25631223 1e

นายสัตวแพทยสรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ ชี้แจงกรณีที่ น.สพ.วิวัฒน์ พงษ์วิวัฒนชัย อุปนายกสมาคมผู้เลี้ยงสุกร-แห่งชาติ ระบุถึงปัญหาการส่งออกสุกรมีชีวิตไปประเทศกัมพูชาว่า ขณะนี้ยังไม่สามารถส่งออกได้ จากความขัดแย้งระหว่าง โบรกเกอร์ กลุ่มที่ได้รับสิทธิ์ทำการค้ากับประเทศกัมพูชา กับอีกกลุ่มที่ไม่ได้รับสิทธิ์ ที่ใช้รถยนต์และรถบรรทุกปิดกั้นถนนไม่ให้รถขนสุกรผ่านจุดผ่านแดนได้ ซึ่งปัญหาดังกล่าวยืดเยื้อนานกว่า 1 เดือน ส่งผลให้ปริมาณสุกรล้นตลาดจนกระทบต่อราคาหมูที่ตกต่ำลงอย่างมาก และเกษตรกรต้องแบกรับภาวะการขาดทุนมากว่า 3 ปีทั้งนี้ แม้จะเรียกร้องให้รัฐบาลช่วยแก้ปัญหาผ่านนายกรัฐมนตรี รองนายกรัฐมนตรี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ และกรมปศุสัตว์ แต่ยังหาข้อสรุปไม่ได้ และมีการโยนความรับผิดชอบไปมาระหว่างกระทรวงพาณิชย์ กรมปศุสัตว์ รวมทั้งกระทรวง- การต่างประเทศ ในประเด็นข้อโต้แย้งเรื่อง การเป็น AEC อย่างไรก็ตาม หากปัญหาดังกล่าวไม่ได้รับการแก้ไข เกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรทั่วประเทศจะนัดรวมตัวกันครั้งใหญ่ เพื่อทวงถามคำตอบจากนายกรัฐมนตรี ที่ทำเนียบรัฐบาล ภายใน 7 วัน ซึ่งสิ้นสุดวันที่ 24 ธ.ค. นั้น กรมปศุสัตว์ชี้แจงว่า เมื่อวันที่ 2 พฤศจิกายน 2563 ที่ผ่านมา หน่วยงานสุขภาพสัตว์และการผลิต ราชอาณาจักรกัมพูชา (General Directorate of Animal Health and Production: GDAHP) ได้มีจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ส่งถึงกรมปศุสัตว์ แจ้งข้อกำหนด (requirement) การนำเข้า/นำผ่านสุกรมีชีวิตไปยังกัมพูชา/เวียดนามฉบับใหม่ พร้อมกับแจ้งอนุญาตให้ผู้ประกอบการจำนวน 5 บริษัท เป็นผู้ส่งออกได้ โดยให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 9 พฤศจิกายน 2563 ทำให้กลุ่มผู้ประกอบการที่เคยส่งออกได้มาก่อนอีกจำนวน 24 บริษัท ได้รับผลกระทบไม่สามารถส่งออกได้ตามปกติ และยื่นเรื่องร้องเรียนต่อศูนย์รับเรื่องราวร้องทุกข์ ทำเนียบรัฐบาล รวมถึงได้รวมกลุ่มกันไปปิดกั้นถนนไม่ให้รถขนสุกรมีชีวิตเพื่อการส่งออกทางด่านช่องจอม จังหวัดสุรินทร์ ซึ่งกรมปศุสัตว์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้ร่วมกับ สำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงการต่างประเทศ เร่งแก้ไขปัญหาให้กับผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่อง จนเมื่อวันที่ 18 ธ.ค. 63 GDAHP ได้แจ้งเพิ่มเติม อนุญาตให้ผู้ประกอบการอีก 5 บริษัท รวมเป็น 10 บริษัท สามารถส่งออกไปยังกัมพูชาได้

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมปศุสัตว์รับผิดชอบการออกหนังสือรับรองสุขอนามัยสัตว์ (Health Certificate) และใบอนุญาตนำสัตว์ออกนอกราชอาณาจักร โดยต้องปฏิบัติตาม พ.ร.บ.โรคระบาดสัตว์ พ.ศ. 2558 (ประกาศกรมปศุสัตว์ เรื่อง การขออนุญาต การออกใบอนุญาต วิธีการนำเข้า ส่งออก หรือนำผ่านราชอาณาจักรสัตว์หรือซากสัตว์ พ.ศ.2558) โดยปัจจุบัน การส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ ลาว พม่า เวียดนาม ไม่มีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดการนำเข้า ยังคงมีการออกหนังสือรับรองฯ และใบอนุญาตฯ ได้ตามปกติ ในส่วนของประเทศกัมพูชาได้มีการเปลี่ยนแปลงข้อกำหนดการนำเข้าใหม่ กรมปศุสัตว์จึงอยู่ในระหว่างประสานงานให้กัมพูชาพิจารณาเห็นชอบร่างหนังสือรับรองฯ ฉบับใหม่ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบัน GDAHP ได้ผ่อนปรนให้ใช้หนังสือรับรองฯ ฉบับเดิมไปก่อนได้ กรมปศุสัตว์จึงสามารถออกหนังสือรับรองฯ และใบอนุญาตฯ ให้ผู้ประกอบการ ได้ทันที หากมีผู้ประกอบการยื่นขออนุญาตพร้อมหลักฐานครบถ้วนถูกต้อง ต่อมา เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2563 มีผู้ประกอบการ ที่ GDAHP อนุญาตให้ส่งออกสุกรมีชีวิตไปยังประเทศกัมพูชาได้มายื่นขอหนังสือรับรองฯ และใบอนุญาตฯ ณ ด่านกักกันสัตว์ โดยกองสารวัตรและกักกัน กรมปศุสัตว์ ได้ตรวจสอบหลักฐานครบถ้วนถูกต้อง จึงได้ออกหนังสือรับรองฯ และใบอนุญาตฯ แล้ว จำนวน 4 ฉบับ นอกจากนี้ กรมปศุสัตว์ได้ส่งหนังสือขอเพิ่มรายชื่อผู้ส่งออกเพื่อให้ฝ่ายกัมพูชาพิจารณาแล้ว โดยกรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ และสถานเอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงพนมเปญ กระทรวงการต่างประเทศ จะเร่งติดตามการเจรจาขอเพิ่มรายชื่อผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตให้ส่งออก/นำผ่านไปกัมพูชา กับหน่วยงานภาครัฐของกัมพูชา โดยเร่งด่วน ตามมติที่ประชุมติดตามความคืบหน้าเพื่อแก้ไขปัญหาการส่งออกสุกรไปยังราชอาณาจักรกัมพูชา กรณีมาตรการจำกัดการนำเข้าสุกรจากไทย เมื่อวันที่ 17 ธ.ค. 63 ณ กรมการค้าต่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ ด้วยแล้ว และล่าสุด ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้สั่งการให้กรมปศุสัตว์ออกหนังสือรับรองสุขอนามัยสัตว์ (HC) พร้อมทั้งมีคำสั่งให้ทุกด่านสามารถส่งออกสุกรไปยังกัมพูชาได้ตามปกติ ตั้งแต่วันที่ 21 ธันวาคม 2563 เพื่อแก้ไขปัญหาความเดือดร้อนให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงสุกรโดยเร่งด่วนอีกด้วย อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าว

----------------------------------

ข้อมูล : ทีมงานโฆษกกรมปศุสัตว์ ข่าว : เพ็ญศิริ ดวงอุดม นักวิชาการเผยแพร่ชำนาญการพิเศษ  ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline