อธิบดีกรมปศุสัตว์ลงพื้นที่สร้างขวัญกำลังใจพร้อมตรวจติดตามงานตามนโยบายกรมปศุสัตว์ จ.สระบุรี
วันที่ 7 มิถุนายน 2565 เวลา 9.00น. นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ลงพื้นที่สร้างขวัญกำลังใจพร้อมตรวจติดตามงานตามนโยบายกรมปศุสัตว์พร้อมด้วยท่านปศุสัตว์เขต1,ผอ.กองการเจ้าหน้าที่,ผอ.กองคลัง,ผอ.กองแผนงาน,เลขานุการกรมปศุสัตว์เข้าร่วมประชุมสัมมนาในครั้งนี้ กรมปศุสัตว์เป็นหน่วยงานสำคัญในการส่งเสริมและพัฒนางานด้านปศุสัตว์ ให้มีความเจริญก้าวหน้ามีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐานและปลอดภัยสำหรับการบริโภคทั้งภายในประเทศ และส่งออก จึงถือเป็นหน่วยงานหนึ่งที่มีบทบาทในการขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลที่สร้างความเข้มแข็งของภาคเกษตรไทยซึ่งในปี 2566กรมปศุสัตว์มีแนวทางการขับเคลื่อนงานที่สามารถนำไปต่อยอดได้ อาทิ ด้านการส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงสัตว์ให้แก่เกษตรกร ด้านการป้องกันและควบคุมโรค ด้านการสร้างมาตรฐานการผลิตปศุสัตว์เพื่อความปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภคและสร้างมาตรฐานการส่งออกให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล รวมถึงการแก้ปัญหาเฉพาะหน้าให้เกษตรกร โดยส่งเสริมรายได้ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกร การสร้างความเข้มแข็งให้องค์กรเกษตรกรสามารถนำความรู้ไปพัฒนาอาชีพ
อธิบดีกรมปศุสัตว์ได้ลงพื้นที่พบปะเกษตรกรมอบปัจจัยการผลิตแก่ฟาร์มโคนมอินทรีย์ ต.ซับสนุ่น อ.มวกเหล็ก จ.สระบุรี อาทิเช่น หญ้าอาหารสัตว์ วิตามิน แร่ธาตุ และยาถ่ายพยาธิเพื่อเสริมสร้างความสมบูรณ์ของสัตว์โดยฟาร์มโคนมอินทรีย์ เริ่มจากการเลี้ยงโคนมในระบบปกติมาก่อน แต่ต้นทุนการผลิตสูง ไม่มีกำไรเทรนด์อินทรีย์กำลังมาจึงได้ปรับเปลี่ยนแนวคิดมาเลี้ยงแบบอินทรีย์เน้นการผลิตที่มีประสิทธิภาพ ต้นทุนการผลิตต่ำ พึ่งพาตนเองได้ขายผลผลิตได้ในราคาสูงกว่าท้องตลาดวิธีการเลี้ยงสัตว์การดูแลรักษาการแปรรูปผลผลิตเน้นการเลี้ยงแบบอินทรีย์ ตามหลักมาตรฐานปศุสัตว์อินทรีย์โดยเลี้ยงแบบอินทรีย์ธรรมชาติ ให้กินอาหารอินทรีย์ ไม่ใช้สารเคมีทำให้โคมีสุขภาพดี ไม่เครียด ไม่ป่วยง่าย ทำให้ลดต้นทุนการผลิตทั้งด้านอาหาร และด้านสุขภาพ อีกทั้งยังขายน้ำนมดิบได้ในราคาที่สูงเคล็ดลับพิเศษมุ่งเน้นการเลี้ยงโคนมแบบอินทรีย์ ไม่มีการใช้สารเคมีภายในฟาร์ม เพื่อลดต้นทุนการผลิต และส่งมอบน้ำนมอินทรีย์ที่มีคุณภาพและปลอดภัยให้แก่ผู้บริโภค
ขณะเดียวกันอธิบดีกรมปศุสัตว์และคณะยังได้ลงพื้นที่เยี่ยมชมฟาร์มแพะครบวงจร "ซาฮีร่าฟาร์ม" ต.หนองย่างเสือ จ.สระบุรีอีกด้วยโดยซาฮีร่าฟาร์มได้มีการพัฒนาฟาร์มให้ได้มาตรฐาน GAP พัฒนาโรงงานแปรรูปให้ได้มาตรฐาน GMP และได้นำเทคโนโลยี IoT ของ Things on Net สามารถที่จะประยุกต์ใช้ได้หลากหลายในฟาร์ม เช่น ตัวเซ็นเซอร์สำหรับวัดอุณหภูมิและความชื้น ช่วยควบคุมการบริหารจัดการในฟาร์มได้ดีมาก ช่วงปลายฝนต้นหนาว ถือเป็นช่วงปราบเซียนของธุรกิจนี้ เพราะสัตว์อาจจะเป็นปอดชื้นได้ แต่พอมีเทคโนโลยีที่สามารถอ่านค่าอุณหภูมิและความชื้น พร้อมเก็บข้อมูลในระยะยาวได้ ก็ช่วยให้ทางฟาร์มสามารถแก้ไขได้ทันเวลารวมถึงเป็นแนวทางหนึ่งในการส่งเสริมให้มีการเลี้ยงแพะมากขึ้น ช่วยเพิ่มปริมาณการผลิตแพะ อันจะนำไปสู่การส่งเสริมและพัฒนาให้การเลี้ยงแพะเป็นอาชีพหนึ่งที่สร้างรายได้ให้แก่เกษตรกร ต่อไป