศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยชั้ว (หลัก ๒๒) ตามคำกราบบังคมทูลขอพระราชทานของฯพณฯ ไกสอน พมวิหาน ประธานประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาวขณะนั้น ซึ่งเคยเดินทางมาเยี่ยมชมต้นแบบจากศูนย์ศึกษาการพัฒนาห้วยฮ่องไคร้ จังหวัดเชียงใหม่และศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ จังหวัดสกลนคร เมื่อปี๒๕๓๕
โครงการศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยชั้ว (หลัก ๒๒) มีพื้นที่ประมาณ๓๒๕ ไร่ มีลำห้วย ๒ สาย คือ ห้วยชอนและห้วยชั้วล้อมรอบพื้นที่ศูนย์ฯ ซึ่งเป็นเนินสลับกับพื้นที่ลุ่ม ตั้งแต่เริ่มจัดตั้งเมื่อปี ๒๕๓๗ จนถึงปัจจุบัน โครงการศูนย์พัฒนาและบริการด้านการเกษตรห้วยซอน-ห้วยชั้ว (หลัก ๒๒) ได้จัดตั้งองค์กรบริหารโครงการฯ ขึ้นในรูปแบบ "คณะทำงานฝ่ายไทย" ประกอบด้วยสำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (สำนักงาน กปร.) ทำหน้าที่เป็นหน่วยประสานงานกลางเชื่อมประสานการปฏิบัติงานกับหน่วยราชการจากกรมชลประทาน กรมวิชาการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน กรมปศุสัตว์ กรมประมงสถานเอกอัครราชทูต ณ เวียงจันทน์ และ "คณะทำงานฝ่ายลาว" ประกอบด้วย กระทรวงต่างประเทศ กระทรวงกสิกรรมและป่าไม้ นครหลวงเวียงจันทน์ เมืองนาชายทอง เพื่อร่วมกันกำหนดนโยบาย วางแผน และบริหารงานโครงการอย่างต่อเนื่อง โดยใช้แนวทางของศูนย์ศึกษาการพัฒนาภูพานอันเนื่องมาจากพระราชดำริ โดยมีภารกิจหลัก ได้แก่ การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน การพัฒนาแหล่งน้ำ การจัดทำกิจกรรมใน ด้านต่าง ๆ ประกอบด้วย การสาธิตด้านการประมง ปศสัตว์ พัฒนาที่ดินและพัฒนาด้านพืช การให้บริการผลิตพันธุ์ปลา พันธุ์พืช พันธุ์สัตว์และการฝึกอบรมให้ความรู้แก่เกษตรกรที่มาศึกษาดูงานทั่วไป รวมทั้งการพัฒนาให้คำแนะนำทางวิชาการ และการถ่ายทอดเทคโนโลยีเพื่อการ พัฒนาด้านการเกษตรอย่างยั่งยืน โดยมุ่งเน้นที่เกษตรกรหมู่บ้านเป้าหมายรอบศูนย์ฯ และขยายขอบเขตการให้บริการ ซึ่งมีผลการดำเนินงานที่ก้าวหน้ามาโดยตลอด)
ภาพ : กรมชลประทาน
ภาพ/ข่าว : กรมปศุสัตว์