pic01

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า จากกรณีที่มีการเสนอข่าวผ่านสื่อออนไลน์ ว่ามีขบวนการลักลอบนำเข้าเนื้อสุกรแช่แข็งเข้ามาในประเทศไทย โดยสำแดงเท็จว่าเป็นสินค้าชนิดอื่น มีการจัดจำหน่ายทั้งแบบบรรจุภัณฑ์ที่ลักลอบมาจากต่างประเทศ และกระจายสินค้าเพื่อจำหน่ายปะปนกับเนื้อสุกรไทย ถือเป็นการบ่อนทำลายภาคอุตสาหกรรมการเลี้ยงสุกรของประเทศ ขอให้ภาครัฐที่เกี่ยวข้อง เร่งตรวจสอบหาข้อเท็จจริง และดำเนินการจับกุมเอาผิดผู้ที่กระทำผิดกฎหมาย ทั้งความผิดทางศุลกากร และผิดกฎหมายว่าด้วยโรคระบาดสัตว์ โดยเฉพาะความเสี่ยงเรื่องโรคสุกรที่อาจติดมากับผลิตภัณฑ์ที่ไม่รู้แหล่งที่มา ซึ่งไม่มีใบขออนุญาตนำเข้าซากสัตว์ และไม่ผ่านการกักตรวจโรคก่อนนำเข้ามาในราชอาณาจักรนั้น

กรมปศุสัตว์ในฐานะหน่วยงานรับผิดชอบในการตรวจสอบและพิจารณาอนุญาตการนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านราชอาณาจักรซึ่งสัตว์ หรือซากสัตว์ ภายใต้กฎหมายพระราชบัญญัติโรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 มีจุดประสงค์เพื่อการป้องกันและควบคุมโรคระบาดที่อาจติดมากับสัตว์หรือซากสัตว์ โดยปฏิบัติภายใต้มาตรา 31 มาตรา 32 และมาตรา 33 แห่งพระราชบัญญัติดังกล่าว กำหนดให้ผู้นำเข้าราชอาณาจักรซึ่งสัตว์ หรือซากสัตว์ต้องได้รับอนุญาตจากอธิบดีกรมปศุสัตว์ หรือผู้ซึ่งอธิบดีกรมปศุสัตว์มอบหมายทุกครั้ง กำหนดวิธีการขออนุญาตและออกใบอนุญาต กำหนดให้ต้องนำสัตว์หรือซากสัตว์เข้า ออก หรือผ่านที่ท่าเข้า-ท่าออกซี่งมีทั้งหมด 46 แห่ง กำหนดให้ต้องทำเครื่องหมายประจำตัวสัตว์ และเครื่องหมายประจำตัวสัตว์สำหรับซากสัตว์สัตว์ในขั้นตอนการนำเข้า และมีหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านราชอาณาจักรซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์ ซึ่งหากประเทศต้นทางมีโรคระบาดหรือสงสัยว่ามีโรคระบาด อธิบดีกรมปศุสัตว์จะประกาศชะลอการนำเข้าหรือนำผ่านจากประเทศนั้น และมีคำสั่งมอบหมายให้ผู้อำนวยการกองสารวัตรและกักกัน และหัวหน้าด่านกักกันสัตว์ท่าเข้า-ท่าออก พิจารณาอนุญาตนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านราชอาณาจักรซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์ นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ได้มีมาตรการที่เข้มงวดในการป้องกันการลักลอบการนำเข้าสินค้าปศุสัตว์ (ซากสัตว์) ดังนี้

  1. จัดทำโครงการเข้าตรวจสอบสถานที่พักซากสัตว์ทั่วประเทศ เริ่มตั้งแต่ปีงบประมาณ 2562 เป็นต้นมาเป็นประจำทุกปี เพื่อตรวจสอบซากสัตว์ที่ถูกนำมาซุกซ่อนไว้ตามห้องเย็นต่างๆ และดำเนินคดีกับผู้ลักลอบนำเข้าซากสัตว์โดยไม่ได้รับอนุญาต โดยปีนี้จะดำเนินการในช่วงไตรมาสที่ 2 ของปีงบประมาณ
  2. ทำหนังสือขอความร่วมมือถึงหน่วยงานที่เกี่ยวข้องประกอบด้วยกระทรวงกลาโหม กระทรวงมหาดไทย สำนักงานตำรวจแห่งชาติ ตามหนังสือกรมปศุสัตว์ ที่ กษ 0621/6828-6830 ลงวันที่ 20 พฤศจิกายน 2561 เพื่อร่วมมือในการป้องกันการลักลอบนำเข้าซากสัตว์ทั้งทางบก ทางน้ำ และทางอากาศ
  3. กำหนดให้มีการทำเครื่องหมายประจำตัวสำหรับซากสัตว์ที่นำเข้า เพื่อใช้ตรวจสอบซากสัตว์ที่นำเข้าจากต่างประเทศอย่างถูกกฎหมาย และสามารถตรวจสอบย้อนกลับสินค้าดังกล่าวได้ จึงทำให้แยกแยะกับซากสัตว์ที่ลักลอบนำเข้าได้ ง่ายต่อการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่
  4. จัดตั้งชุดปฏิบัติงานสุนัขดมกลิ่นตรวจสอบการลักลอบนำเข้าซากสัตว์ในพื้นที่สนามบินทุกแห่ง เพื่อตรวจสอบผู้โดยสารที่นำซากสัตว์เข้าราชอาณาจักรอย่างผิดกฎหมาย
  5. จัดตั้งหน่วยปฏิบัติการพิเศษปราบปรามผู้กระทำผิดกฎหมายในความรับผิดชอบของกรมปศุสัตว์ ตามคำสั่งกรมปศุสัตว์ที่ 918/2559 ลงวันที่ 25 พฤศจิกายน 2559 โดยมีอำนาจหน้าที่ดำเนินการตรวจสอบและป้องกันการลักลอบนำเข้าสินค้าปศุสัตว์ (ซากสัตว์) จากต่างประเทศได้ทั่วราชอาณาจักร
  6. มีทางแอพพลิเคชั่น DLD 4.0 เป็นช่องทางสำหรับการแจ้งข้อมูลข่าวสารและรับเรื่องร้องเรียน โดยผู้ที่มีข้อมูลการลักลอบนำเข้าสินค้าปศุสัตว์ (ซากสัตว์) จากต่างประเทศโดยเฉพาะเนื้อสุกร สามารถแจ้งข้อมูลเบาะแสมายังกรมปศุสัตว์ทางแอพพลิเคชั่นดังกล่าว เพื่อดำเนินการต่อไป

จากผลการปฏิบัติงานบังคับใช้กฎหมาย 3 ปีย้อนหลัง (ปีงบฯ 2562-2564) มีการจับกุมผู้กระทำความผิดลักลอบนำซากสัตว์เข้าในราชอาณาจักรโดยไม่ได้รับอนุญาต 97 คดี ยึดซากสัตว์ของกลางจำนวน 336,085 กิโลกรัม มีการตรวจยึดซากสัตว์ตามพื้นที่แนวตะเข็บชายแดนและบริเวณท่าอากาศยาน 5,188 ครั้ง ยึดซากสัตว์ของกลางจำนวน 214,812 กิโลกรัม และมีการตรวจยึดซากสัตว์ลักลอบนำเข้าโดยสำแดงเท็จเป็นสินค้าชนิดอื่น 65 ครั้ง ยึดซากสัตว์ของกลางจำนวน 295,638 กิโลกรัม โดยกรมปศุสัตว์ได้ดำเนินการทำลายซากสัตว์ของกลางที่ยึดได้ทั้งหมดเป็นจำนวน 846,535 กิโลกรัม มูลค่ากว่า 200,000,000 บาท

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาซ้ำ จึงสั่งการให้กองสารวัตรและกักกันดำเนินการตรวจสอบการลักลอบนำเข้าซากสัตว์โดยไม่ได้รับอนุญาตอยู่เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ทำการซักซ้อม ขั้นตอน และวิธีปฏิบัติงานสำหรับการนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่าน ราชอาณาจักรซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์ ทำการเผยแพร่สร้างการรับรู้ที่ถูกต้องแก่ผู้นำเข้าสินค้าปศุสัตว์ (ซากสัตว์) จากต่างประเทศ และตรวจติดตามการปฏิบัติงานนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่าน ราชอาณาจักรซึ่งสัตว์หรือซากสัตว์อยู่เป็นประจำอย่างสม่ำเสมอ ทั้งนี้ หากพี่น้องประชาชนมีข้อสงสัยหรือต้องการแจ้งเบาะแส หรือต้องการความช่วยเหลือจากกรมปศุสัตว์ สามารถแจ้งกรมปศุสัตว์ได้ที่ สำนักงานปศุสัตว์อำเภอหรือสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทั่วประเทศ หรือสายด่วนกรมปศุสัตว์ 063-225 -6888 หรือ Application DLD 4.0 ได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง


ที่มา : กองสารวัตรและกักกัน กรมปศุสัตว์ ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline