pic01

นายสัตวแพทย์สรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ เผยความคืบหน้าการผลิตวัคซีนโรคลัมปี สกินในโค-กระบือ สำหรับใช้ป้องกันและควบคุมโรคกรณีฉุกเฉิน โดยหน่วยพัฒนาวัคซีนของกรมปศุสัตว์ ที่ให้ผลการการทดลองประสิทธิภาพเบื้องต้นมีความคุ้มโรคเทียบเท่าวัคซีนจากต่างประเทศ คาดว่าวัคซีนชุดแรกแล้วเสร็จช่วงกลางเดือนพฤษภาคม 2565 ในราคาต้นทุนโด๊สละ 9 บาท ซึ่งเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการป้องกันโรคให้แก่เกษตรกร และเป็นการสร้างความมั่นคงทางวัคซีนของไทยอีกด้วย

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า จากปัญหาการเกิดโรคลัมปี สกิน ในโค-กระบือ (Lumpy Skin Disease) : LSD ซึ่งเป็นโรคอุบัติใหม่ในปี 2564 เป็นครั้งแรกที่อำเภอพนมไพร จังหวัดร้อยเอ็ด เมื่อวันที่ 29มีนาคม 2564 ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้ร่วมกับทุกภาคส่วน ได้แก่ ผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัด องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น รวมถึงเกษตรกรและประชาชน ดำเนินการใน 5 มาตรการสำคัญ เพื่อการควบคุมโรคลัมปี สกิน ในโค-กระบือ อย่างมีประสิทธิภาพ ได้แก่ 1. ควบคุมการเคลื่อนย้าย 2. เฝ้าระวังการเกิดโรคอย่างใกล้ชิด 3.ป้องกันและควบคุมแมลงพาหะนำโรค 4. รักษาสัตว์ป่วยตามอาการ และ 5. การใช้วัคซีนควบคุมโรค โดยมีการนำเข้าวัคซีนจากต่างประเทศ เพื่อใช้ในการควบคุมโรคให้สงบได้อย่างรวดเร็ว สำหรับวัคซีนที่ใช้ในการป้องกันโรคที่ผ่านมา จำเป็นต้องนำเข้าวัคซีนจากต่างประเทศ ซึ่งกรมปศุสัตว์ได้นำเข้า 5.3 ล้านโด๊ส ใช้งบประมาณสนับสนุนไปกว่า 160 ล้านบาท และภาคเอกชน สมาคม และกลุ่มเกษตรกรนำเข้ามาอีกประมาณ 5 แสนโด๊ส มูลค่าประมาณ 22.5 ล้านบาท ซึ่งเป็นมูลค่ารวมกว่า 180 ล้านบาท

ดังนั้น เพื่อเป็นการลดค่าใช้จ่ายในการป้องกันโรคให้แก่เกษตรกรผู้เลี้ยงโค กระบือ และเป็นการสร้างความมั่นคงทางด้านวัคซีน ดร. เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้สั่งการให้กรมปศุสัตว์วิจัยและพัฒนาวัคซีนโรคลัมปี สกิน กรมปศุสัตว์ โดยสำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์และสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ ซึ่งเป็น 2 ส่วนราชการภายในกรมปศุสัตว์ ที่มีองค์ความรู้และมีบุคลากรที่มีความชำนาญในการผลิตวัคซีน ดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ในการผลิตวัคซีนโรคลัมปี สกิน สำหรับใช้ป้องกันและควบคุมโรคกรณีฉุกเฉิน ได้เริ่มดำเนินการพัฒนาวัคซีนในระดับห้องปฏิบัติการ (Lab scale) มาตั้งแต่เดือนพฤษภาคม 2564 โดยสถาบันสุขภาพสัตว์แห่งชาติ สามารถแยกไวรัสจากตัวอย่างสัตว์ป่วยในประเทศมาเพาะเลี้ยงในห้องทดลองได้สำเร็จ และส่งหัวเชื้อไวรัสต่อให้สำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์ นำมาขยายปริมาณไวรัสในเซลล์เพาะเลี้ยง และผลิตเป็นแอนติเจนที่หมดฤทธิ์ในการก่อโรค จากนั้นได้ทดลองผลิตเป็นวัคซีน 2 สูตรได้แก่ วัคซีนเชื้อตายในรูปแบบชนิดน้ำและวัคซีนเชื้อตายชนิดน้ำมัน โดยผลการทดลองในสัตว์ตามวิธีมาตรฐานการผลิตวัคซีน แสดงให้เห็นว่าวัคซีนทั้ง 2 สูตร มีความปลอดภัยไม่ก่อให้เกิดอาการแพ้ในสัตว์ และวัคซีนชนิดน้ำมันให้ความคุ้มโรค 100% สูงกว่าชนิดน้ำที่ให้ความคุ้มโรค 80% โดยวัคซีนชนิดน้ำมันยังให้ความคุ้มโรคต่อเนื่องจนถึงเดือนที่ 7 ซึ่งกรมปศุสัตว์จะดำเนินการทดลองความคุ้มโรคต่อไปอีกจนครบ 12 เดือน

