2561 12 26 004

เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2561 ที่กรมปศุสัตว์ นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา นายวรพัฒน์ เชาว์วิศิษฐ ผู้อำนวยการสำนักงานศุลกากรตรวจของผู้โดยสารท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ กรมศุลกากร และผู้แทนจากภาคมหาวิทยาลัย (จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยและมหาวิทยาลัยมหิดล) ร่วมแถลงข่าวบูรณาการหน่วยงานร่วมต้านโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (ASF) เข้าประเทศไทยว่า ย้ำโรคนี้ไม่ติดคนและสัตว์ชนิดอื่น แต่ส่งผลกระทบก่อให้เกิดความเสียหายต่ออุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรอย่างมาก

เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever) มากขึ้นในหลายประเทศทั่วโลก รวมทั้งสาธารณรัฐประชาชนจีน ซึ่งอยู่ในภูมิภาคเอเชีย กรมปศุสัตว์ จึงได้มีการเข้มงวดและป้องกันการลักลอบนำเข้าสุกร ซากสุกรและผลิตภัณฑ์สุกรที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสดังกล่าวมาอย่างต่อเนื่องโดยตลอด

ขณะนี้ใกล้จะถึงช่วงเทศกาลปีใหม่และตรุษจีน ซึ่งจะมีนักท่องเที่ยวเพิ่มมากขึ้น รวมถึงสถานการณ์การระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรของสาธารณรัฐประชาชนจีนได้ขยายวงกว้าง เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรเข้ามาสร้างความเสียหายแก่ประเทศไทย กรมปศุสัตว์ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา กรมศุลกากร และสถาบันการศึกษา จึงได้บูรณาการการตรวจสอบและจับกุมการลักลอบนำเข้าสุกร ซากสุกรและผลิตภัณฑ์สุกรให้มีประสิทธิภาพ โดยได้ข้อสรุปร่วมกัน ดังนี้

  1. สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยาได้กำชับ โดยประกาศให้เจ้าหน้าที่ที่ด่านทั้ง 50 ด่าน เข้มงวดตรวจสอบผลิตภัณฑ์อาหารที่มีส่วนประกอบของสุกรที่มาจากประเทศที่พบการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรทั้ง 15 ประเทศ
  2. ด่านศุลกากรประจำสนามบินนานาชาติและช่องผ่านแดนต่างๆ ได้เข้มงวดตรวจสอบสัมภาระของนักท่องเที่ยวโดยเครื่องเอ็กซ์เรย์

โรค ASF ติดเฉพาะในสุกร ไม่เป็นโรคติดต่อในคนและสัตว์ชนิดอื่น และยังไม่มีการเกิดในไทย จึงขอควรร่วมมือเกษตรกรให้ยกระดับการเลี้ยงสุกรให้มีระบบการป้องกันโรคที่ดีตามมาตรฐานและหากเป็นรายย่อยให้ใช้มาตรฐานการป้องกันโรค และการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (GFM) โดยเฉพาะอย่างยิ่ง การตรวจสอบแหล่งที่มาของสุกรก่อนเข้าฟาร์ม ร่วมกับการจัดการด้านระบบความปลอดภัยทางชีวภาพ ซึ่งจะช่วยป้องกันการนำโรคเข้าสู่ฟาร์มได้ และงดเว้นการนำอาหารที่ไม่ผ่านปรุงสุก ที่อุณหภูมิ 70 องศาเซลเซียส อย่างน้อย 30 นาที มาเลี้ยงสุกร

นอกจากนี้ให้สังเกตอาการสุกรอย่างใกล้ชิด หากพบสุกรแสดงอาการป่วยและมีจำนวนสุกรตายผิดปกติ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที หรือ call center 063-225-6888 หรือที่แอปพลิเคชัน DLD 4.0 “แจ้งการเกิดโรคระบาด” เพื่อเจ้าหน้าที่จะได้เร่งดำเนินการให้การช่วยเหลืออย่างทันท่วงที

ข้อมูล : สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline