25620218 1

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการแพร่ระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African Swine Fever-ASF) ย้ำโรคนี้ติดต่อเฉพาะในสุกรเท่านั้น ไม่มีการติดต่อสู่คนหรือสัตว์ชนิดอื่น ที่สำคัญการเฝ้าระวังและป้องกันโรค ASF มีความเข้มงวดยิ่งขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการห้ามนำเข้าเนื้อสุกรและผลิตภัณฑ์ที่มาจากประเทศจีน ซึ่งพบการระบาดของโรคในขณะนี้ ล่าสุดสถานเอกอัครรัฐทูตจีนประจำประเทศไทย ออกคำเตือนถึงนักท่องเที่ยวชาวจีน เรื่องห้ามนำเนื้อสด ไส้กรอก แฮม และเบคอน เข้ามายังราชอาณาจักรไทยโดยเด็ดขาด เพื่อป้องกันโรคดังกล่าวไม่ให้ระบาดเข้ามาสู่ไทย ผู้ใดฝ่าฝืนจะมีโทษปรับในอัตราสูงถึง 2 แสนบาท ถือเป็นการบูรณาการร่วมกันระหว่าง 2 ประเทศ

“ยืนยันว่าโรคนี้ไม่เป็นอันตรายต่อคนและสัตว์อื่นอย่างแน่นอน ประชาชนสามารถบริโภคเนื้อสุกรได้อย่างปลอดภัยไม่ต้องกังวล แนะนำว่าการรับประทานต้องเน้นการปรุงให้สุกตามปกติ หลีกเลี่ยงการทานเนื้อหมูดิบ ที่สำคัญโรคนี้ยังไม่เข้ามาในเมืองไทย และทุกภาคส่วนยังคงเดินหน้าป้องกันและเข้มงวดตรวจสอบอย่างเต็มที่ โดยเฉพาะความร่วมมือกับฝ่ายทหาร ในจังหวัดที่มีชายแดนติดกับประเทศเพื่อนบ้าน ด่านกักกันสัตว์ทุกด่าน และสนามบินทุกแห่ง ในการตั้ง 50 ด่านทั่วประเทศ เพื่อตรวจสอบการลักลอบนำเข้าสินค้าปศุสัตว์ และในทุกสนามบินเจ้าหน้าที่ได้เพิ่มจำนวนสุนัขบีเกิล เพื่อทำการตรวจสัมภาระของผู้โดยสารให้มีความถี่มากยิ่งขึ้น” นายสัตวแพทย์สรวิศ กล่าวและว่า

ที่ผ่านมา กรมปศุสัตว์ได้ประสานความร่วมมือกับภาคส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง ทั้งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการต่างประเทศ ร่วมกันบูรณาการทำงาน พร้อมยกระดับการป้องกันโรคให้เข้มข้นขึ้น นอกจากนี้ ได้สั่งการเจ้าหน้าที่ทุกด่านตรวจด้านการเข้มงวดกับการฆ่าเชื้อที่อาจจะแฝงมากับยานพาหนะของนักท่องเที่ยว โดยการใช้ยาฆ่าเชื้อโรคแบบโฟมที่สามารถฆ่าเชื้อในอากาศได้นานกว่า 30 นาที ควบคู่กับการให้ความรู้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงทั่วประเทศ และยกระดับการเลี้ยงให้มีความปลอดภัยทางชีวภาพเพื่อป้องกันโรคอย่างสูงสุด จากความร่วมมือของกรมปศุสัตว์ สํานักงานคณะกรรมการอาหารและยา สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ และภาคมหาวิทยาลัยที่มีคณะสัตวแพทย์ศาสตร์ทุกแห่ง./

ข้อมูลโดย : ทีมโฆษก กรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline