pic05

21 ก.ค. 2564 นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เปิดเผยว่า จากการที่เกิดการระบาดของโรคลัมปี สกินใน โค กระบือ ในหลายจังหวัดของประเทศและมีความกังวลของหลายฝ่ายว่าจะแพร่ระบาดเข้าไปยังพื้นที่รักษาพันธุ์สัตวป่าห้วยขาแข้งที่นอกจากจะมีสัตว์ป่าอาศัยอยู่อย่างหลากหลายแล้ว หนึ่งในนั้นก็มีสัตว์สำคัญอาศัยอยู่ด้วยนั่นก็คือ ควายป่า นั้น

“สำหรับสัตว์ป่าในบ้านเราที่ติดเชื้อและแสดงอาการของโรคลัมปี สกินได้ จะเป็นสัตว์ในกลุ่มพวก กระทิง วัวแดง ควายป่า เป็นต้น อย่างไรก็ตามหากติดเชื้อและเป็นโรค จะแสดงอาการเพียงเล็กน้อย ไม่แสดงอาการรุนแรง และเปอร์เซ็นต์การตายน้อยกว่า โค-กระบือของชาวบ้าน เนื่องจากสัตว์ป่ามีความแข็งแรงและทนต่อโรคต่างๆได้ดีกว่า”

อธิบดีกรมปศุสัตว์กล่าวเพิ่มเติมว่า อย่างไรก็ตามต้องมีการเฝ้าระวังและป้องกันอย่างเต็มที่ ดังนั้นเพื่อป้องกันล่วงหน้า ไม่ให้โรคแพร่ระบาดไปสู่ควายป่า ที่ห้วยขาแข้งจึงได้ดำเนินการงดการเคลื่อนย้ายโค-กระบือ ในพื้นที่ พร้อมทั้งได้ดำเนินการฉีดวัคซีนป้องกันโรคลัมปี สกิน ให้กับโค-กระบือของเกษตรกรในพื้นที่ที่อาศัยอยู่ตามรอยต่อของป่าเขตกันชนเขตรักษาพันธุ์สัตวป่าห้วยขาแข้งในรัศมี 5 กิโลเมตรจำนวน 95 ราย แบ่งเป็นโคจำนวน 1,160 ตัว และกระบือจำนวน 95 ตัว รวมทั้งสิ้น 1,255 ตัว พร้อมทั้งพ่นสารกำจัดแมลงบริเวณคอกเลี้ยงโค-กระบือและบริเวณโดยรอบ พร้อมทั้งให้ความรู้ความเข้าใจเรื่องโรค และการป้องกันอีกด้วย นอกจากนี้ ได้ประสานให้ผู้ใหญ่บ้านประชาสัมพันธ์สร้างการรับรู้และความเข้าใจ ไม่ให้นำโค-กระบือเข้าไปเลี้ยงในพื้นที่ใกล้เคียงเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอีกด้วย

ทั้งนี้ กรมปศุสัตว์ได้ร่วมกับกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช และผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด ยกระดับมาตรการการป้องกันโรคลัมปี สกิน ไม่ให้ติดต่อไปยังสัตว์ป่า โดยจะเข้าดำเนินการในพื้นที่รอบเขตอุทยาน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และวนอุทยานทุกแห่งที่มีสัตว์ป่ากลุ่มเสี่ยงได้แก่ กระทิง วัวแดง ควายป่า อาศัยอยู่ดังนี้

  1. เร่งรัดการฉีดวัคซีนป้องกันโรคลัมปี สกิน ในโค-กระบือในพื้นที่ 5 กิโลเมตรจากชายขอบเขตของ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และวนอุทยาน
  2. ขอความร่วมมือองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ดำเนินการควบคุมและกำจัดแมลงพาหะของโรค ในพื้นที่ 5 กิโลเมตรจากชายขอบเขตของเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และวนอุทยานที่ใกล้แหล่งเลี้ยงโค-กระบือ โดยใช้ ยาพ่นฆ่าแมลงในพื้นที่ที่เป็นแหล่งเพาะพันธุ์สัตว์พาหะ และฉีดพ่นบนตัวโค-กระบือ เช่น คอกเลี้ยงสัตว์ แหล่งที่มีน้ำขัง เป็นต้น
  3. ประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนเกษตรกรในพื้นที่ หากพบโค-กระบือแสดงอาการผิดปกติตามประกาศ กรมปศุสัตว์ เรื่อง กำหนดลักษณะการป่วยหรือตายของโค หรือ กระบือ เพื่อป้องกันและควบคุมโรคลัมปี สกิน พ.ศ. 2564 ให้รีบแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ในพื้นที่เพื่อควบคุมโรค รักษาพยาบาลสัตว์ป่วยและลดการแพร่กระจายของเชื้อโรค
  4. ขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และวนอุทยาน ดำเนินการป้องกันไม่ให้สัตว์ป่ากลุ่มเสี่ยง อาทิ กระทิง วัวแดง ควายป่า ออกหากินในพื้นที่ที่มีการเลี้ยงโค-กระบือ รวมทั้งไม่ให้เกษตรกรนำโค-กระบือเข้าไปเลี้ยงในพื้นที่ที่มีสัตว์ป่าอยู่อาศัยโดยมีระยะแนวกันชนประมาณ 1 กิโลเมตร
  5. ขอความร่วมมือเจ้าหน้าที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และวนอุทยานพ่นยาฆ่าแมลงในยาพาหนะที่เข้า-ออก ในพื้นที่ เพื่อลดความเสี่ยงของแมลงพาหะที่ติดมากับยานพาหนะ

ซึ่งมั่นใจว่า มาตรการดังกล่าวนี้จะสามารถป้องกันโรคไม่ให้แพร่ระบาดไปสู่สัตว์ป่าได้อย่างแน่นอน

**********************************************************

ข้อมูล/ข่าว : ทีมโฆษกกรมปศุสัตว์ (21 ก.ค. 2564) ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline