2564 11 18 0031

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ มอบหมายให้ นายสุรเดช สมิเปรม รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ เป็นประธานในพิธีมอบกรรมสิทธิ์ แม่โคเนื้อเพศเมียแก่เกษตรกร ในโครงการโคบาลบูรพา สระแก้ว รวม 54 ราย พร้อมมอบเสบียงอาหารสัตว์ TMR สำหรับโคเนื้อ โคนม เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากอุทกภัย โดยมีนายจักรพงษ์ พันธุ์โชติ นายอำเภอวัฒนานครกล่าวต้อนรับ นายประสิทธิ์ ต้อยติ่ง ปศุสัตว์จังหวัดสระแก้ว กล่าวรายงาน พร้อมด้วยผู้บริหาร และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เข้าร่วมพิธี ในวันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน 2564 ณ หอประชุมอำเภอวัฒนานคร จังหวัดสระแก้ว
นายสุรเดช สมิเปรม รองอธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า กรมปศุสัตว์เล็งเห็นความสำคัญในการมอบกรรมสิทธ์แม่โคเนื้อเพศเมีย เพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรมีความตั้งใจ อีกทั้งยังเป็นการสร้างขวัญ กำลังใจให้กับเกษตรกรที่มีความตั้งใจเลี้ยงโคเนื้อ และได้รับประโยชน์จากโครงการโคบาลบูรพา ซึ่งผู้ให้ยืมจะมอบกรรมสิทธิ์แม่โคเนื้อให้แก่ผู้ยืมทันที เมื่อผู้ยืมได้ส่งลูกโคเนื้อเพศเมียที่มีอายุครบ 12 เดือน จำนวน 5 ตัว ให้แก่ผู้ยืม ซึ่งจะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อเกษตรกร เพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูเกษตรกรในพื้นที่ประสบภัยแล้ง และส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกรในพื้นที่ ส.ป.ก. เพื่อปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสมไปเลี้ยงปศุสัตว์ สร้างรายได้ที่มั่นคงให้เกษตรกรอย่างยั่งยืน และเพื่อส่งเสริม พัฒนาอุตสาหกรรมโคเนื้อครบวงจรในพื้นที่ภาคตะวันออก โดยส่งเสริมให้มีการเลี้ยงแม่โคเนื้อผลิตลูก ส่งเสริมการเลี้ยงแพะพันธุ์ดี ปรับเปลี่ยนพื้นที่ปลูกข้าวที่ไม่เหมาะสมไปปลูกพืชอาหารสัตว์ จัดตั้งโรงฆ่าสัตว์มาตรฐาน GMP ส่งเสริมแปลงใหญ่ และจัดตั้งสหกรณ์ “โคบาลบูรพา”
รอธ.สุรเดช กล่าวเพิ่มเติมว่า กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้มอบหมายให้กรมปศุสัตว์ร่วมกับสำนักงานการปฏิรูปที่ดินเพื่อเกษตรกรรม กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมสหกรณ์ กรมส่งเสริมการเกษตร กรมชลประทาน และจังหวัดสระแก้ว จัดทำโครงการ “โคบาลบูรพา” เพื่อช่วยเหลือฟื้นฟูเกษตรกรในพื้นที่ประสบภัยแล้ง ซึ่งปลูกข้าวในพื้นที่ที่ไม่เหมาะสมไปเป็นเลี้ยงปศุสัตว์ และส่งเสริมอาชีพปศุสัตว์ให้เกษตรกรในพื้นที่ ส.ป.ก. ที่ถูกยึดคืน ซึ่งเป็นพื้นที่มีศักยภาพในการเลี้ยงสัตว์ และพัฒนาให้จังหวัดสระแก้วเป็นเมืองแห่งปศุสัตว์ “โคบาลบูรพา” ที่สำคัญของประเทศ เนื่องจากมีทำเลที่ตั้งและลักษณะพื้นที่เหมาะสม เป็นเขตเศรษฐกิจพิเศษชายแดนเชื่อมต่อกับประเทศกัมพูชาและเวียดนาม มีศักยภาพในการพัฒนาอุตสาหกรรมโคเนื้ออย่างครบวงจร ซึ่งจะสามารถเพิ่มผลผลิตให้เพียงพอต่อความต้องการบริโภคของประชาชนและนักท่องเที่ยว ในพื้นที่ภาคตะวันออก ลดการนำเข้าเนื้อสัตว์ และการเคลื่อนย้ายสัตว์เข้าเขตปลอดโรคปากและเท้าเปื่อย และสร้างโอกาสในการผลิตเนื้อโคส่งออกตลาด AEC ในอนาคต

 ข่าว พิจารณา สามนจิตติ  /  ภาพ ฉัตรชัย นวลปลอด เผยแพร่ฯ สลก. รายละเอียดเพิ่มเติม

2564_11_18_0001.jpg 2564_11_18_0002.jpg 2564_11_18_0003.jpg

2564_11_18_0004.jpg 2564_11_18_0005.jpg 2564_11_18_0006.jpg

2564_11_18_0007.jpg 2564_11_18_0008.jpg 2564_11_18_0009.jpg

2564_11_18_0010.jpg 2564_11_18_0011.jpg 2564_11_18_0012.jpg

2564_11_18_0013.jpg 2564_11_18_0014.jpg 2564_11_18_0015.jpg

2564_11_18_0016.jpg 2564_11_18_0017.jpg 2564_11_18_0018.jpg

2564_11_18_0019.jpg 2564_11_18_0020.jpg 2564_11_18_0021.jpg

2564_11_18_0022.jpg 2564_11_18_0023.jpg 2564_11_18_0024.jpg

2564_11_18_0025.jpg 2564_11_18_0026.jpg 2564_11_18_0027.jpg

2564_11_18_0028.jpg 2564_11_18_0029.jpg 2564_11_18_0030.jpg

2564_11_18_0031.jpg 2564_11_18_0032.jpg 2564_11_18_0033.jpg

2564_11_18_0034.jpg 2564_11_18_0035.jpg 2564_11_18_0036.jpg

2564_11_18_0037.jpg 2564_11_18_0038.jpg 2564_11_18_0039.jpg

2564_11_18_0040.jpg 2564_11_18_0041.jpg 2564_11_18_0042.jpg

2564_11_18_0043.jpg 2564_11_18_0044.jpg 2564_11_18_0045.jpg

2564_11_18_0046.jpg 2564_11_18_0047.jpg 2564_11_18_0048.jpg

2564_11_18_0049.jpg 2564_11_18_0050.jpg 2564_11_18_0051.jpg

2564_11_18_0052.jpg 2564_11_18_0053.jpg 2564_11_18_0054.jpg

2564_11_18_0055.jpg 2564_11_18_0056.jpg 2564_11_18_0057.jpg

2564_11_18_0058.jpg