สำหรับการทดสอบประสิทธิภาพของวัคซีนในพื้นที่จริง (field trial) เมื่อช่วงเดือนธันวาคม 2564 ที่ผ่านมา กรมปศุสัตว์ได้รับความร่วมมือให้นำวัคซีนต้นแบบชนิดน้ำมันไปทดสอบในพื้นที่ฟาร์มโชคชัย อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา โดยเปรียบเทียบกับวัคซีนที่ผลิตในต่างประเทศ ซึ่งผลการทดสอบในเบื้องต้นพบว่าวัคซีนที่ผลิตจากต่างประเทศและวัคซีนที่ผลิตโดยกรมปศุสัตว์ มีผลการกระตุ้นภูมิคุ้มกันอยู่ในเกณฑ์ที่ดี

ปัจจุบันกรมปศุสัตว์ได้เดินหน้าขยายกำลังการผลิตวัคซีนจากระดับห้องปฏิบัติการ (Lab scale) สู่ระดับกึ่งอุตสาหกรรม (pilot scale) ด้วยเทคโนโลยีการผลิตในขวดเพาะเลี้ยงเซลล์ ซึ่งเป็นเทคโนโลยีดั้งเดิมของการผลิตวัคซีนโรคปากและเท้าเปื่อย และที่สำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์มีองค์ความรู้และมีบุคลากรที่มีความชำนาญ โดยเทคโนโลยีการผลิตดังกล่าวสามารถรองรับปริมาณการผลิตวัคซีนที่ 50,000-100,000 โด๊สต่อเดือน โดยตลอดกระบวนการผลิตใช้ระยะเวลาประมาณ 2 เดือนเศษ และคาดว่าจะผลิตวัคซีนชุดแรกแล้วเสร็จช่วงประมาณกลางเดือนพฤษภาคม 2565 ในราคาต้นทุนโด๊สละ 9 บาท ในช่วงปีแรก (มิ.ย. 2565 - พ.ค. 2566) สามารถผลิตวัคซีนได้ มีมูลค่า 6 ล้านบาท หากต้องนำเข้าจากต่างประเทศต้องใช้งบประมาณถึง 27 ล้านบาท จะช่วยประหยัดงบประมาณแผ่นดินได้มากถึง 21 ล้านบาท

อย่างไรก็ตาม เพื่อให้มีปริมาณวัคซีนเพียงพอต่อความต้องการใช้สำหรับการควบคุมและป้องกันภายในประเทศ รวมถึงสัตว์นำเข้าจากประเทศเพื่อนบ้าน กรมปศุสัตว์ได้ศึกษาความเป็นไปได้เพื่อขยายกำลังการผลิตวัคซีนโรคลัมปี สกิน เชื้อตาย ชนิดสื่อน้ำมัน โดยใช้เทคโนโลยี large scale roller หรือ Microcarrier ให้สามารถผลิตได้เดือนละ 5 แสน ถึงกว่า 1 ล้านโด๊ส ซึ่งจะทราบผลการศึกษาในช่วงกลางปี 2566 หากกำลังการผลิตเป็นไปตามเป้าหมายที่กำหนด จะสามารถช่วยลดการนำเข้าวัคซีนจากต่างประเทศได้มากถึงปีละ 8 ล้านโด๊ส ซึ่งต้องใช้งบประมาณถึง 360 ล้านบาท ดังนั้นการที่กรมปศุสัตว์สามารถผลิตวัคซีนโรคลัมปี สกิน เองได้ จะช่วยลดค่าใช้จ่ายที่ต้องนำเข้าจากต่างประเทศได้กว่าปีละ 280 ล้านบาท อีกทั้งสามารถส่งขายให้กับประเทศเพื่อนบ้านในอาเซียนได้อีกด้วย นอกจากนี้การฉีดวัคซีนอย่างทั่วถึงยังนำไปสู่การกำจัดโรคลัมปี สกิน ให้หมดไปจากประเทศไทยได้อย่างถาวรในอนาคต


ข้อมูล : สำนักเทคโนโลยีชีวภัณฑ์สัตว์ ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline