3174293

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์เปิดเผยว่าโรคลัมปีสกิน เป็นโรคระบาดในโค กระบือ เท่านั้น โดยสามารถสามารถยืนยันองค์ความรู้ดังกล่าวได้จากข้อมูลทางวิชาการขององค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE)องค์การอาหารและเกษตรแห่งสหประชาชาติ(FAO) และหน่วยงานบริการตรวจสอบสุขภาพสัตว์และพืช กระทรวงเกษตรสหรัฐอเมริกา (APHIS : USDA) ซึ่ง OIE มีผู้เชี่ยวชาญและผู้ทรงคุณวุฒิตรวจสอบความรู้และปรับปรุงความทันสมัยทางวิชาการทุกปียังให้ข้อมูลว่าโรคลัมปีสกิน เป็นโรคระบาดในโค กระบือเท่านั้น และไม่ใช่โรคติดต่อระหว่างสัตว์และคน

อธิบดีกรมปศุสัตว์ให้ข้อมูลว่าจากที่กรมควบคุมโรคได้แจ้งให้ผู้อำนวยการสำนักงานป้องกันควบคุมโรค 1-12 และผู้อำนวยการสถาบันป้องกันโรคเขตเมืองประสานกับหน่วยงานและเครือข่ายในพื้นที่เพื่อเตรียมความพร้อมควบคุมโรคลัมปีสกิน โดยระบุว่า ถึงแม้โรคลัมปีสกินไม่ถือว่าเป็นโรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน เพื่อเป็นการสร้างความมั่นใจให้เกษตรกร เนื่องจากมีรายงานพบผู้ป่วยซึ่งเป็นเกษตรกรที่มีอาการผิวหนังเป็นแผลมีตุ่มนูน แตก สะเก็ด มีไข้ อ่อนเพลียแล้วตรวจพบเชื้อไวรัสเฮอร์ปีส์ (Herpes virus) และไวรัสลัมปีสกิน (Lumpy skin diseasevirus) ที่ผิวหนังซึ่งรายงานฉบับนั้นได้ก่อให้เกิดความวิตกกังวลให้กับเกษตรกรผู้เลี้ยงโค กระบือ และสร้างความตื่นตระหนกให้เกษตรกร เป็นอย่างมาก

รายงานที่อ้างถึงนั้นเป็นรายงานที่พบผู้ป่วยในประเทศอียิปต์ซึ่งมีการตีพิมพ์เพียงฉบับเดียวตั้งแต่ปีพ.ศ. 2562 ไม่มีรายงานเพิ่มเติมใดๆ ทั้งจากประเทศอียิปต์และประเทศอื่นๆ ที่มีการระบาดของโรคลัมปีสกิน ทั้งที่มีการระบาดของโรคลัมปีสกินอย่างต่อเนื่อง เช่น ประเทศบังคลาเทศ อินเดีย จีน เวียดนาม เมียนมา

โดยในรายงานฉบับดังกล่าวนั้นมีการตรวจพบเชื้อไวรัส 2ชนิดคือ เชื้อไวรัสกลุ่มเฮอร์ปีส์และเชื้อไวรัสโรคลัมปีสกินจากคนป่วยในตัวอย่างที่ผิวหนัง โดยปกติเชื้อไวรัสกลุ่มเฮอร์ปีส์เป็นเชื้อไวรัสที่เป็นสาเหตุของโรคเริม งูสวัดในคนซึ่งจะแสดงอาการตุ่มหนองที่ผิวหนัง ริมฝีปากและอวัยวะเพศรวมถึงเป็นสาเหตุของโรคอีสุกอีใสด้วย นอกจากนี้ในรายงานไม่ได้ระบุจำนวนตัวอย่างที่ส่งตรวจหรือจำนวนตัวอย่างที่ให้ผลบวกแต่อย่างใด

ดังนั้น จึงไม่สามารถระบุได้ว่าเชื้อไวรัสชนิดใดที่เป็นสาเหตุที่ทำให้เกิดรอยโรคที่ผิวหนังหรือเกิดจากไวรัสทั้ง 2ชนิดเพราะโดยปกติเชื้อไวรัสกลุ่มที่ก่อให้เกิดโรคลัมปีสกินจะไม่ก่อโรคในผิวหนังปกติสันนิษฐานจากกรณีนี้น่าจะมีสาเหตุโน้มนำจากการติดเชื้อไวรัสกลุ่มเฮอร์ปีส์มาก่อนและระดับภูมิคุ้มกันของผู้ป่วยต่ำมากร่วมกับมีการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสโรคลัมปีสกินจึงตรวจพบเชื้อไวรัสโรคลัมปีสกิน

ท้ายที่สุดนี้อธิบดีกรมปศุสัตว์ขอย้ำให้เกษตรกรและพี่น้องประชาชนอย่าได้ตื่นตระหนก เนื่องจากโรคลัมปีสกินไม่ใช่โรคติดต่อระหว่างสัตว์สู่คน แต่เพื่อเป็นการสร้างสุขอนามัยที่ดีของเกษตรกรผู้เลี้ยงโค กระบือ แนะนำให้เกษตรกรล้างมือทุกครั้งหลังสัมผัสสัตว์รักษาความสะอาดของอุปกรณ์ที่ใช้กับสัตว์ป่วยทำความสะอาดบริเวณที่เลี้ยงสัตว์และพื้นที่โดยรอบ และสวมถุงมือทุกครั้งเมื่อรักษาสัตว์ป่วยโรคลัมปีสกิน โดยเฉพาะที่มีรอยโรคที่ผิวหนัง

ทั้งนี้หากเกษตรกรมีข้อสงสัย สามารถสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานปศุสัตว์ในพื้นที่ หรือ call center 063-225-6888

https://www.facebook.com/116504086402205/posts/588686955850580/


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline