S 2596967

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ปศุสัตว์ กล่าวว่า ตามที่มีรายงานสถานการณ์โรคลัมปี สกิน (Lumpy skin) เป็นโรคอุบัติใหม่ในประเทศไทย ไม่ใช่โรคติดต่อสัตว์สู่คน พบการติดเชื้อครั้งแรกในโคเนื้อของเกษตรกรที่อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อต้นเดือนมีนาคม 2564 การแพร่กระจายของโรคโดยมีแมลงเป็นพาหะ ไปยังโค-กระบือของเกษตรกรในจังหวัดต่างๆ สร้างความเสียหายให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบืออย่างมาก ท่าน ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีความห่วงใยและกำชับสั่งการให้กรมปศุสัตว์เร่งดำเนินการแก้ไขปัญหาควบคุมสถานการณ์การระบาดให้สำเร็จ เพื่อลดความสูญเสียให้กับเกษตรกร เฝ้าระวังโรคในจังหวัดข้างเคียง และหาแนวทางช่วยเหลือเยียวยาเกษตรกรผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนเสียหายโดยเร็ว

กรมปศุสัตว์จึงได้เร่งดำเนินการตามมาตราการในการควบคุมป้องกันโรค ลดความเสียหายและผลกระทบให้เกิดน้อยที่สุด และพิจารณาแนวทางแก้ไขปัญหาเพื่อเยียวยาช่วยเหลือเกษตรกรผู้เสียหาย ได้แจ้งปศุสัตว์จังหวัดในพื้นที่เกิดการระบาดโรคลัมปี สกิน ในโค –กระบือ ให้เร่งตรวจสอบความเสียหาย เพื่อให้ความช่วยเหลือ เยียวยา และชดเชยตามระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2562 ซึ่งนายประภัตร โพธสุธน รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้เสนอให้แก้ไขระเบียบ โดยเพิ่มอัตราการให้ความช่วยเหลือกรณีสัตว์ตายด้วยโรคลัมปี สกิน เพื่อช่วยเหลือเกษตรกรที่ได้รับความเดือดร้อน ซึ่ง ปัจจุบัน (25 พฤศจิกายน 2564) ได้จ่ายเงินให้ความช่วยเหลือแก่เกษตรกรแล้ว 8 จังหวัด ได้แก่ กรุงเทพฯ น่าน เชียงใหม่ กำแพงเพขร อุทัยธานี ชุมพร นครสวรรค์ และแพร่ รวมเกษตรกร 297 ราย โค-กระบือ 390 ตัว วงเงิน 8,520,000 บาท จากที่กรมปศุสัตว์ได้รับเอกสารจากจังหวัดแล้วทั้งสิ้น 28 จังหวัด รวมเกษตรกร 20,271 ราย โค-กระบือ 23,707 ตัว วงเงิน 503,972,200 บาท โดยจะเร่งตรวจสอบเอกสารตามขั้นตอน พร้อมทั้งทยอยจ่ายเงินให้เกษตรกรในแต่ละจังหวัดภายในช่วยเทศกาลปีใหม่นี้ สำหรับจังหวัดอื่นๆ อีก 35 จังหวัด รวมโค-กระบือ 34,936 ตัว อยู่ระหว่างนำเข้าประชุมคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติอำเภอ (ก.ช.ภ.อ.) และประชุมคณะกรรมการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติจังหวัด (ก.ช.ภ.จ.) และรวมรวมเอกสารส่งกรมปศุสัตว์ต่อไป

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ได้กำชับเจ้าหน้าที่ให้เร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือเกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบือ ที่ได้รับความเสียหายจากการแพร่ระบาดของโรคลัมปี สกิน อย่างเร่งด่วน ทั้งในด้านการให้ความรู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพสัตว์ การกำจัดแมลงพาหะ เพื่อเป็นการป้องกันโรค และการให้ความช่วยเหลือเยี่ยวยาให้เป็นไปตามระเบียบกระทรวการคลังระเบียบกระทรวงคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ.2562 และหลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน ซึ่งกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ประกาศใช้หลักเกณฑ์วิธีปฏิบัติปลีกย่อยเกี่ยวกับการให้ความช่วยเหลือด้านการเกษตรผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2564 แล้ว เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม 2564 และมีผลบังคับใช้สำหรับโรคระบาดชนิดโรคลัมปี สกิน ในโค-กระบือ ตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2564 เป็นต้นไป โดยเกณฑ์การช่วยเหลือใหม่แบ่งตามช่วงอายุ มีดังนี้ โคอายุน้อยกว่า 6 เดือน ได้รับ 13,000 บาท กระบืออายุน้อยกว่า 6 เดือน ได้รับ 15,000 บาท โคอายุตั้งแต่ 6 เดือน - 1 ปี ได้รับ 22,000 บาท กระบืออายุตั้งแต่ 6 เดือน - 1 ปี ได้รับ 24,000 บาท โคอายุมากกว่า 1 - 2 ปี ได้รับ 29,000 บาท กระบืออายุมากกว่า 1 - 2 ปี ได้รับ 32,000 บาท โคอายุมากกว่า 2 ปี ได้รับ 35,000 บาท และกระบืออายุมากกว่า 2 ปี ได้รับ 39,000 บาท

ทั้งนี้ ขอให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบือมั่นใจว่าได้รับค่าชดเชยแน่นอน โดยขอให้เกษตรกรผู้เลี้ยงปศุสัตวทำขึ้นทะเบียนเกษตรกรผู้เลี้ยงสัตว์ ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอ สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทุกแห่ง เพื่อให้สามารถรับการชดเชย กรณีสัตว์เสียหายจากภัยพิบัติ ตลอดจนเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์จะได้มีข้อมูลที่เป็นปัจจุบัน เพื่อให้การส่งเสริม สนับสนุน และดูแลเกี่ยวกับการควบคุม ป้องกันโรคได้อย่างทั่วถึงต่อไป

ข้อมูล : คณะทำงานโฆษกกรมปศุสัตว์ ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline