IMG 2944
สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ พระราชดำเนินงานวันลองกองครั้งที่ 47 ประจำปี 2567

วันพฤหัสบดีที่ 26 กันยายน 2567 สมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินไปยังสวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส ทอดพระเนตรงานวันลองกอง ครั้งที่ 47 ประจำปี 2567 งานแข่งขันประชันเสียงนกเขาชวา งานศิลปาชีพและงานกระจูด และผลงานทางวิชาการของส่วนราชการต่างๆ ในงาน “ของดีเมืองนรา” โดยมีนายอิทธิ ศิริลัทธยากร รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กราบบังคมทูลรายงานความเป็นมาและวัตถุประสงค์ของการจัดงาน นายสัตวแพทย์สมชวน รัตนมังคลานนท์ อธิบดีกรมปศุสัตว์ นายพงษ์พันธ์ ธรรมมา รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ นายบุญศักดิ์ เกลียวกมลทัต ที่ปรึกษากรมปศุสัตว์ นายสัตวแพทย์ ดร.อนิรุธ เนื่องแม็ก ปศุสัตว์เขต 9 นายจักรพงษ์ ขานโบ ปศุสัตว์จังหวัดนราธิวาส นายธีรวิทย์ ขาวบุบผา ผู้อำนวยการกองงานพระราชดำริและกิจกรรมพิเศษ นายเฉลิมพล บุญเจือ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาปศุสัตว์ตามพระราชดำริ อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เฝ้ารับเสด็จฯ

ในโอกาสนี้ กรมปศุสัตว์ได้กราบบังคมทูลรายงานนิทรรศการผลการดำเนินงานด้านปศุสัตว์ ประกอบด้วย
- การดำเนินงานของศูนย์สาธิตการเลี้ยงสัตว์ในโครงการต่างๆ ได้แก่ โครงการศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทอง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ (งานปศุสัตว์) โครงการหมู่บ้านปศุสัตว์ – เกษตรมูโนะ อันเนื่องมาจากพระราชดำริ และโครงการหมู่บ้านจุฬาภรณ์พัฒนา 5 ซึ่งเป็นการดำเนินการเกี่ยวกับการสาธิตการเลี้ยงสัตว์ การผลิตสัตว์ การสร้างความรับรู้เกษตรกรรมยั่งยืน เพื่อส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสัตว์ให้แก่เกษตรกรในพื้นที่
- การดำเนินงานโครงการปรับปรุงพันธุ์ ทดสอบพันธุ์ไก่พื้นเมืองด่านซ้ายหมายเลข 1 โดยพัฒนาพันธุ์จากไก่เหลืองชัยพัฒนาด่านซ้าย(อู่ติง) จากศูนย์พัฒนาพันธุ์สัตว์พระราชทานด่านซ้าย อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย ให้มีสมรรถภาพการผลิตสูง สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อม และการจัดการของเกษตรกรในพื้นที่จังหวัดชายแดนใต้ เพื่อให้ได้ไก่พื้นเมืองสายพันธุ์ใหม่ที่สามารถสร้างให้เป็นสายพันธุ์ที่มีความเป็นอัตลักษณ์เฉพาะพื้นที่​ เป็นที่ยอมรับ และส่งเสริมให้ประชาชนในพื้นที่บริโภค เพื่อให้เกิดการเลี้ยงอย่างแพร่หลาย เป็นการส่งเสริมพัฒนาอาชีพและการพัฒนาคุณภาพชีวิตจากการสร้างความมั่นคงทางอาหาร และการสร้างรายได้แก่เกษตรกร
- สายพันธุ์ไก่พระราชทาน "ไก่โร๊ดไอส์แลนด์เรด" ได้รับการปรับปรุงพันธุ์จนมีหงอนแบบหงอนจักรขนาดกลาง (หงอนจักร 5 แฉก) ลักษณะประจำพันธุ์ มีรูปร่างค่อนข้างยาวและลึก เป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ขนทั่วไปตามลำตัวมีสีน้ำตาลแดงเข้ม ขนปีกขนหางมีสีดำเหลือบเขียว ผิวหนังและหน้าแข้งมีสีเหลืองจัด ปากมีสีแดงเหลือง ตาสีเหลือง แผ่นหูมีสีแดง นิสัยเชื่อง สามารถปรับตัวเข้ากับสภาพแวดล้อมได้ดี เปลือกไข่มีสีน้ำตาลอ่อนถึงน้ำตาล ขนาดไข่ใหญ่ปานกลาง เริ่มให้ไข่เมื่ออายุประมาณ 5 เดือนครึ่ง ให้ไข่ค่อนข้างดก คือ ให้ไข่ประมาณ 280-300 ฟอง/ปี เมื่อโตเต็มที่เพศผู้หนัก 3.1-4.0 กิโลกรัม เพศเมียหนัก 2.4-4.0 กิโลกรัม ปัจจุบันนิยมเลี้ยงเพื่อเป็นพันธุ์ตั้งต้นในการผลิตไก่ไข่ลูกผสมทางการค้า เพื่อให้ได้ลูกผสมที่สามารถคัดเพศเมื่อแรกเกิดได้ โดยใช้ไก่โร๊ดเพศผู้ผสมกับบาร์พลีมัทร็อคเพศเมีย ลูกผสมที่ได้จะให้ไข่ดก ไข่มีเปลือกสีน้ำตาล และให้ไข่ฟองโต
- สายพันธุ์เป็ดไข่พระราชทาน "กากีแคมป์เบลล์" ลักษณะประจำพันธุ์ คือ เป็ดมีขนสีน้ำตาล แต่ขนที่หลังและปีกมีสีสลับอ่อนกว่า ปากสีดำค่อนข้างไปทางเขียว จะงอยปากต่ำ ตาสีน้ำตาลเข้ม คอส่วนบนสีน้ำตาลแต่ส่วนล่างเป็นสีกากี ขาและเท้ามีเดียวกับสีขน แต่เข้มกว่าเล็กน้อย เพศเมีย เมื่อโตเต็มที่น้ำหนักประมาณ 2.0-2.5 กิโลกรัม เริ่มไข่เมื่ออายุ ประมาณ 4 เดือนครึ่ง ให้ไข่ประมาณ 300ฟอง/ปี เพศผู้ เมื่อโตเต็มที่จะมีน้ำหนักประมาณ 2.5-2.7 กิโลกรัม จะมีขนบนหัว คอไหล่และปลายปีกสีเขียว ขนปกคลุมลำตัวสีกากีและน้ำตาล ขาและเท้าสีกากีเข้ม
- การดำเนินงานโครงการไก่ไข่พระราชทาน โดยศูนย์ศึกษาการพัฒนาพิกุลทองฯ ได้ผลิตไก่ไข่ลูกผสมระหว่างพันธุ์โร๊ดไอร์แลนด์เรดและไก่พันธุ์ไทยบาร์ และดำเนินงานส่งเสริมและขยายผลไปยังโรงเรียนในโครงการเกษตรอาหารกลางวัน เกษตรกรในพื้นที่ขยายผล ได้แก่ พื้นที่หมู่บ้านรอบศูนย์พื้นที่ศูนย์สาขา พื้นที่ที่มีพระราชดำริให้ดำเนินการ และพื้นที่ที่มีความพร้อมและความเหมาะสม และมารดาตั้งครรภ์และมารดาที่มีเด็กเล็กในพื้นที่เป้าหมาย โครงการเกษตรอาหารกลางวัน
- การดำเนินงานโครงการธนาคารโค - กระบือ เพื่อเกษตรกร ตามพระราชดำริ
- รูปแบบการจัดการอาหารหยาบ สำหรับเลี้ยงโคเนื้อนิคมสหกรณ์ปีเหล็ง ซึ่งพื้นที่ส่วนใหญ่ของนิคมสหกรณ์ปิเหล็งเป็นสวนปาล์มน้ำมัน เกษตรกรสามารถเลี้ยงโคเนื้อเป็นอาชีพเสริมโดยใช้ระบบพึ่งพา ปลูกพืชเลี้ยงสัตว์ แต่สวนปาล์มน้ำมันมีปัญหาด้านแสงแดดส่อง ทำให้มีข้อจำกัดในการปลูกพืชอาหารสัตว์ การอาศัยพึ่งพาหญ้าธรรมชาติ เช่น หญ้าขุยไผ่ขน หญ้าใบมัน และผลพลอยได้ทางการเกษตรเพื่อใช้เป็นอาหารสัตว์ และสำรองเสบียงสัตว์ในช่วงการเกิดภัยพิบัติ จึงเป็นแนวทางการจัดการอาหารหยาบในพื้นที่ ทางใบปาล์มน้ำมันเป็นผลพลอยได้ทางการเกษตรมีคุณค่าทางโภชนะใกล้เคียงกับฟางข้าวและยอดอ้อยสามารถนำไปปรับปรุงคุณภาพใช้เป็นอาหารหยาบร่วมกับอาหารข้นหรือใบพืชตระกูลถั่วที่มีโปรตีนสูงเลี้ยงโคเนื้อ
- การดำเนินงานเรื่องการพัฒนาการแปรรูปและการส่งเสริมการตลาดผลิตภัณฑ์เนื้อโคดำบางนรา ที่มีการส่งเสริมการเลี้ยงให้เกษตรกรในพื้นที่ โดยทำเป็นผลิตภัณฑ์เนื้อแผ่นปรุงรสโคดำบางนรา และข้าวหน้าเนื้อโคดำบางนรา ทำให้เกิดการเพิ่มมูลค่า
- BCG model ภาคปศุสัตว์ เกี่ยวกับการจัดการโคเนื้อ ซึ่งเป็นการนำเอาของเสียและผลพลอยได้จากการเลี้ยงโคเนื้อมาใช้ประโยชน์ โดยก่อให้เกิดการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทะภาพ
- การทำบ่อแก๊สชีวภาพ โดยการนำของเสีย เช่น มูลสัตว์ และของเหลือใช้ทางการเกษตร มาผ่านกระบวนการหมักเพื่อให้เกิดการย่อยสลายสารอินทร์ในสภาวะไร้ออกซิเจน สามารถลดรายจ่ายค่าแก๊สหุงต้มภาคครัวเรือนได้ นอกจากนี้กากของมูลสัตว์ที่ผ่านการย่อยสลายเป็นปุ๋ยอินทรีย์นำไปใส่พืชผักไร่นา ผลผลิตที่ได้มีความปลอดภัยไร้สารพิษช่วย ลดมลภาวะสิ่งแวดล้อมจากของเสีย และลดการตัดไม้ทำลายป่าได้

กรมปศุสัตว์ ขอเชิญชวนประชาชนเข้าร่วมงานวันลองกองครั้งที่ 47 ประจำปี 2567 ได้ตั้งแต่วันนี้ จนถึงวันที่ 28 กันยายน 2567 ณ สวนสาธารณะเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบ พระชนมพรรษา อำเภอเมืองนราธิวาส จังหวัดนราธิวาส

ข้อมูล​ : กองงานพระราชดำริและกิจกรรมพิเศษ / ภาพ​ : ธงชัย​ สาลี​ / ข่าว​ : สลิลรัตน์​ ชูโชติ​ กลุ่มเผยแพร่และประชาสัมพันธ์​ กรมปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline