pic01

วันนี้ ( 18 มิ.ย. 64) นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า จากที่กรมปศุสัตว์ได้เปิดปฏิบัติการระดมฉีดวัคป้องกันโรคลุมปี สกินให้แก่โค -กระบือ ของเกษตรกรในพื้นที่พบการระบาด จนถึงวันนี้ เจ้าหน้าที่สามารถดำเนินการได้ตามแผนที่กำหนด และสอดคล้องกับปริมาณวัคซีนที่ได้จัดสรรในแต่ละพื้นที่ตามสถานการณ์การระบาด ดังนั้นขอให้เกษตรกรมั่นใจว่า โค-กระบือของทุกตัวที่อยู่ในพื้นที่ระบาดทุกตัวจะได้รับการฉีดวัคซีนอย่างนอน ส่วนปริมาณวัคซีนที่มีการเข้ามาในขณะนี้ รวมแล้วกว่า 324,000 โดส และกำลังจะเข้ามาอีก 36,000 โดส คาดว่าจะเพียงพอกับการควบคุมในระยะแรก ซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาถึงปริมาณที่เหมาะสมกับสถานการณ์

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวต่อไปว่า การสนับสนุนด้านการฉีดวัคซีนแล้วกรมปศุสัตว์ยังได้จัดหน่วยพ่นยาฆ่าเชื้อทำลายเชื้อโรค แจกผลิตภัณฑ์กำจัด แมลง ยารักษา วิตามิน แร่ธาตุ และยาบำรุงร่างกายสัตว์ ออกให้บริการแก่เกษตรกรในพื้นที่การระบาดควบคู่กันไปด้วย รวมทั้ง การประสานกับองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นดำเนินการช่วยเหลือในกรณีที่มีสัตว์ป่วยตายจากโรคลัมปี สกิน และออกให้ความรู้ในการป้องกันการแพร่ระบาด

“ ผมได้สั่งการถึงเจ้าหน้าที่ของกรมปศุสัตว์ในทุกจังหวัดทุกพื้นที่ ขอให้ทำงานอย่างเต็มที่และทุ่มเทอย่างเต็มที่ในการช่วยแหลือเกษตรกรและควบคุมการระบาดให้จบลงโดยเร็วที่สุด และในการนี้ ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้กำชับมายังกรมปศุสัตว์ให้ดำเนินการตามมาตรการควบคุมโรคลัมปี สกิน ทั้ง 5 มาตรการอย่างเข้มงวด และพร้อมที่จะให้การสนับสนุนในทุกด้านอย่างเต็มที่เพื่อช่วยเหลือและแก้ไขผลกระทบที่เกิดจาก การระบาดของโรค” อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าว

ทั้งนี้ ผู้สื่อข่าวรายงานเพิ่มเติมว่า จากได้ตรวจสอบข้อมูลถึงการทำงานของกรมปศุสัตว์ในพื้นที่ต่างๆทั่วประเทศพบว่า เจ้าหน้าของสำนักงานปศุสัตว์ ตั้งแต่ระดับเขต และจังหวัดต่าง ๆ มีการลงพื้นที่ให้การช่วยเหลือ และเร่งดำเนินการฉีดวัคซีนลุมปีสกินในทุกพื้นที่ ซึ่งสอดคล้องกับข้อมูลที่ได้รับการเปิดเผยจากอธิบดีกรมปศุสัตว์ที่กล่าวว่า ได้สั่งให้ทุกจังหวัดลงให้การช่วยเหลือ แนะนำวิธีการป้องกันการระบาด และดำเนินการฉีดวัคซีนแบบปูพรมในทุกพื้นที่อย่างเร่งด่วน

โดยที่พิษณุโลก เมื่อวันที่ 17 มิ.ย ที่ผ่านมา สำนักงานปศุสัตว์จังหวัดพิษณุโลก และสำนักงานปศุสัตว์อำเภอวังทอง พร้อมชุดเฉพาะกิจ รณรงค์ฉีดวัคซินลุมปีสกิน ในพื้นที่อำเภอวังทอง ม.3,4,5,9,10,14,19,20,24,25,26 ต.บ้านกลาง โค กระบือ จำนวน 375 ราย เกษตรกร 52 ราย

จังหวัดอุดรธานี นายพนธิ์สมิทธิ์ กลางนภา ปศุสัตว์จังหวัดอุดรธานี มอบหมายให้นายพิทยากร อ้วนพรมมา ปศุสัตว์อำเภอศรีธาตุ ร่วมกับเทศบาลตำบลบ้านโปร่ง ออกชี้แจงการระบาดของโรคลัมปี สกิน พร้อมให้ความรู้เรื่องโรคลัมปีสกิน การป้องกันและการรักษาสัตว์ป่วย รวมถึงการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบและการชดเชยในกรณีสัตว์ป่วยตาย อีกทั้งยังได้มีการประชุมร่วม โดยผลการประชุม ทางเทศบาลตำบลบ้านโปร่ง โดยนายกเทศมนตรีตำบลบ้านโปร่ง เห็นชอบในการช่วยเหลือตามงบประมาณของท้องถิ่น โดยมีผู้ได้รับผลกระทบ รวม 86 ราย

ขณะที่จังหวัดสุโขทัย สำนักงานปศุสัตว์อำเภอสวรรคโลก ได้มีการลงพื้นที่ตรวจเยี่ยมเกษตรกรผู้เลี้ยงโค-กระบือ และประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรรับรู้ข้อมูลข่าวสาร เรื่องโรคลัมปี สกิน พร้อมทั้งแนะนำ การป้องกันและควบคุมโรค และวิธีรักษาเบื้องต้นตามอาการ เช่น แนะนำให้กางมุ้ง ก่อกองไฟและติดหลอดไฟไล่แมลง , แนะนำการฉีดพ่นยากำจัดแมลงที่เป็นพาหะบริเวณโรงเรือน พร้อมขอความร่วมมืองดการเคลื่อนย้ายโค-กระบือ จากต่างพื้นที่เข้ามาเลี้ยงใหม่ อีกทั้งเมื่อพบโค-กระบือ ที่สงสัยมีอาการป่วยผิดปกติ รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์สำนักงานปศุสัตว์อำเภอทันที

จังหวัดยโสธร .น.สพ.ชาติชาย ยิ้มเครือ ปศุสัตว์จังหวัดยโสธร ร่วมกับนายทรงศักดิ์ วงศ์สุพรรณ หัวหน้าด่านกักกันสัตว์ นายสมศรี อยู่คง ผู้ใหญ่บ้าน ม.5 และนายสถาพร จุลสัตย์ ปศุสัตว์อำเภอเมืองยโสธร ลงพื้นที่ บ้านเขื่องคำ ม.5 ต.เขื่องคำ อ.เมือง จัดกิจกรรมรณรงค์ กางมุ้ง กันแมลง(Anti-Insect Day)ในคอกสัตว์ โดยจัดกิจกรรมพร้อมกันทุกอำเภอ เพื่อกระตุ้นให้เกษตรกรให้ความสำคัญกับกางมุ้งในคอกเลี้ยงโค กระบือ ซึ่งมีต้นทุนที่ถูก มีความปลอดภัยต่อสัตว์ และได้ผลดีในการป้องกันแมลงมารบกวนสัตว์ อันเป็นสาเหตุที่สำคัญของโรคลัมปี สกิน ทั้งนี้ การจัดรณรงค์ได้รับความสนใจจากเกษตรกรในพื้นที่ ต.เขื่องคำ ที่มีประมาณ 16 ราย เลี้ยงโค กระบือ รวม 75 ตัว เป็นอย่างมาก และปัจจุบันได้เริ่มกางมุ้งในคอกสัตว์กันเป็นส่วนใหญ่แล้ว อันเป็นความร่วมมือ ร่วมใจของเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ในการป้องกันโรค ทำให้โรคลัมปี สกิน สงบลงอย่างรวดเร็ว ถือเป็นตัวอย่างที่ดีให้แก่เกษตรกรในพื้นที่อื่น ให้หันการกางมุ้งในคอกสัตว์ให้มากขึ้น การรณรงค์กางมุ้ง เป็นหนึ่งในมาตรการ 5 ก เพื่อการป้องกันโรค ได้แก่ การกางมุ้ง การกำจัดแมลง การกำจัดแหล่งเพาะพันธุ์แมลง การกักสัตว์งดเคลื่อนย้าย และการมีระบบการป้องกันโรคที่ดี จะช่วยสนับสนุนให้เกษตรกรประกอบอาชีพการเลี้ยงสัตว์ได้อย่างมั่นคง และยั่งยืนต่อไป

จังหวัดเชียงราย สำนักงานปศุสัตว์อำเภอเชียงแสน โดยนายอนุสรณ์ พรินทรากุล ปศุสัตว์อำเภอเชียงแสน มอบหมายให้นางสาวนัฐชารียา มุสิกวัน ตำแหน่งนายสัตวแพทย์ปฏิบัติการ พร้อมด้วยนายสถิต อิ่นคำ ตำแหน่งเจ้าพนักงานสัตวบาล นายศราวุฒิ บุญยัง และนายธนกานต์ ริยะสาร ตำแหน่งเจ้าหน้าที่งานด้านการเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันโรคระบาดสัตว์ ลงพื้นปฏิบัติงานประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโรคลัมปี สกิน (Lumpy Skin Disease) ซึ่งพบเป็นโรคระบาดในโค-กระบือ พร้อมทั้งแนะนำ

การป้องกันควบคุมโรคให้เกษตรกรผู้เลี้ยงโคเนื้อหมู่4 ตำบลโยนก อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย เกษตรกร 1 ราย โคเนื้อ จำนวน 2 ตัว โดยเน้นให้เกษตรกรกางมุ้งให้รอบโรงเรือน เพื่อป้องกันแมลงพาหะ พ่นยากำจัดแมลงพาหะ และปรับบริเวณสถานที่เลี้ยงโค-กระบือ ไม่ให้เป็นแหล่งที่อยู่อาศัยของแมลง

จังหวัดปทุมธานี นายอดิศร ชาติสุภาพ ปศุสัตว์จังหวัดปทุมธานี มอบหมายให้สำนักงานปศุสัตว์อำเภอลาดหลุมแก้ว โดยนางสมบูรณ์ จำปาศรีและนายวิชาญ ฉายอ่วม เจ้าหน้าที่เฝ้าระวังโรคฯ ออกตรวจเยี่ยมเกษตรกรเลี้ยงโค กระบือ ณ ม.8 ต.หน้าไม้ ให้คำแนะนำเกี่ยวกับโรคลัมปี สกิน การป้องกันควบคุมโรค

**************************************

ข้อมูล/ข่าว : ทีมโฆษกกรมปศุสัตว์ (18 มิ.ย. 2564) ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline