25611207 2

นายสรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ในเดือนธันวาคม 2561 ถึงมกราคม 2562 นี้ กรมปศุสัตว์กำหนดให้มีการรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยและโรคเฮโมรายิกเซปทิซีเมีย พร้อมกับการทำลายเชื้อโรคในพื้นที่เสี่ยง จึงขอความร่วมมือเกษตรกรผู้เลี้ยงโค กระบือ แพะ แกะ นำสัตว์มาฉีดวัคซีนป้องกันโรคดังกล่าว เพื่อเพิ่มระดับภูมิคุ้มกันโรคและลดความสูญเสียจากการระบาด โดยติดต่อได้ที่สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดหรือสำนักงานปศุสัตว์อำเภอใกล้บ้านพร้อมกันทั่วประเทศ

 

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า การฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยและโรคเฮโมรายิกเซปทิซีเมียให้กับโค กระบือ แพะ แกะเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่ง เพื่อให้สัตว์ของเกษตรกรมีภูมิคุ้มกัน สามารถป้องกันการเกิดโรคได้ และเพื่อลดปริมาณเชื้อ ลดการเกิดโรคหรือการแพร่ระบาดของโรคในพื้นที่ เนื่องจากการระบาดของโรคแต่ละครั้ง ส่งผลต่อเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ให้ได้รับความเสียหายอย่างมาก ทั้งจากการสูญเสียรายได้ ค่าใช้จ่ายในการรักษาสัตว์ป่วยและค่ายาสำหรับฆ่าเชื้อโรคในฟาร์ม ซึ่งการดำเนินการของกรมปศุสัตว์จะเน้นการฉีดวัคซีนป้องกันโรคในโคนม โคเนื้อ กระบือ แพะ แกะ และจัดทำประวัติการฉีดวัคซีน พร้อมทั้งจัดส่งเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ให้บริการฉีดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในพื้นที่เสี่ยง เช่น ตลาดนัดค้าสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ คอกกักสัตว์ รถบรรทุกสัตว์ สหกรณ์โคนมและศูนย์รับนม เป็นต้น อีกทั้งประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่เกษตรกรเกี่ยวกับโรคปากและเท้าเปื่อย ซึ่งเป็นโรคระบาดที่สำคัญที่สุดโรคหนึ่งของโค กระบือ แพะ แกะ เนื่องจากติดต่อได้เร็ว โดยโรคนี้ไม่ทำให้สัตว์ถึงตายแต่ทำให้สัตว์สุขภาพทรุดโทรม ผลผลิตลดลง ส่วนโรคเฮโมรายิกเซปทิซีเมียเป็น

โรคระบาดรุนแรงในกระบือ ทำให้กระบือป่วยตายอย่างเฉียบพลัน ซึ่งทั้งสองโรคนี้ก่อให้เกิดผลกระทบต่อเกษตรกร หรือผู้เลี้ยงสัตว์เป็นอย่างมาก แต่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันโรค

ท้ายนี้อธิบดีกรมปศุสัตว์ ขอความร่วมมือเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ให้ดูแลสัตว์ของตนเองให้มีสุขภาพสมบูรณ์แข็งแรง และป้องกันสัตว์ของตนเองไม่ให้สัมผัสกับปัจจัยเสี่ยงต่างๆที่จะนำเชื้อโรคเข้าฟาร์ม ได้แก่ คน ยานพาหนะต่างๆ ถังนม สัตว์ที่นำเข้ามาเลี้ยงใหม่ ถุงอาหารสัตว์ เป็นต้น ประกอบกับหมั่นสังเกตอาการของสัตว์อย่างสม่ำเสมอ หากพบสัตว์แสดงอาการป่วย หรือตายผิดปกติโดยไม่ทราบสาเหตุ ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ อาสาปศุสัตว์ อาสาสมัครสาธารณสุข กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน หรือองค์การบริหารงานส่วนตำบล (อบต.) ในพื้นที่ หรือแจ้งสายด่วนของกรมปศุสัตว์ที่เบอร์โทร. 063-2256888 หรือ Application: DLD 4.0 “แจ้งการเกิดโรคระบาด” เพื่อให้การช่วยเหลือเกษตรกรได้ทันท่วงที ทั้งนี้หากเกษตรกรให้ความร่วมมือในการให้สัตว์ได้รับการฉีดวัคซีน และปฏิบัติตามคำแนะนำของเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในการป้องกันการเกิดโรค สัตว์ของท่านก็จะปลอดภัยจากโรคดังกล่าว

**********************************

ข้อมูล/ข่าว : สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline