pic01

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีการเสนอข่าวผ่านสื่อออนไลน์ ว่าประเทศไต้หวันมีการตรวจพบกุนเชียงที่ปนเปื้อนเชื้อไวรัสอหิวาต์แอฟริกาในสุกรที่ซุกซ่อนในพัสดุไปรษณีย์ที่ส่งมาจากประเทศไทย ซึ่งนักท่องเที่ยวลักลอบนำเข้ามาในประเทศไต้หวัน นั้น กรมปศุสัตว์ได้เร่งตรวจสอบข้อเท็จจริง พบว่าเป็นกุนเชียงที่ผลิตมาจากโรงงานในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ซึ่งผลิตภัณฑ์จากโรงงานนี้เป็นสินค้าที่ได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยวทั้งในไทยและต่างประเทศด้วยมาตรฐานการผลิตที่ได้มาตรฐานและรสชาติที่เป็นที่ยอมรับ แต่อย่างไรก็ตามกรมปศุสัตว์มิได้นิ่งนอนใจ โดยได้ดำเนินการตรวจสอบถึงแหล่งที่มาของวัตถุดิบที่นำมาผลิตกุนเชียง และได้มีการเก็บตัวอย่างในสถานที่ผลิตดังกล่าวเพื่อตรวจหาเชื้ออหิวาต์แอฟริกาในสุกร โดยจากการสอบสวนข้อเท็จจริงในเบื้องต้นสันนิษฐานว่า เนื้อสุกรที่นำมาใช้ผลิตกุนเชียงน่าจะมีการลักลอบนำเข้ามาจากประเทศเพื่อนบ้าน เนื่องจากยังไม่พบผลทางห้องปฏิบัติการจากการเฝ้าระวังภายในประเทศ รวมทั้ง ณ ปัจจุบันราคาเนื้อสุกรภายในประเทศมีราคาค่อนข้างสูง จึงมีความเป็นไปได้ที่ผู้ผลิตต้องการลดต้นทุนการผลิตโดยการใช้วัตถุดิบที่มีราคาถูกลงจึงแอบลักลอบนำเข้าเนื้อสุกรจากประเทศเพื่อนบ้านเข้ามาผลิตในประเทศไทย

กรมปศุสัตว์ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลด้านสุขภาพสัตว์ ได้ติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรอย่างใกล้ชิด โดยพบว่าทั่วโลกและมีแนวโน้มขยายเป็นวงกว้างขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะในทวีปเอเชีย ตามรายงานขององค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) สถานการณ์โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรในปี พ.ศ. 2561 จนถึงปัจจุบัน ยังพบการระบาดของโรคในหลายประเทศ ได้แก่ ประเทศจีน มีรายงานการพบโรค 20 ครั้ง ฮ่องกง รายงานการพบโรค 1 ครั้ง เมียนมา 2 ครั้ง ฟิลิปปินส์ 155 ครั้ง เกาหลีใต้ 1,013 ครั้ง อินเดีย 11 ครั้ง อินโดนีเชีย 1,008 ครั้ง เวียดนาม 1,336 ครั้ง และสปป.ลาว 10 ครั้ง ทำให้ประเทศไทยมีความเสี่ยงที่เชื้อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรจะเข้าสู่ประเทศมากยิ่งขึ้น กรมปศุสัตว์ได้ร่วมมือกับทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างเข้มแข็งต่อเนื่อง ในการดำเนินการเฝ้าระวัง ป้องกันโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรและโรคระบาดร้ายแรงในสุกรหรือหมูป่าอย่างเข้มงวดในทุกพื้นที่ของประเทศไทย มีการควบคุมการเคลื่อนย้าย ทำการเก็บตัวอย่างเฝ้าระวังเพื่อการวินิจฉัยโรคในฟาร์มที่มีความเสี่ยงสูงต่อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร และฟาร์มที่พบสุกรป่วยตายผิดปกติ ซึ่งการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลเป็นลบต่อโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรทั้งหมด ซึ่งผลจากการดำเนินงานของกรมปศุสัตว์และทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้องอย่างเต็มที่ ทำให้ ปัจจุบันยังไม่พบการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกรประเทศไทย

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า ขอให้ประชาชนมั่นใจในว่าการผลิตสินค้าปศุสัตว์ภายในประเทศไทยได้รับการตรวจสอบว่าปลอดภัยต่อการบริโภค และขอความร่วมมือสำหรับฟาร์มเกษตรกรรายย่อย ควรเน้นการปรับระบบการเลี้ยงให้สามารถป้องกันโรคได้ การห้ามบุคคลภายนอกเข้าฟาร์ม การฆ่าเชื้อก่อนเข้าฟาร์ม การกำจัดซากสุกร การป้องกันสัตว์พาหะต่างๆ การห้ามนำเศษอาหารมาเลี้ยงสุกร การฆ่าเชื้อในฟาร์มอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ หากพี่น้องประชาชนมีข้อสงสัยหรือพบสุกรป่วยตายผิดปกติ หรือสัตว์ป่วยตายผิดปกติ หรือต้องการความช่วยเหลือจากกรมปศุสัตว์ สามารถแจ้งกรมปศุสัตว์ได้ที่ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอหรือสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทั่วประเทศ หรือสายด่วนกรมปศุสัตว์ 063-225 -6888 หรือ Application DLD 4.0 ได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง

...................................................................................................................................

ข้อมูล/ข่าว : https://www.khaosod.co.th/around-the-world-news/news_6798963

: กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline