pic01

นายสรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวว่า ตามที่มีการนำเสนอข่าวในสื่อสังคมออนไลน์เผยข้อมูลว่า พบเชื้อไวรัสโคโรนาในหมูสามารถติดต่อสู่คนได้ ซึ่งรายงานพบในเด็กประเทศเฮติ 3 คน แต่อาการป่วยไม่รุนแรง มีเพียงแสดงอาการไข้และท้องเสียเล็กน้อยเท่านั้น โดยเป็นการพบเชื้อไวรัสโคโรนาในสุกร Porcine Deltacoronavirus (PDCoV) ที่แยกได้จากคน และปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุและที่มาของการติดเชื้อว่าสามารถแพร่ติดต่อจากหมูมายังคนได้โดยวิธีใด ซึ่งตามปกติสุกรสามารถติดโรคไวรัสโคโรนาได้แต่แสดงอาการไม่รุนแรง โดยไวรัสโคโรนาที่พบในสุกรทั่วโลกมีทั้งหมด 6 สายพันธุ์ จำแนกเป็น 3 จีนัส คือ แอลฟา เบต้า และเดลต้า ก่อให้เกิดกลุ่มอาการระบบทางเดินอาหาร ทางเดินหายใจ และระบบประสาท โดยในสุกรเด็กทำให้มีอาการท้องเสีย นั้น

กรมปศุสัตว์ในฐานะหน่วยงานที่กำกับดูแลด้านการผลิตภาคปศุสัตว์และด้านความปลอดภัยอาหารของประเทศได้ตระหนักและให้ความสำคัญในการเฝ้าระวังโรคไวรัสโคโรนา และโรคไวรัสชนิดอื่นๆ ที่เป็นโรคอุบัติใหม่มาอย่างต่อเนื่อง ได้มีการเตรียมความพร้อมในการรับมือเพื่อเฝ้าระวัง ควบคุมและป้องกันการเกิดโรคในภาคปศุสัตว์และสัตว์เลี้ยง มีการเตรียมความพร้อมของห้องปฏิบัติการในการตรวจวิเคราะห์ตัวอย่าง มีแผนการเฝ้าระวังโรคอุบัติใหม่ อุบัติซ้ำในสัตว์เลี้ยงและปศุสัตว์ ซึ่งได้มีโครงการเฝ้าระวังโรคติดเชื้อไวรัส 5 สายพันธุ์ที่มีค้างคาวเป็นสัตว์พาหะรวมทั้งโคโรนาไวรัส ผลการเฝ้าระวังที่ผ่านมายังไม่พบอุบัติการณ์ของโรคติดเชื้อไวรัสในสุกรทั้ง 5 สายพันธุ์ นอกจากนี้ มีมาตรการคุมเข้มในกระบวนการผลิตสินค้าปศุสัตว์ที่สถานประกอบการผลิตสินค้า เพื่อให้ผู้บริโภคทั้งภายในประเทศและประเทศคู่ค้ามั่นใจได้ว่าเนื้อสัตว์ปลอดภัยไร้โควิด-19 ได้มีมาตรการในการควบคุมและป้องกันโรคโควิด-19 ในสถานประกอบการที่ครอบคลุมทั้งด้านอาคารสถานที่ การดำเนินงาน (ตั้งแต่การรับวัตถุดิบ การเตรียม การแปรรูป การเก็บรักษา และการขนส่ง) และบุคลากรผู้ปฏิบัติงาน โดยให้ทุกสถานประกอบการดำเนินการอย่างเข้มงวด ประกอบด้วย การทำความสะอาดพ่นน้ำยาฆ่าเชื้อในสถานประกอบการอย่างสม่ำเสมอ การเว้นระยะห่างในการปฏิบัติงาน การเฝ้าระวังเชิงรุกและการคัดกรองผู้ปฎิบัติงาน การกักตัวสังเกตอาการและการแยกตัวเพื่อรักษา การเก็บตัวอย่างตรวจวิเคราะห์เพื่อเฝ้าระวังเชื้อโควิด-19 ในเนื้อสัตว์ ซึ่งปัจจุบันได้มีการสุ่มเก็บตัวอย่างเนื้อสัตว์ตั้งแต่มีการเกิดโรคเพื่อเฝ้าระวังเชิงรุกในสถานประกอบการและตลาดสดแล้วจำนวนกว่า 4,477 ตัวอย่าง ผลทั้งหมดไม่พบการปนเปื้อนเชื้อโควิด-19 ในตัวอย่างเนื้อสัตว์ นอกจากนี้ ในทุกสถานประกอบการเพื่อการส่งออกจะมีเจ้าหน้าที่พนักงานตรวจโรคสัตว์ปฏิบัติงานประจำที่โรงงานทำการตรวจโรคสัตว์และกำกับควบคุมดูแลกระบวนการผลิตเนื้อสัตว์ให้สอดคล้องตามหลักสุขอนามัยที่ดี และควบคุมให้สถานประกอบการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันโรคโควิด-19 อย่างเคร่งครัด

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากการดำเนินการตามมาตรการเฝ้าระวังโควิด-19 อย่างเข้มงวดต่อเนื่อง ขอให้ผู้บริโภคและประชาชนทุกคน มั่นใจได้ว่า เนื้อสัตว์ที่ได้รับการรับรองจากกรมปศุสัตว์ปลอดภัยไร้โควิด-19 สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ และกระบวนการผลิตถูกสุขอนามัย มีความปลอดภัยอาหาร และย้ำชัดว่าอย่าตื่นตระหนก ปัจจุบันประเทศไทยยังไม่มีการพบเชื้อไวรัสโคโรนาในเนื้อสุกร และยังไม่พบช่องทางการติดเชื้อว่าสามารถแพร่ติดต่อจากหมูมายังคนได้โดยวิธีใด และขอให้เลือกซื้อเนื้อสัตว์และผลิตภัณฑ์ที่ได้มาตรฐานจากแหล่งผลิตและจำหน่ายที่ได้รับการรับรองจากกรมปศุสัตว์ ทั้งนี้ หากพี่น้องประชาชนหรือผู้บริโภคมีข้อสงสัยหรือต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถแจ้งเจ้าหน้าที่ปศุสัตว์ได้ที่สำนักงานปศุสัตว์อำเภอหรือสำนักงานปศุสัตว์จังหวัดทั่วประเทศ หรือสายด่วนกรมปศุสัตว์ 063-225 -6888 หรือ Application DLD 4.0 ได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง

ข้อมูล : กลุ่มควบคุมป้องกันโรคปศุสัตว์ สำนักควบคุม ป้องกันและบำบัดโรคสัตว์ กรมปศุสัตว์ ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline