pic01

จากกรณีที่มีผู้เสียชีวิตด้วยโรคไข้หูดับ จากการรับประทานเนื้อสุกรที่ไม่ปรุงไม่สุก และมีการสันนิษฐานว่า ผู้เสียชีวิตทำการหั่นชิ้นเนื้อเพื่อทำหมูกระทะในขณะที่มีแผลที่บริเวณมือ จนเกิดติดเชื้อในกระแสเลือดนั้น

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า แม้ว่าเชื้อโรคนี้สามารถติดต่อผ่านบาดแผลเข้าสู่กระแสเลือดได้ แต่กรณีนี้ถือว่าพบได้ไม่บ่อยนักที่มีการสัมผัสเชื้อจากเนื้อหมูดิบ จนกระทั่งติดเชื้อเข้าไปทางบาดแผลจนเกิดเหตุดังกล่าว เพราะโดยปกติไข้หูดับ หรือโรคติดเชื้อสเตร็พโตค็อกคัส ซูอิส จะเกิดจากการรับประทานเนื้อสัตว์หรือเลือดสัตว์ดิบ หรือสุกๆดิบๆ มากกว่า ทั้งนี้ในการผลิตสุกรตลอดห่วงโซ่ที่ควบคุมโดยกรมปศุสัตว์ จะมีการควบคุมทุกกระบวนการ ทั้งการเลี้ยงในฟาร์มที่อยู่ภายใต้มาตรฐานการปฏิบัติทางการเกษตรที่ดีสำหรับฟาร์มสุกร หรือ GAP (Good Agricultural Practices) สำหรับฟาร์มขนาดใหญ่ และการเลี้ยงในฟาร์มขนาดเล็กตามมาตรฐาน GFM (Good Farm Management) ที่เน้นการจัดการให้มีระบบ Biosecurity ที่เข้มงวด

เมื่อออกจากฟาร์มสุกรต้องผ่านโรงเชือดที่ได้รับอนุญาตจากกรมปศุสัตว์เพื่อให้สามารถควบคุมคุณภาพและการจัดการตลอดกระบวนการ โดยคำนึงถึงความสะอาด และป้องกันการปนเปื้อนจากเชื้อโรคในกระบวนการผลิต เพื่อให้ได้เนื้อสุกรที่มีคุณภาพและปลอดภัยสำหรับผู้บริโภค จากนั้นเนื้อสุกรจะส่งไปจำหน่ายยังสถานที่ที่สะอาดถูกสุขลักษณะ โดยเฉพาะร้านจำหน่ายเนื้อสัตว์ที่กรมปศุสัตว์รับรอง ในโครงการ “ปศุสัตว์ OK” ที่ปัจจุบันมีมากถึง 7,487 แห่งทั่วประเทศ ซึ่งทุกแห่งสามารถตรวจสอบย้อนกลับถึงที่มาของเนื้อสัตว์ได้ตลอดสายการผลิตและมั่นใจได้ว่าหมูมาจากฟาร์ม GAP แน่นอน เพื่อให้เกิดความมั่นใจแก่ผู้บริโภคว่าได้บริโภคเนื้อสัตว์ที่มีคุณภาพ ปลอดภัยจากสารตกค้าง การันตีโดยกรมปศุสัตว์ และหากเกิดปัญหากับผลิตภัณฑ์ เจ้าหน้าที่กรมปศุสัตว์ก็สามารถเข้าไปตรวจสอบย้อนกลับและดำเนินการให้อย่างทันท่วงที

“เรื่องนี้ไม่ได้พบบ่อยจึงขอฝากเตือนประชาชนอย่าตื่นตระหนก เพราะสามารถป้องกันได้ด้วยการบริโภคเนื้อหมูที่ปรุงสุกเท่านั้น การรับประทานเนื้อสัตว์ทุกชนิด ต้องเน้นการปรุงสดใหม่ และปรุงให้สุกทุกครั้ง ที่อุณหภูมิตั้งแต่ 70 องศาเซลเซียสขึ้นไป เป็นเวลาอย่างน้อย 10 นาที ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อต่างๆได้ ขอย้ำให้เลิกรับประทานเนื้อสัตว์ดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ อาจเสี่ยงป่วยโรคไข้หูดับทำให้หูหนวกถาวรหรือถึงขั้นเสียชีวิตได้ แนะนำว่าหากมีแผลที่มือควรหลีกเลี่ยงการสัมผัสเนื้อสัตว์หรือเลือดสัตว์โดยตรง อาจสวมถุงมือเพื่อสุขอนามัยที่ดี เพื่อลดโอกาสเสี่ยงจากเชื้อที่อาจปนเปื้อนจากแผลที่มือเข้าสู่เนื้อหมูหรือจากเนื้อหมูเข้าสู่แผล” อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าว

สำหรับการเลือกซื้อเนื้อสัตว์ที่เหมาะสมนั้น อธิบดีกรมปศุสัตว์ แนะนำว่า ควรเลือกซื้อจากตลาดสดหรือห้างสรรพสินค้า ที่ผ่านการตรวจสอบมาตรฐานจากกรมปศุสัตว์ ไม่ซื้อเนื้อที่มีกลิ่นคาว สีคล้ำ หากรับประทานอาหารปิ้งย่าง หมูกระทะ ควรทำให้สุกก่อน แยกอุปกรณ์ ที่ใช้หยิบเนื้อสุกรสุกและดิบออกจากกัน ไม่ใช้เขียงของดิบและของสุกร่วมกัน การบริโภคอาหารปรุงสุกนอกจากจะเป็นการป้องกันโรคไข้หูดับแล้วยังเป็นการป้องกันโรคโควิด 19 อีกด้วย

****************************

ข่าวและข้อมูลโดย : สำนักพัฒนาระบบและรับรองมาตรฐานสินค้าปศุสัตว์กรมปศุสัตว์ (23 มิถุนายน 2564) ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline