25611207 1

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ขณะนี้พบการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อย ในหลายพื้นที่ของประเทศไทย ได้แก่ สระบุรี ลพบุรี นครราชสีมา ชัยภูมิ เชียงราย ลำพูน ลำปาง นครปฐม ระนอง สตูล พังงา สงขลา และพัทลุง กรมปศุสัตว์จึงได้เร่งดำเนินการควบคุมการเคลื่อนย้าย และระดมเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่ฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและ เท้าเปื่อยบริเวณรอบจุดเกิดโรค รัศมี 5 กิโลเมตร และรักษาสัตว์ป่วยตามอาการอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งค้นหาสัตว์ป่วยเพิ่มเติมและติดตามสถานการณ์อย่างใกล้ชิด

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า โรคปากและเท้าเปื่อยเป็นโรคที่เกิดจากเชื้อไวรัส ซึ่งมีความสำคัญในโค กระบือ แพะ แกะ และสุกร โดยพบว่าโรคนี้สามารถแพร่กระจายอย่างรวดเร็วโดยการสัมผัสกับสัตว์ป่วย หรือเชื้อไวรัสที่ปนเปื้อนมากับยานพาหนะ วัสดุอุปกรณ์ สัตว์ป่วยจะแสดงอาการซึม เบื่ออาหาร มีเม็ดตุ่มพองหรือแผล บริเวณลิ้น ช่องปาก ริมฝีปาก เต้านมรวมทั้งไรกีบ ส่งผลให้สัตว์มีน้ำลายไหล กินอาหารไม่ได้ และเดินกะเผลก โดยทั่วไปโรคปากและเท้าเปื่อยมักไม่ได้เป็นสาเหตุหลักที่ทำให้สัตว์ที่โตเต็มวัยตาย แต่สัตว์อาจตายได้จากภาวการณ์ติดเชื้อแทรกซ้อนโดยเฉพาะอย่างยิ่ง การติดเชื้อแบคทีเรียหรือจากปัจจัยอื่นๆ เนื่องจากสัตว์เบื่ออาหารและอ่อนแอ อย่างไรก็ตาม โรคนี้อาจสร้างความรุนแรงและเป็นสาเหตุการตายในลูกสัตว์ได้เนื่องจากเชื้อไวรัสทำให้เกิดภาวะกล้ามเนื้อหัวใจตาย

ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันและควบคุมโรค รวมทั้งลดความสูญเสียของโรคปากและเท้าเปื่อยแก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโค กระบือ แพะ แกะ และสุกร กรมปศุสัตว์จึงกำหนดมาตรการเร่งด่วน โดยเร่งดำเนินการกระจายวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยลงสู่พื้นที่เสี่ยงทั่วประเทศ ก่อนรอบการรณรงค์การฉีดวัคซีนรอบที่ 1/2562 ระหว่างเดือนธันวาคมและมกราคม รวมทั้งสร้างความร่วมมือกับกลุ่มเกษตรกร สหกรณ์ และศูนย์รับน้ำนมดิบ เพื่อเร่งดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยให้ครอบคลุมประชากรสัตว์ในพื้นที่เสี่ยง พร้อมขอความร่วมมือผู้ประกอบการค้าสัตว์และซากสัตว์การชะลอการเคลื่อนย้ายโค กระบือ แพะ แกะ เป็นระยะเวลา 1 เดือน ตั้งแต่บัดนี้ จนถึง 15 ธันวาคม 2561 ในจังหวัดที่มีสถิติการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยเป็นประจำ ได้แก่ ลพบุรี สระบุรี นครราชสีมา เพชรบุรี ราชบุรี นครปฐม กาญจนบุรี และชุมพร ยกเว้นกรณีเคลื่อนย้ายสัตว์เข้าโรงฆ่าสัตว์ รวมทั้งขอความร่วมมือตลาดนัดค้าสัตว์ในพื้นที่ให้งดดำเนินการในช่วงเวลาดังกล่าว นอกจากนี้ ยังสั่งการให้เข้มงวดการตรวจอาการในสัตว์ที่จะเคลื่อนย้ายและสัตว์ร่วมฝูง หากพบสัตว์เหล่านั้นแสดงอาการหรือมีรอยโรคของโรคปากและเท้าเปื่อย กรมปศุสัตว์จะดำเนินการระงับการเคลื่อนย้ายโดยทันที นอกจากนี้ มีการจัดชุดเฉพาะกิจระดมทำลายเชื้อโรคในจุดเสี่ยง ได้แก่ ตลาดนัดค้าสัตว์ แหล่งรวมสัตว์ คอกพักสัตว์ โรงฆ่าสัตว์ สหกรณ์โคนม ศูนย์รับน้ำนมดิบ เป็นต้น รวมทั้งจัดตั้งจุดตรวจเพื่อควบคุมการเคลื่อนย้ายในพื้นที่ที่มีรายงานการเกิดโรค พร้อมทั้งกำกับ ติดตาม ตรวจสอบการดำเนินงานของจังหวัดและเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานในพื้นที่อย่างใกล้ชิด มีการประชุมชี้แจงแนวทางการป้องกันและควบคุมการระบาดของโรคปากและเท้าเปื่อยของ กรมปศุสัตว์ให้แก่เกษตรกรสหกรณ์หรือศูนย์รวบรวมน้ำนมดิบ และผู้ประกอบการค้าสัตว์และซากสัตว์ รวมทั้ง ขอความร่วมมือเกษตรกรในฟาร์มที่มีการระบาดของโรคในการงดส่งน้ำนม ผสมเทียม และจำหน่ายมูลโคสดด้วย

สำหรับการป้องกันโรคปากและเท้าเปื่อยสำหรับฟาร์มเกษตรกรนั้น สามารถป้องกันโรคเข้าสู่ฟาร์มได้โดย งดนำสัตว์จากพื้นที่ที่มีการระบาดของโรคเข้ามาเลี้ยงอย่างน้อย 1 เดือน และฉีดวัคซีนป้องกันโรคให้แก่โค กระบือ แพะ แกะ อายุตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป ตามรอบรณรงค์ที่กรมปศุสัตว์กำหนด ให้เข้มงวดการจัดการเพื่อป้องกันโรคเข้าฟาร์ม เช่น ห้ามบุคคลภายนอกเข้าฟาร์ม หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องเปลี่ยนรองเท้าบูทสำหรับใช้เฉพาะภายในฟาร์ม และเดินผ่านอ่างน้ำยา ฆ่าเชื้อทุกครั้งก่อนเข้าโรงเรือน ห้ามยานพาหนะทุกชนิดโดยเฉพาะอย่างยิ่งรถที่มีการเข้าออกหลายฟาร์ม หรือไปโรงฆ่าสัตว์ ได้แก่ รถรับซื้อสัตว์ รถขนอาหารสัตว์ รถรับซื้อมูลสัตว์ เป็นต้น เข้ามาภายในฟาร์มเด็ดขาด หากหลีกเลี่ยงไม่ได้ ต้องพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อโรคและจัดให้รถดังกล่าวอยู่ไกลจากสถานที่เลี้ยงสัตว์มากที่สุด นอกจากนี้ การซื้อวัตถุดิบอาหารสัตว์ต้องซื้อจากแหล่งที่เชื่อถือได้ว่าไม่มีการระบาดของโรค ประการสุดท้ายคือ ตรวจสอบแหล่งที่มาของสัตว์ที่จะนำมาเลี้ยงใหม่และกักสัตว์ก่อนนำมาเลี้ยงรวมฝูง เป็นระยะเวลา 14 วัน

ท้ายที่สุดนี้ อธิบดีกรมปศุสัตว์ขอความร่วมมือเกษตรกรให้ยกระดับการเลี้ยงสัตว์ให้มีระบบการป้องกันโรคที่ดีตามมาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มเลี้ยงสัตว์ (GAP) หรือให้เป็นฟาร์มที่มีระบบการป้องกันโรคและการเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสม (GFM) ซึ่งจะช่วยป้องกันการนำโรคเข้าสู่ฟาร์มได้อย่างยั่งยืน นอกจากนี้ ให้สังเกตอาการสัตว์ในฟาร์มอย่างใกล้ชิด หากพบสัตว์แสดงอาการป่วยตายผิดปกติ ให้แจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่ทันที หรือที่ call center 063-225-6888 หรือที่แอปพลิเคชั่น DLD 4.0 “แจ้งการเกิดโรคระบาด” เพื่อจะได้เร่งดำเนินการช่วยเหลือต่อไป

------------------------------------------

ข้อมูล/ข่าว : สำนักควบคุม ป้องกัน และบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline