pic01

ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวว่า ตามที่ได้รับข่าวแจ้งว่ามีควายน้ำทะเลน้อยลอยน้ำตายเป็นจำนวนมากกลางทะเลสาบ ต.ทะเลน้อย อ.ควนขนุน จ.พัทลุง หลังขาดอาหารนาน จากน้ำท่วมขัง ตนเองมีความห่วงใยควายน้ำทะเลน้อยและเกษตรกรที่เดือดร้อยอย่างมาก จึงได้สั่งการด่วนให้กรมปศุสัตว์เร่งดำเนินการให้ความช่วยเหลือและรายงานผลโดยเร็ว นั้น นายสรวิศ ธานีโต อธิบดีกรมปศุสัตว์ จึงได้สั่งการให้นายเศกสรรค์ สวนกูล ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาอาหารสัตว์พร้อมด้วย ศูนย์วิจัยและพัฒนาการสัตวแพทย์ภาคใต้ (ศวพ.) ด่านกักกันสัตว์นครศรีธรรมราช

ทีมปศุสัตว์จังหวัดพัทลุง หน่วยพัฒนาสุขภาพและผลผลิตโคนม เขต 8 (Herd Health Unit: HHU) ลงพื้นที่ตรวจสอบข้อเท็จจริงและเร่งให้การช่วยเหลือควายทะเลน้อยและเกษตรกรผู้ได้รับความเดือดร้อนที่เป็นข่าวตามสื่อโดยเร็ว

จากการเข้าตรวจสอบในพื้นที่ป่าชื้นเขตอนุรักษ์ห้ามล่าทะเลน้อย 280,000 ไร่ มีควาย 4,000 ตัว เกษตรกรจำนวน 300 ราย มีการเลี้ยงควายแบบปล่อยหาอาหารกินเองตามธรรมชาติ อยู่กันเป็นกลุ่มเป็นฝูง นอนในที่สูงกว่าระดับน้ำทั่วไป บางฝูงเจ้าของมากั้นคอกให้นอนพัก มีการผสมแบบเลือดชิด ซึ่งพื้นที่ดังกล่าวเป็นพื้นที่น้ำท่วม แหล่งพืชอาหารสัตว์ที่ควายหากินทุกปีในเดือนตุลาคมและพฤศจิกายน หลังน้ำลดควายก็หากินตามพื้นที่ชุมน้ำเป็นปกติ แต่ในปี 2565 นี้ เนื่องจากเหตุกระทบน้ำท่วมขังนานตั้งแต่ตุลาคม 2564 เป็นต้นมาจนถึงตอนนี้ ระยะเวลาร่วม 6 เดือน จึงกระทบต่อพืชอาหารสัตว์ที่หากินได้ตามปกติ ทำให้แม่ควายลูกอ่อนได้กินอาหารน้อยลง ร่างกายผอมจึงให้นมน้อยและบางตัวก็ทิ้งลูกทำให้ลูกอ่อนแอและตาย สะสมมา จากการสอบถามเกษตรกรผู้เลี้ยงควาย 3 ฝูงในพื้นที่พัทลุง ในช่วง 6 เดือนที่ผ่านมา ลูกควายอ่อนแอและตายสะสม 89 ตัว และพบแม่ควายแก่ที่มีอายุมากตายไป 2 ตัว และจากการสอบสวนเกษตรกรในพื้นที่ตำบลทะเลน้อยที่ประสบปัญหา 1 ราย เบื้องต้นพบสาเหตุการตายไม่ได้เกิดจากโรคระบาด เนื่องจากกระบือกลุ่มอายุประมาณ 1 ถึง 2 ปี มีสภาพผอม ล้ม ไม่มีไข้ การหายใจปกติ ไม่มีน้ำมูก บางตัวเจ้าของต้องใช้เชือกพยุง เคี้ยวเอื้องได้ดี การเข้าบังคับเพื่อเก็บตัวอย่างเลือดและอุจจาระเพื่อส่งตรวจทำได้ง่าย ในรายนี้เจ้าของได้นำกระบือที่อ่อนแอกลับมาทำการดูแลรักษาต่อที่คอกชั่วคราว โดยตั้งแต่กลางเดือนมีนาคมเป็นต้นมาได้นำมาดูแล 17 ตัวช่วยดูแลรอดชีวิตแล้ว 7 ตัว ศวพ.ภาคใต้ตอนบนร่วมกับทีม HHU ได้ทำการเก็บตัวอย่างเลือดและอุจจาระกระบือ 2 ใน 7 ตัว เพื่อตรวจสอบการติดเชื้อแบคทีเรีย พยาธิในทางเดินอาหาร พยาธิในเลือด ให้ยาบำรุง มอบเวชภัณฑ์ ยาฉีดถ่ายพยาธิ ยาบำรุง แร่ธาตุ ก้อน ให้คำแนะนำการใช้เวชภัณฑ์ การดูแลป้องกันโรค และให้แจ้งปศุสัตว์อำเภอพื้นที่หากพบการป่วยหรือตายผิดปกติในฝูงกระบือ สำหรับข้อเท็จจริงความสูญเสียในพื้นที่โดยรวมจะต้องตรวจสอบและรวบรวมจากเกษตรกรทุกรายในพื้นที่ต่อไป

อธิบดีกรมปศุสัตว์ กล่าวเพิ่มเติมว่า กรมปศุสัตว์มีความห่วงใยพี่น้องเกษตรกรทุกราย ได้ทำการช่วยเหลือในเบื้องต้นแล้ว โดยมอบหญ้าอาหารสัตว์พระราชทาน 600 ฟ่อน (12,000 กิโลกรัม) จ.พัทลุง 400 ฟ่อน/อ.ระโนด จ.สงขลา 200 ฟ่อน มอบยาบำรุงยาถ่ายพยาธิแร่ธาตุเวชภัณฑ์ และน้ำยาฆ่าเชื้อโรคในเบื้องต้น 100 ชุด ศวพ.ภาคใต้ร่วมกับฝ่ายสุขภาพสัตว์วางแผนเตรียมเก็บตัวอย่างเจาะเลือด ดูพยาธิ สุขภาพสัตว์โดยรวม และประสานหัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อยเพื่อขออนุญาตสร้างสถานที่พักสัตว์ คลังเก็บเสบียงสัตว์ให้กับควายลูกอ่อนได้มีที่พักและพื้นที่สำหรับแปลงพืชอาหารสัตว์ นอกจากนี้รายงานประสานแจ้งผู้ว่าฯ ให้ประกาศเขตให้ความช่วยเหลือภัยพิบัติในกลุ่มผู้กระทบดังกล่าว ทั้งนี้ หากประชาชนต้องการความช่วยเหลือหรือข้อมูลเพิ่มเติม โปรดติดต่อผ่านสำนักงานปศุสัตว์ในพื้นที่ หรือแอปพลิเคชัน DLD 4.0 หรือสายด่วนกรม ปศุสัตว์ 063-225 -6888 ได้ตลอดเวลา 24 ชั่วโมง

 

ที่มาของข้อมูล : คณะทำงานโฆษกกรมปศุสัตว์ ข่าวปศุสัตว์


Save
Cookies user preferences
We use cookies to ensure you to get the best experience on our website. If you decline the use of cookies, this website may not function as expected.
Accept all
Decline all
Essential
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ท่านจำเป็นต้องยอมรับให้เปิดใช้งาน
คุกกี้ที่มีความจำเป็น
คุกกี้ประเภทนี้ มีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการทำงานของเว็บไซต์ ได้แก่ คุกกี้ที่ทำให้เว็บไซต์สามารถทำหน้าที่ขั้นพื้นฐาน เช่น การเลื่อนสำรวจหน้าเว็บไซต์ หรือ ทำให้ผู้เข้าชม/ผู้ใช้เว็บไซต์สามารถเข้าสู่ระบบและสามารถเข้าถึงส่วนของเว็บไซต์ที่ถูกสงวนไว้ให้ใช้ได้เฉพาะสมาชิกเท่านั้น เว็บไซต์จะไม่สามารถทำงานอย่างถูกต้องได้เลยหากไม่มีการเก็บรวบรวมคุกกี้เหล่านี้
Accept
Functional
คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยยอมรับหรือปฏิเสธ คุกกี้ในแต่ละประเภทดังต่อไปนี้
คุกกี้ที่ช่วยเหลือในการทำงาน
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม โดยเป็นคุกกี้ประเภทที่ทำให้เว็บไซต์สามารถช่วยเหลือหรืออำนวยความสะดวกในการใช้งานให้ท่านได้
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อประสิทธิภาพ
คุกกี้ประเภทนี้ ทำให้ผู้ให้บริการเว็บไซต์ที่คุณเข้าใช้งาน สามารถรับรู้ข้อมูลประสิทธิภาพเว็บไซต์ได้ เช่น จำนวนผู้เข้าชมเว็บไซต์ จำนวนการเข้าชมเว็บไซต์ แหล่งที่มาของผู้เข้าชม และหน้าเว็บไซต์ใดที่ได้รับความนิยมมากที่สุดหรือน้อยที่สุด เป็นต้น โดยกรมปศุสัตว์จะนำไปใช้เพื่อวัตถุประสงค์ทางด้านสถิติเพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพเว็บไซต์ เท่านั้น
Accept
Decline
คุกกี้เพื่อกำหนดเป้าหมาย
คุกกี้ประเภทนี้ อาจถูกติดตั้งไว้โดยผู้ให้บริการซึ่งเป็นบุคคลที่สาม เนื่องจากเว็บไซต์กรมปศุสัตว์มีการเชื่อมโยงลิงค์ไปยังเว็บไซต์ภายนอก ซึ่งเว็บไซต์อื่นหรือโซเชียลมีเดียของบุคคลที่สามจะมีการกำหนดและตั้งค่าคุกกี้ขึ้นมาเอง โดยกรมปศุสัตว์ไม่สามารถควบคุมหรือรับผิดชอบต่อคุกกี้เหล่านั้นได้ และขอแนะนำให้ท่านควรอ่านนโยบายหรือประกาศการใช้คุกกี้ของบุคคลภายนอกเหล่านั้นด้วย โดยคุกกี้ดังกล่าว จะทำการจัดเก็บข้อมูลการเข้าชมเว็บไซต์ของท่าน เช่น ท่านเข้าชมเว็บไซต์ใดบ้าง และเข้าชมเว็บไซต์ผ่านทางลิงก์ใดบ้าง เป็นต้น โดยผู้ให้บริการจะใช้ข้อมูลเหล่านี้เพื่อกำหนดให้เว็บไซต์ และโฆษณาที่ถูกจัดแสดงในเว็บไซต์ของบริษัทฯ เว็บไซต์ในเครือข่ายพันธมิตรของผู้ให้บริการโฆษณา มีความเกี่ยวข้องกับความสนใจของท่านมากขึ้น
Accept
Decline